แต่แล้วก็เกิดประเด็นขึ้นมาจนได้ เมื่อมีผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่ง เป็นเด็กสาววัยรุ่น โพสต์ข้อความว่า “ทำไมต้องบอกรักแม่ตัวเอง ในวันเกิดของคนอื่น” พร้อมใส่อิโมจิรูปปากคว่ำ เรื่องนี้ทำเอาชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย ขณะที่นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ก็ได้ตอบถึงประเด็นนนี้ได้อย่างเคลียร์คัทชัดเจน ว่า คำถามจากเด็กไทยที่ประกาศว่า ตนเองคือคนรุ่นใหม่ ที่มีความรอบรู้ เพราะมีเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ทั่วโลก ได้ภายในพริบตา แต่เด็กเหล่านี้กลับไม่เคยสืบค้นหาข้อมูลใดๆ เลย พวกเขาและเธอ มักจะเสพข้อมูลเท็จที่กลุ่มคนไม่หวังดีป้อนให้ จนเกิดทัศนคติแปลกประหลาดต่างๆ นานา มากมาย
คำถามที่ว่า “ทำไมต้องบอกรักแม่ตัวเอง ในวันเกิดของคนอื่น” ย่อมเป็นคำถามที่มุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์แน่นอน เนื่องจากวันแม่แห่งชาติของไทยตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง และเด็กรุ่นใหม่กลุ่มนี้ ถูกปลุกปั่นให้ต่อต้านสถาบันฯ ด้วยข้อมูลที่บั่นทอดสถาบันฯ ต่างๆ นานา เรื่อยมา
น่าแปลกใจว่า เด็กรุ่นใหม่ที่อวดตัวเหลือเกิน ว่ามีเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลความรู้ กลับไม่เคยรู้ว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็มีวันแม่ และผู้คนทั่วโลก ก็กำหนดวันพิเศษขึ้นเป็นวันแม่สากล หรือวันแม่แห่งชาติ เพื่อจะบอกรักแม่ตัวเอง ในวันเกิดของคนอื่น วันแม่แห่งชาติ ไม่ได้มีเฉพาะที่เมืองไทย แต่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ลองมาดูกันว่า วันแม่ของแต่ละประเทศ คือวันใด และมีที่มาอย่างไร
ประเทศไทย
เดิมประเทศไทย มีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยกำหนดเป็นวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.2493 ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ต้นกำเนิดวันแม่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่ชาวกรีก ที่เฉลิมฉลองวันแม่
ประเทศอังกฤษ
ชาวอังกฤษเริ่มมีวันแม่ “Mothering Sunday” ในปี ค.ศ.1960 สืบเนื่องมาจาก พวกกรรมกรนำเค้กชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า The mothering cake นำกลับไปเยี่ยมมารดาของตน
สหรัฐอเมริกา
วันแม่ของอเมริกา ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม วันแม่ในอเมริกา ก่อตั้งโดย แอนนา จาร์วิช เมื่อปี 1908 เนื่องจากการเสียชีวิตของคุณแม่ของแอนนา เธอจึงทำพิธีรำลึก พร้อมกับรณรงค์ให้ทุกคนยอมรับวันแม่ เป็นวันสำคัญของชาติ และในปี 1914 วู้ดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ตกลงกำหนดให้วันอาทิตย์ที่สองของเดือพฤษภาคม เป็นวันแม่อย่างเป็นทางการ ของสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญวันแม่ของสหรัฐอเมริกา ยังถูกใช้เป็นวันแม่สากลของอีกหลายประเทศทั่วโลก
ประเทศญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่น ปี 1931 องค์กรสตรีสูงสุดของญี่ปุ่น ได้กำหนดให้วันที่ 6 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ เป็น “วันแม่” ต่อมาในปี 1937 ได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 5 พฤษภาคม และหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้อเมริกา ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็ต้องเปลี่ยนวันแม่ตามสหรัฐอเมริกา ในปี 1949 โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม
ประเทศฝรั่งเศส
วันแม่ของฝรั่งเศสเริ่มมาจาก นโปเลียน ตั้งแต่ปี 1806 แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกัน กระทั่งในปี 1915 ที่มีการนำวัฒนธรรมฉลองวันแม่ของอเมริกา มาใช้ในฝรั่งเศส โดยทหารสหรัฐฯ
อินเดีย
วันแม่ตรงกับวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
“ทำไมต้องบอกรักแม่ตัวเอง ในวันเกิดของคนอื่น” เริ่มต้นจาก “ความต้องการระลึกถึงบุญคุณของแม่ ของคุณครูคนหนึ่งแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในที่สุด กลายมาเป็นวันแม่แห่งชาติ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้อย่างไร “ทำไมต้องบอกรักแม่ตัวเอง ในวันเกิดของคนอื่น” “น้องคนที่ตั้งคำถามนี้ หรือคนที่เห็นด้วยกับคำถามนี้ ช่วยตอบที” พร้อมทิ้งท้ายว่า ไดโนเสาร์แห่งศตวรรษที่ 21