“ท็อปนิวส์” บุกทะเลบ้านแหลม เพชรบุรี ลุยพิสูจน์ “ปลาหมอคางดำ” เกยหาด ชาวบ้านบ่นปลาท้องถิ่นหายหมด

ท็อปนิวส์บุกพิสูจน์ "ปลาหมอคางดำ" เกยหาดทะเลบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ชาวบ้านบ่นอุบปลาพื้นถิ่นหายหมด ด้าน กรมประมงลงพื้นที่ด่วน ช่วยติด "ละวะ" ลากอวน ดักจับล่าปลาหมอคางดำ

“ท็อปนิวส์” บุกทะเลบ้านแหลม เพชรบุรี ลุยพิสูจน์ “ปลาหมอคางดำ” เกยหาด ชาวบ้านบ่นปลาท้องถิ่นหายหมด – Top News รายงาน

 

จากกรณีชาวโซเชียลแห่แชร์คลิปวิดีโอปลาหมอคางดำจำนวนมาก นอนเกยตื้นอยู่บริเวณริมหาด ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ชาวบ้านแห่จับปลาหมอฯลงตะกร้าเพื่อป้องกันไม่ให้มันลงสู่ทะเลไปมากกว่านี้ แต่จับไม่หวาดไม่ไหวต้องปล่อยพวกตัวเล็ก จับแต่ตัวใหญ่ๆเพราะยังเอาไปทำประโยชน์ได้บ้าง ทำให้สังคมสงสัยว่า ปลาหมอคางดำมันลงสู่ทะเลแล้วหรือไม่

วันนี้ (13 ส.ค.2567) ทีมข่าว Top News ได้ลงพื้นที่สำรวจปลาหมอคางดำ พบว่าน้ำในทะเลมีระดับขึ้นสูงตามปกติ จึงทำให้ไม่เห็นปลาหมอคางดำเกยตื้นอยู่ริมหาดหรือลอยคออยู่บนผิวน้ำ ทีมข่าวจึงได้ไปสอบถาม นายศิรินธร ทวีทรัพย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ว่าเหตุการณ์ในคลิปดังกล่าวนั้นเกิดจากอะไร

โดย นายศิรินธร เผยว่า จากเหตุการณ์ที่ปลาหมอคางดำโผล่มาเกยตื้นอยู่บริเวณริมหาดตามภาพที่ปรากฎมานั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ปลาหมอคางดำมีการแพร่ระบาดมาหลายปี และได้มีการแพร่พันธุ์ขยายเป็นวงกว้างจำนวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่และชาวบ้านก็ไม่สามารถกำจัดการแพร่พันธุ์ หรือ ป้องกันไม่ให้มันลงสู่ท้องทะเลได้ ชาวบ้านในพื้นที่ทำได้แต่เพียงทอดแหดักจับปลาหมอคางดำมาหารายได้เสริมจากการนำไปเป็นเหยื่อล่อปลา,ปูในทะเล เพียงเท่านั้น เพราะบริษัทเอกชนที่รับซื้อนั้น ในตอนนี้ก็ไม่เปิดรับซื้ออีกแล้ว เนื่องจากมีชาวบ้านแห่นำปลาหมอคางดำไปขายให้กับบริษัทเอกชนจำนวนมาก เพียงแค่หนึ่งถึงสองวันก็เกินกว่ากำหนดที่ทางบริษัทเอกชนรับซื้อได้ เพราะนำไปแปรรูปไม่ทัน

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 ช่วงสายๆของวัน น้ำทะเลอยู่ระดับน้ำปกติ และโรงงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง รวมไปถึงฟาร์มต่างๆที่อยู่ห่างไม่ไกลจากริมหาดได้ปล่อยน้ำออกมาจากโรงงาน ผ่านมาตามลำคลองเพื่อปล่อยลงสู่ทะเล ปลาหมอคางดำก็ถูกน้ำพัดพามาตามน้ำด้วย เมื่อน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานและฟาร์มมาเจอกับน้ำทะเล ทำให้ปลาหมอคางดำนั้นเลือกที่จะอยู่น้ำกร่อยบริเวณริมหาดตามนิสัยเดิมของมันที่ชอบน้ำกร่อย พอน้ำทะเลลดจึงเห็นว่ามานอนเกยตื้นอยู่ที่บริเวณริมหาดที่แห่งนี้

เมื่อปลามาเกยตื้นให้เห็น ชาวบ้านก็ออกมาจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และถ่ายคลิปวีดีโอเก็บไว้ เพราะไม่ค่อยจะมีให้เห็นบ่อยๆ แต่คนอื่นเห็นอาจจะตกใจนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่กลับชาวบ้านนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะปลาหมอคางดำโผล่มาในพื้นที่นั้นมีมานานแล้ว เพียงแค่ว่าไม่ได้เป็นข่าวดังเหมือนตอนนี้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้หลังจากมีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งชาวบ้านและประมง ที่พบเจอคือ ปลาในท้องถิ่น เช่น ปลากระบอก ปลาแขยง ได้หายไปหมดแล้ว อีกทั้ง ธนาคารปู หรือ อนุบาลปู ที่ทางกรมประมงได้ทำไว้ให้ชาวบ้านเพาะพันธุ์ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากถูกกินตั้งแต่ยังเป็นไข่

 

ในช่วงบ่ายวันนี้ ภายหลังจากชาวบ้านได้แจ้งร้องเรียนไปยังกรมประมง ทางเจ้าหน้าที่และหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ประชุมวางแผนและลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น โดย นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ได้เปิดเผยว่า ปัญหาปลาหมอคางดำระบาดตั้งแต่ช่วงปี 2561 ทางกรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เริ่มจะวางแผนหาวิธีการแก้ไขปัญหา เพราะมันเป็นปลาพันธุ์อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดหนัก จนจังหวัดเพชรบุรีติด 1 ใน 15 จังหวัดที่กำลังวิกฤตจากปลาหมอคางดำ

 

วันนี้ทางกรมประมงได้ใช้ “ละวะ” (เหมือนถุง) มีขนาดความกว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร นำลงไปในน้ำอาศัยคลื่นน้ำทะเลดักปลาหมอคางดำตามปลายคลองก่อนลงสู่ทะเล และทะเลก่อนน้ำขึ้นเข้าคลอง ซึ่งในตำบลบางแก้วมีคลองหลักอยู่ 5 คลอง และยังใช้วิธีการใช้อวนดักจับ หรือ การลงแขกปลาหมอคางดำที่บริเวณปลายคลองที่ติดกับทะเล เพื่อกำจัดและลดจำนวนอย่างจริงจัง

ปลาหมอคางดำ

นอกจากนี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ทางกรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงภาคประชาชน จะระดมกำลังกันใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในการดักจับปลา ไปทำการลงแขกตามลำคลองทั้ง 5 สาย ในตำบลบางแก้ว เพื่อลดจำนวนปลาหมอคางดำในคลอง ซึ่งวิธีดังกล่าวถึงแม้จะไม่ได้ผล 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ปล่อยให้มันทำลายทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลไปเรื่อยๆ

ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ยังส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะชาวประมงที่ไม่สามารถหาปลาท้องถิ่นนำมาวางขายได้ ถือว่าเข้าขั้นวิกฤตอีกทางหนึ่ง

ส่วนวิธีในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติ จะต้องรอกำจัดปลาหมอคางดำออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนจะปล่อยปลาพันธุ์ดีลงสู่ คลองและทะเล เพื่อคืนปลาท้องถิ่นกับสูตรตามเดิม

 

ทีมข่าวได้สอบถามเจ้าหน้าที่กรมประมงเพื่อสอบถามว่า ปลาหมอคางดำ นั้น ออกไปสู่ท้องทะเลไกลจากริมหาดมากน้อยแค่ไหน โดยเจ้าหน้าที่เผยว่า จากการที่ตนได้ออกไปสำรวจและล้อมอวนหาปลากลางท้องทะเลจะไม่พบปลาหมอคางดำติดอวนมาแม้แต่ตัวเดียว โดยกะระยะจากริมหาดประมาณ 1 กิโลเมตร เชื่อว่า ปลาหมอคางดำจะอาศัยอยู่เฉพาะริมหาดหรือมีที่หลบซ่อนตัวเท่านั้น เพราะการไปอยู่ที่ในทะเลน้ำลึกจะต้องใช้พลังงานในการขับเมือกหรือการปรับตัวค่อนข้างที่จะสูง จึงเป็นไปได้ยากที่จะลงไปอาศัยอยู่ในทะเลน้ำลึก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายเดชา" เปิดใจ หลังศาลสั่ง คุก 1 ปี รอลงอาญา คดีหมิ่น "อ.อ๊อด" ย้ำไม่มีร้องไห้ ใส่กุญแจมือ รอชำระค่าปรับตามคำพิพากษา
"จิรายุ" ย้ำ "เงินหมื่น" เฟส 2 มอบคนอายุุ 60+ โอนแน่ 27 ม.ค.นี้
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความ "คนสอนธรรม" เพิ่ม 1 ข้อหา
ตร.คุมตัวแขกหัวร้อนฝากขัง หลังขับเก๋งไล่ชนไรเดอร์เสียชีวิต ด้านพ่อเตรียมขอขมาศพเย็นนี้
"นักธุรกิจ" เข้าแจ้งความ หลังถูกหลอกลงทุนสลากกินแบ่งรัฐบาล เสียหาย 50 ล้านบาท
มือมีดต่างชาติไล่แทงคนเจ็บ 5 ในอิสราเอล
ทรัมป์เผยอาจเพิ่มคว่ำบาตรรัสเซียถ้าไม่ยอมเจรจา
ทรัมป์จ่อขึ้นภาษีจีน 1 ก.พ.-รูบิโอทำงานวันแรก
22 รัฐในสหรัฐฯ ฟ้องศาลต้านคำสั่งทรัมป์ ตัดสิทธิให้สัญชาติอัตโนมัติ
ทรัมป์สั่งระงับความช่วยเหลือตปท. 90 วัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น