“ศาลฎีกา” ยกคำร้อง “เสี่ยเปี๋ยง” ขอปรับโทษคุก 66 ปี ชดใช้เงินกว่า 1.1 พันล้าน

"ศาลฎีกา" ยกคำร้อง "เสี่ยเปี๋ยง" ขอปรับโทษคุก 66 ปี ชดใช้เงินกว่า 1.1 พันล้าน

“ศาลฎีกา” ยกคำร้อง “เสี่ยเปี๋ยง” ขอปรับโทษคุก 66 ปี ชดใช้เงินกว่า 1.1 พันล้าน

เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ความคืบหน้าผลคดีกล่าวหา นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวก เรียกรับเงินสินบนจากผู้ประกอบการโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการอนุมัติจำนวนหน่วยก่อสร้างและเรียกรับเงินเป็นค่าตอบแทนการจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ประกอบการโดยมิชอบ ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 , 149 และ 157 ประกอบมาตรา 86 พ.ร.บ. 2502 มาตรา 3 , 8 และ 11 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2559

ในส่วนของนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ เสี่ยเปี๋ยง นักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ จำเลยที่ 4 ที่ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ปรับโทษใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 11 ประกอบมาตรา 91 (3) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลฯ มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก นายอภิชาติเป็นเวลา 66 ปี ให้จำคุกได้สูงสุด 50 ปี และรวมชดใช้เงินจำนวน 1,323 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาฯ ได้ยกคำร้องดังกล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เบื้องต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการประชุมเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2567 มีมติเห็นชอบที่อัยการสูงสุด (อสส.) จะไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลฎีกาฯ

สำหรับประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 11 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทําความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทําในราชอาณาจักร ถ้าผู้นั้นได้รับโทษสําหรับการกระทํานั้นตามคําพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว

ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทําความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่า ได้กระทําในราชอาณาจักรได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทํานั้นอีกถ้า

(1) ได้มีคําพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้นหรือ

(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว

 

โดยก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า วันที่ 4 มี.ค.2565 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ ในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมจำเลยคนอื่น ๆ อีก 14 คน กรณีทุจริตเรียกรับสินบนจากบริษัท พาสทิญ่า จำกัด ผู้รับเหมาโครงการบ้านเอื้ออาทร ผ่านบริษัทและลูกจ้างบริษัท เพรซิเด้นท์เทรดดิ้ง จำกัด จำนวนเงิน 82.6 ล้านบาท

โดยคดีนี้มีจำเลยด้วยกัน 14 ราย 1.นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร 2.นายมานะ วงศ์พิวัฒน์ อดีตบอร์ดการเคหะแห่งชาติและอดีตประธานอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการระหว่างวันที่ 9 ก.ย. 2548 – 19 ก.ย. 2549 3.นายพรพรหม วงศ์พิวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจก่อสร้างที่พักอาศัย 4.นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยงนักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ 5.น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง ลูกน้องคนสนิทนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร 6.น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด 7.น.ส.รุ่งเรือง ขุนปัญญา พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด 8.บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด โดยนายปกรณ์ อัศวีนารักษ์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน 9.บริษัท ซิลเวอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ไทย เฉน หยู อินเตอร์เนชั่นแนลคอนสตรัคชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด) โดยนางพิมพ์วรา รัชต์ธนโรจน์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน 10.นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง หรือกี้ร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย 11.บริษัท พาสทิญ่าไทย จำกัด 12.บริษัท นามแฟทท์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย 13.บริษัท พรินซิพเทค ไทย จำกัด ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และ 14 น.ส.สุภาวิดา คงสุข กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน บริษัท ไทยเฉนหยูฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาฯ สรุปว่าพิพากษายืนตามศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือให้จำคุกนายวัฒนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 รวมความผิด 11 กระทง กระทงละ 9 ปี รวม 99 ปี แต่คงจำคุกจริง 50 ปี และนอกจากนี้ในส่วนของคดีแพ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ศาลได้เคยมีคำตัดสินให้นายวัฒนาร่วมกับ จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 6 และ จำเลยที่ 8 รวม 1,323 ล้านบาทนั้น ก็ให้มีการยึดเงินซึ่งศาลระบุว่าเป็นสินบนอีก 89 ล้านบาท โดยจะต้องชำระเงินจำนวนนี้ภายในระยะเวลา 30 วัน มิฉะนั้นจะต้องชำระดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี

ในรายละเอียดของศาลฎีกายังได้ระบุตอนหนึ่งว่าข้ออ้างนายวัฒนาที่ระบุว่าไม่ได้มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 4 และที่ 7 ขืนใจให้ฝ่ายผู้ประกอบการจ่ายสินบนนั้นเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้นจึงให้ยกอุทธรณ์ของนายวัฒนา ดังนั้นจากคำพิพากษาดังกล่าวทำให้นายวัฒนาต้องถูกคุมตัวไปรับโทษทันที

 

ขอบคุณที่มา สำนักข่าวอิศรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น