ไม่รอด “ศาลรัฐธรรมนูญ” มีมติเสียงข้างมาก ให้ “เศรษฐา” พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชี้ขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปมแต่งตั้ง “พิชิต” เป็นรัฐมนตรี

ไม่รอด "ศาลรัฐธรรมนูญ" มีมติเสียงข้างมาก ให้ "เศรษฐา" พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชี้ขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปมแต่งตั้ง "พิชิต" เป็นรัฐมนตรี

ไม่รอด “ศาลรัฐธรรมนูญ” มีมติเสียงข้างมาก ให้ “เศรษฐา” พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชี้ขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปมแต่งตั้ง “พิชิต” เป็นรัฐมนตรี

 

 

 

 

 

 

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องสมาชิกวุฒิสภา 40 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

 

สืบเนื่องจากกรณีที่นำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือนในความผิดฐานละเมิดศาล

หากประชุมเสร็จสิ้น องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังในเวลา 15.00 น. โดยสามารถรับชมผ่านช่องทางยูทูบของสำนักงานฯ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป ทั้งนี้ มีรายงานว่า ฝ่ายผู้ร้องมอบหมายให้นายสมชาย แสวงการ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นายประพันธ์ คูณมี เป็นตัวแทนเข้าฟังคำวินิจฉัย ขณะที่ฝ่ายผู้ถูกร้อง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมาย นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าฟังคำวินิจฉัย

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน เมษายน 2567 ที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน แต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน ส่อกระทำผิดจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ โดยระบุว่า นายพิชิต เคยถูกสภาทนายความ ถอดชื่อจากทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ 5 ปี

กรณีถูกศาลฎีกาสั่งจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ฐานละเมิดอำนาจศาล เมื่อปี 2551 ที่เกิดเหตุการณ์พยายามนำ “ถุงขนม” ใส่เงินสด 2 ล้านบาท ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในระหว่างการพิจารณาคดีที่ดินรัชดาฯ ของนายทักษิณ ชินวัตร

ต่อมาในช่วงกลางเดือน 15 พ.ค.2567 สว.จำนวน 40 คน ร่วมกันเข้าชื่อ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 โดยยื่นผ่านพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา (ในขณะนั้น) เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยความสิ้นสุดลงของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของนายเศรษฐา ทวีสิน และนายพิชิต ชื่นบาน

21 พ.ค.2567 นายพิชิต แสดงสปิริตลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังอยู่ในตำแหน่งเพียง 23 วัน หลังการปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 เมื่อ 28 เม.ย.2567 ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับหรือไม่รับคำร้อง

หนังสือลาออกจากตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของนายพิชิตที่ยื่นถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ลงวันที่ 21 พ.ค.2567 ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ประเทศเดินหน้า และไม่กระทบการทำงานนายกฯ และไม่ยึดติดกับตำแหน่ง

 

23 พ.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องของ 40 สว. ไว้พิจารณาวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน แต่ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน

ส่วนกรณี นายพิชิต เนื่องจากได้ลาออกจากตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงจึงไม่มีเหตุให้วินิจฉัย จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

 

30 พ.ค.2567 นายเศรษฐา ทวีสิน ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง นายวิษณุ เครืองาม เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้คำปรึกษาและพิจารณาเสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

7 มิ.ย.2567 นายเศรษฐา เปิดเผยว่า นายวิษณุ เครืองาม ตรวจคำชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ​ ปมตั้ง นายพิชิต เสร็จแล้ว​ นายเศรษฐา ระบุถึงมั่นใจในคำชี้แจงว่า ตนไม่ขอก้าวล่วง แต่ทำคำชี้แจงเสร็จแล้ว ต้องให้ให้เกียรติศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนตัดสิน

13 มิ.ย.2567 นายเศรษฐา ทวีสิน ประชุมปรึกษาทีมกฎหมาย กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีการชี้แจงพยานหลักฐานข้อมูลเพิ่มเติม

18 มิ.ย.2567 ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้นัดวินิจฉัยหรือมีคำวินิจฉัยคดีคุณสมบัตินายเศรษฐา ทวีสิน กำหนดนัดพิจารณาต่อไปเดือน ก.ค.67

1 ก.ค.2567 นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงคดีการถอดถอนนายเศรษฐา นั้นจะได้ข้อสรุปก่อนเดือน ก.ย.

10 ก.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดพิจารณาคดีต่อ 24 ก.ค.2567

ต่อมา ในวันที่ 24 ก.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา 14 ส.ค.2567

 

จนกระทั่งวันที่ 12 ส.ค.2567 นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์​ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ​ ปฏิเสธให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงกรณีที่สังคมจับตาอย่างใกล้ชิด ที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกรัฐมนตรี

 

ล่าสุดเมื่อเวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีที่ 40 สว.เข้าชื่อร้องต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน (ผู้ถูกร้องที่ 1) และนายพิชิต ชื่นบาน (ผู้ถูกร้องที่ 2) สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) หรือไม่

 

โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยโดยสังเขปว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน จากการไต่สวน นายเศรษฐา และนางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอชื่อเพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบได้จัดทำแบบแสดงประวัติ เพื่อประกอบพระบรมราชิวินิจฉัย

 

ผู้ถูกร้องที่ 1 ย่อมทราบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ถูกร้องที่ 2 จากแบบประวัติของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ชี้แจงว่าผู้ถูกร้องที่สองเคยได้รับโทษจำคุก ฐานละเมิดอำนาจศาล และเคยถูกลบชื่อออกจากสภาทนายความในปี 2552 เป็นการทำให้เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของทนายความ

 

ศาลรัฐธรรมนูญพิจาณาแล้วเห็นว่า การแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี เป็นกรณีต้องห้าม โดยมิได้ใช้วิจารณญาณและไม่คำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยการเสนอคนใดเป็นรัฐมนตรีนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงแต่ความไว้วางใจส่วนตน ดังนั้นการเสนอผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 1 จึงไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฝ่าฝืนจริยธรรม ยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีโดยมิชอบ การกระทำที่เอาประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประเทศชาติ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมคบสมาคมกับผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย อาจกระทบกับความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรีจึงขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ

 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5:4 วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) พร้อมทั้งฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามมาตรา 160 (4) (5)เมื่อความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงคณะรัฐมนตรีจะต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น