กมธ.ทหาร ให้อสส.ชี้ขาด ปมคดีพลทหารถูกซ้อมเสียชีวิต ต้องเป็นคดีพิเศษหรือไม่

กมธ.ทหาร จ่อ ส่งหนังสือด่วนถาม อสส. ปม คดีพลทหารถูกซ้อมจนเสียชีวิต ต้องเป็นคดีพิเศษหรือไม่ พร้อมให้ ผบ.ทบ. คุ้มครองพยานในค่ายทหาร ชี้ นายทหารชั้นสัญญาบัตรต้องร่วมรับผิด

กมธ.ทหาร ให้อสส.ชี้ขาด ปมคดีพลทหารถูกซ้อมเสียชีวิต ต้องเป็นคดีพิเศษหรือไม่ – Top News รายงาน

กมธ.ทหาร

 

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหารสภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกมธ. แถลงผลการประชุมกรรมาธิการ เพื่อพิจารณากรณี นายวรปรัชญ์ ทหารเกณฑ์ ที่ถูกลงโทษทางวินัยจนเสียชีวิต

นายวิโรจน์ กล่าวว่า จากเอกสารคำขอฝากขังที่ทำโดยพนักงานสอบสวน ระบุว่า พลทหารวรปรัชญ์ ถูกทำร้ายร่างกาย ทารุณกรรม อย่างต่อเนื่องหลายหลัง จนรอยช้ำปรากฏนอกร่มผ้า ถึงขั้นให้เพื่อนพลทหารดูแลอาบน้ำให้ และแบกมารับประทานอาหาร ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจะอ้างว่า ไม่รู้ไม่ได้

ทั้งนี้ จากการชันสูตร พบว่าถูกกระทำทารุณกรรมอย่างรุนแรง ปอดฉีกขาด สมองบวม กระดูกสันหลังร้าวกระดูกซี่โครงหัก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่า สภาพบาดเจ็บรุนแรงอย่างนี้ มาจากการธำรงวินัยตามระเบียบของกระทรวงกลาโหม แต่เป็นการถูกทารุณกรรม และเป็นการถูกรุมทำร้าย รุมซ้อมทรมานมากกว่าหนึ่งครั้ง

และเป็นไปไม่ได้ที่ ผบ.ค่าย หรือผู้บังคับบัญชา จะไม่รับทราบ และ ประชาชนก็รู้ดีถึงโครงการพลทหารปลอดภัย ที่กรรมาธิการการทหารได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการและมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บังคับบัญชา จะไม่ล่วงรู้และไม่ตระหนัก

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือ พ.ร.บ. อุ้มหาย มาตรา 42 จึงมีเหตุให้ต้องสงสัยได้ว่าผู้บังคับบัญชา ระดับผู้หมวด ผู้กอง ผบ.ค่าย และ ผบ.กรม ย่อมต้องมีส่วนรับผิดด้วยหรือไม่

นายวิโรจน์ กล่าวว่า กรรมาธิการมีมติใน 2 แนวทาง คือ กรรมาธิการจะทำหนังสือด่วน ถึงอัยการสูงสุด ให้เข้ามาชี้ขาด และกำกับดูแลการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย ว่าควรให้หน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินคดีนี้ เพราะว่า จากการรายงานทราบว่าพนักงานสอบสวน ที่มียศร้อยตำรวจเอก มีความกังวล และขาดความชำนาญ ขาดประสบการณ์ ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย และมีความกังวลที่จะดำเนินคดีกับนายทหารสัญญาบัตรระดับยศนายพันขึ้นไปด้วย ดังนั้น ต้องทำหนังสือถึงอัยการสูงสุด ให้ช่วยพิจารณาว่า จะให้ทำคดีนี้เป็นคดีพิเศษ หรือจะให้อัยการฝ่ายสำนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้ง จะให้อัยการสูงสุดให้ดำเนินการคุ้มครองพยานด้วย เนื่องจากมีผู้ต้องหาบางรายได้รับการประกันตัวออกมาจากศาลทหารแล้ว และมีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายไปข่มขู่พยานที่อยู่ในค่ายอีกด้วย

อีกทั้ง จะทำหนังสือด่วนถึงผู้บัญชาการทหารบก ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อคุ้มครองพยานที่อยู่ในค่ายนวมินทราชินี จ. ชลบุรี และ ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ให้นายทหารเข้าไปยุ่งเหยิงในคดี รวมถึงเข้าไปมีพฤติกรรมข่มขู่สร้าง ความรำคาญใจแก่พยานหรือผู้เสียหาย

นายวิโรจน์ หวังว่า อยากให้กรณีนี้เป็นกรณีสุดท้าย และผู้ที่ได้ต้องรับผิด ต้องไม่ใช่แค่นายสิบและพลทหาร แต่ต้องมีนายทหารชั้นสัญญาบัตร โดยเฉพาะนายทหารในระดับบังคับบัญชาระดับสูงร่วมรับผิดด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น