โพลชี้การเมืองไทยมีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค

โพลชี้การเมืองไทยมีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค

ไอเอฟดีโพลชี้ว่า “พรรคการเมืองไทยมีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคที่กำหนดทิศทางและนโยบายพรรค และยังมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลด้วย โดยพรรคการเมืองไม่ได้ยึดโยงกับผลประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นหลัก” โดยประชาชน 94% คิดว่าพรรคที่ผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย 92.57% ส่วนพรรคที่มีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคน้อยที่สุดคือ พรรคประชาชน 68.07% น้อยรองลงมาคือ พรรคประชาชาติ 81.14% อีกทั้งผลสำรวจยังพบว่าประชาชน 55.94% เชื่อว่า การตัดสินใจของรัฐบาลถูกควบคุมโดยผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชน 69.32% ไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่าจะทำสิ่งที่ถูกต้อง/เป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ”

ไอเอฟดีโพลแอนด์เซอร์เวย์ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา สำรวจประเด็น “การเมืองไทยมีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค” สำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,251 ตัวอย่าง กระจาย 5 ภูมิภาค วิธีสำรวจลงภาคสนามและโทรศัพท์อย่างละ 50% สุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นด้วยวิธี Stratified Five-Stage Random Sampling แต่ละตัวอย่างมีค่าถ่วงน้ำหนัก ค่าความผิดพลาด 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำรวจช่วง 17-20 สิงหาคม 2567

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผลสำรวจดังนี้ ประชาชนให้ความคิดเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค (คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค แต่มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทาง นโยบายและการตัดสินใจของพรรค ซึ่งจะส่งผลต่ออิทธิพลต่อรัฐบาลด้วยหากพรรคนั้นได้เป็นรัฐบาล) โดยประชาชนมีความเห็น 3 คำถาม ดังนี้

• ท่านคิดว่า “พรรคการเมืองถูกควบคุม โดยกลุ่มผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคหรือไม่ ?” พบว่า

• พรรคการเมืองทุกพรรคมีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค ในการควบคุมและกำหนดทิศทางนโยบายของพรรค

• พรรคที่มีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคมากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย 94% รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย 92.57%

• พรรคที่มีผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคน้อยที่สุด คือ พรรคประชาชน 68.07% น้อยรองลงมาคือ พรรคประชาชาติ 81.14.%

• ท่านคิดว่า “รัฐบาลตัดสินใจ โดยถูกควบคุมจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคหรือไม่ ?” พบว่า

• ประชาชน 55.94% เห็นด้วย และ 35.82% ไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามประชาชนเพิ่มเติมในกลุ่มที่ตอบไม่แน่ใจ ประชาชนให้เหตุผลที่ตอบ เพราะการตัดสินใจของรัฐบาลยังมีปัจจัยด้านพรรคร่วมรัฐบาลที่จะมีส่วนร่วมตัดสินใจในประเด็นต่าง ๆ ร่วมด้วย

• จากข้อ 2 “ท่านไว้วางใจรัฐบาลในจะทำสิ่งที่ถูกต้อง/เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศหรือไม่ ?” พบว่า

• ประชาชน 69.32% ไม่ไว้วางใจ

จากผลไอเอฟดีโพล สะท้อนให้เห็นถึง “ความไม่ไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐบาลและพรรคการเมือง”  โดยประชาชนจำนวนไม่น้อยที่มีมุมมองต่อ ส.ส. ว่า ยังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน ในการเชื่อมโยงความต้องการของประชาชนไปสู่การกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ แต่พรรคกลับถูกขับเคลื่อนโดย “ผู้ที่มีอิทธิพลเหนือพรรค หรือมือที่มองไม่เห็น” ที่เป็นผู้กำหนดทิศทาง นโยบาย และตัดสินใจเรื่องสำคัญของพรรค ซึ่งหากพรรคที่ผู้ที่มีอิทธิพลเหนือพรรคนั้นเป็นรัฐบาล จะส่งผลต่อเนื่องถึงการตัดสินใจของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากประชาชนไม่ไว้วางใจในพรรคการเมืองและ/หรือรัฐบาล จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเมืองที่อาจส่งผลให้ประชาชนไม่สนใจ ไม่อยากยุ่งทางการเมือง จนอาจไม่อยากไปเลือกตั้ง และยังส่งผลให้ประชาชนหมดหวังกับรัฐบาลและพรรคการเมือง

ดังนั้น การสร้างความไว้วางใจของประชาชนต่อภาคการเมือง จำเป็นต้องเริ่มจากพรรคการเมืองที่ต้องมีและยึดมั่นในอุดมการณ์พรรค มีจุดยืนชัดเจน มีนโยบายที่มุ่งทำประโยชน์เพื่อประเทศ รวมถึงการพัฒนาความเป็นสถาบันทางการเมืองที่คณะกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. ของพรรค ได้ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบาย นำความเห็นประชาชนไปทำให้เกิดผลขับเคลื่อนเชิงนโยบาย  ประชาชนมีส่วนร่วม และสานต่ออุดมการณ์พรรคในระยะยาว จนทำให้ภาคการเมืองเข้มแข็งมีส่วนนำพาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

ลักษณะทางประชากรและภูมิภาค

• เพศ เพศชาย (48.75%)  เพศหญิง (48.33%) และ เพศอื่น ๆ (2.92%)

• อายุ อายุ 18-25 ปี (15.55%) อายุ 26-35 ปี (20.72%)  อายุ 36-45 ปี (23.43%) อายุ 46-59 ปี (23.99%) และ อายุ 60 ปีขึ้นไป (16.31%)

• อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (7.80%) พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน (17.71%)  ประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (26.95%)  ช่วยธุรกิจ/งานครอบครัว (4.67%) รับจ้างทั่วไป (18.16%)  เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ (11.61%)  7.26% เป็นนักเรียน/นักศึกษา ว่างงาน (รอสมัครงาน) (5.28%) และ มีอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ สมัครใจที่จะว่างงาน ทุพพลภาพ (0.56%)

• ระดับการศึกษา การศึกษาระดับประถม/ต่ำกว่า ((17.91%) มัธยมศึกษา/ปวช. (34.37%) อนุปริญญา/ปวส.  (28.94%) ปริญญาตรี (17.11%)  และ สูงกว่าปริญญาตรี (1.67%)

• ภูมิภาค  กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (14.07%) ภาคเหนือ (18.23%) ภาคใต้ (13.67%) ภาคกลางและภาคตะวันตก (14.71%) ภาคตะวันออก (7.91%) และ ตะวันออกเฉียงเหนือ (31.41%)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.ลงพื้นที่ "นครพนม" ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย
"พิพัฒน์" ยันค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ประกาศขึ้น 1 ต.ค.นี้ ชี้เตรียมมาตรการช่วยทั้ง "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ไว้พร้อมแล้ว
"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น