“กรมราชทัณฑ์” แจงชัดปมครม.ถกลับ ไม่เกี่ยวข้อง “ทักษิณ”

โฆษกกรมราชทัณฑ์ แจงปมลือหนัก ครม. ถกลับวาระจร “อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และปลัดกระทรวงยุติธรรม” ยืนยัน หลักเกณฑ์ขออภัยโทษบางกรณีชัด “ทักษิณ” ไม่อยู่ในบัญชีผู้ต้องขังอภัยโทษทั่วไปปี 67 เหตุเตรียมพ้นโทษสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

กรมราชทัณฑ์” แจงชัดปมครม.ถกลับ ไม่เกี่ยวข้อง “ทักษิณ” – Top News รายงาน

 

จากกรณีมีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อการประชุมเข้าสู่ช่วงพิจารณาวาระสุดท้าย กระทรวงยุติธรรม ได้เสนอวาระจร โดยไม่มีการระบุหัวเรื่อง หรือรายละเอียดใดๆ พร้อมกับเชิญเจ้าหน้าที่ และผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องประชุม เหลือเพียง ครม. และบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่พิจารณาเท่านั้น ท่ามกลางกระแสข่าวระบุว่า ที่ประชุม ครม. ได้ร่วมกันพิจารณาวาระจรดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษสำหรับบุคคลบางกรณี ซึ่งพบว่า ภายหลังการประชุม ครม. นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ลงมาจากห้องประชุม ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันนี้ (14 ส.ค.) ทีมข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายแพทย์ สมภพ สังคุตแก้ว รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และในฐานะโฆษกกรมราชทัณฑ์ ว่า สำหรับการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้เสนอวาระจร ทราบว่าเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป อภัยโทษหมู่เนื่องในวาระมหามงคล ไม่ใช่หลักเกณฑ์การขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย โดยปกติแล้วจะมีการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ลงในประกาศพระราชกฤษฎีกา โดยระบุเป็นรายมาตราซึ่งจะแตกต่างกันออกไป อาทิ คุณสมบัติของผู้ต้องราชทัณฑ์ ว่าต้องเป็นผู้ต้องขังจากรายคดีใด ผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นใด ต้องรับโทษจำคุกมาแล้วกี่ปี และเหลือโทษเท่าไร อีกทั้งจะระบุรายละเอียดการพ้นโทษด้วยว่าจะให้เป็นผลอย่างไร เช่น ให้ผู้ต้องขังรับโทษจำคุกต่อไปเหลือกี่ปี (ลดโทษ) หรือให้พ้นโทษทันที

ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว ในวาระวันมหามงคล กรมราชทัณฑ์ โดยเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ จะจัดทำสำรวจรายชื่อ และคุณสมบัติของผู้ต้องขังที่มีเกณฑ์เบื้องต้นเข้าข่ายอาจได้รับการพิจารณาอภัยโทษเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบจำนวนผู้ต้องขังที่มีเกณฑ์ได้รับการอภัยโทษเป็นการทั่วไป เนื่องจากขณะนี้เรือนจำ และทัณฑสถานต่างๆ ยังอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้ต้องขัง เพื่อส่งมายังกรมราชทัณฑ์รับทราบ อีกทั้งในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ยังไม่ปรากฏรายละเอียดของประกาศกฤษฎีกา ว่าจะมีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปหรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนเกณฑ์การอภัยโทษเป็นการทั่วไปในชั้น ครม. ที่ใช้พิจารณากันมักจะกำหนดคุณสมบัติผู้ต้องขังลงในกฤษฎีกา ดังนี้ เป็นผู้ต้องขังโทษเหลือน้อยไม่ถึงปี , เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย , เป็นผู้ต้องขังที่รับโทษจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 , เป็นผู้ต้องขังชั้นดี , และเป็นผู้ต้องขังที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีแนบท้าย เป็นต้น

จากนั้นกรมราชทัณฑ์ โดยเรือนจำ และทัณฑสถาน จึงจะนำคุณสมบัติที่ปรากฏในกฤษฎีกาไปค้นหาผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อดำเนินการตามสิทธิประโยชน์ของผู้ต้องขัง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตัวพ้นโทษ หรือการลดโทษ ทั้งนี้ ในส่วนของรายคดีที่ได้รับการยกเว้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์อภัยโทษเป็นการทั่วไป ได้แก่ คดียาเสพติดร้ายแรง คดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย (คดีอุกฉกรรจ์) คดีที่ผู้ต้องขังรายนั้น ๆ ยังอยู่ระหว่างกระบวนการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา

เมื่อถามว่ากรณีของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พ.ศ. 2565 พบว่า มาตรา 3 บางวรรคระบุถึง “ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” กรณีนี้เข้าเกณฑ์สอดคล้องกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ หากภายในปี 2567 มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปนั้น

นายแพทย์ สมภพ กล่าวว่า อดีตนายกรัฐมนตรี กำลังจะครบกำหนดพักการลงโทษ และจะพ้นโทษในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งอภัยโทษเป็นการทั่วไปจะไม่มีผลใดกับนายทักษิณ   โดยพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปในแต่ละครั้งจะมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ก็อาจมีความคล้ายเดิมอยู่บ้าง ยกตัวอย่างกรณีผู้ต้องขังโทษประหารชีวิต ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิต เบื้องต้น หากมีการอภัยโทษเป็นการทั่วไป จะได้รับผลบรรเทาโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต โดยไม่มีกำหนดแทน

ส่วนหากในวาระโอกาสครั้งถัดไป ผู้ต้องขังได้รับการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปอีกครั้ง ก็อาจจะบรรเทาโทษลงไปได้อีก เช่น จำคุกตลอดชีวิต โดยมีกำหนดโทษ 50 ปี ซึ่งจะต้องไปดูในวันมหามงคลต่างๆ ในแต่ละปี ถ้ามีการประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ผู้ต้องขังก็อาจจะได้รับการลดโทษลงไปอีกตามที่มีการกำหนด จากกำหนดโทษ 50 ปี ก็จะแล้วแต่ว่าได้รับเท่าใด หากให้ครึ่งหนึ่งก็เหลือโทษ 25 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังโทษประหารชีวิตส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการเขียนทูลเกล้าฯ ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายมากกว่า ทั้งนี้ ถ้าผู้ต้องขังโทษประหารยังมีคดีอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา ก็จะยื่นทูลเกล้าขออภัยโทษไม่ได้

เมื่อถามถึงกรณีของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกศาลตัดสินจำคุกคดีจำนำข้าว มีเกณฑ์อาจได้รับการอภัยโทษเป็นการทั่วไปหรือไม่ นายแพทย์ สมภพ ชี้แจงว่า ต้องไปดูว่านายบุญทรง เหลือโทษจำคุกกี่ปี แต่หากมีคุณสมบัติอยู่ในบัญชีแนบท้ายของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่จะเกิดขึ้น แล้วถูกมองว่าเป็นคดีความมั่นคง ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ รวมถึงบิ๊กเนมต่างๆ จะได้รับการอภัยโทษหรือไม่ ก็ต้องรอดูรายละเอียดจากกฤษฎีกาในชั้น ครม. เช่นเดียวกัน เพราะถ้าได้รับอภัยโทษจริง ก็ต้องดูว่าเป็นการอภัยโทษอย่างไร เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วมีอัตราโทษสูงทั้งสิ้น เช่น อาจได้รับโทษจำคุกเหลือ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 แทนการพ้นโทษ เป็นต้น

กรมราชทัณฑ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น