การประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ในช่วงเย็นที่ผ่านมา ภายหลังหลังจากที่ประชุมรับฟังรายงานการศึกษาเรื่องที่คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้วเสร็จ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุธ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เกี่ยวกับการแสดงออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอุตตาการในเวทีสาธารณะซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชนจนนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมและการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระเพื่อให้สภาส่งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมีสมาชิกยกมือรับรองการเสนอญัตติเกิน 5 คน
เช่นเดียวกับนายอดิศร เพียงเกษ สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เกี่ยวกับการแสดง ออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตุลาการในเวทีสร้างสาธารณะ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชนจนนำไปสู่การตั้งคำถาม ต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมเพื่อส่งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปสู่องค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเช่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาต่อไป และมีผู้รับรอง 2 ถูกต้อง
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จึงได้ขออนุญาตที่ประชุมเพื่อเลื่อน ญัตติด่วนดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาก่อน พร้อมแจ้งต่อที่ประชุมว่า จากการอภิปรายในญัตตินี้ อาจจะมีการกล่าวถึงบุคคลภายนอกและองค์กรทางตุลาการและเนื่องจากมีการถ่ายทอดสดการประชุม ไม่ใช่การประชุมลับ ดังนั้นจะไม่มีการคุ้มครองตามกฏหมาย จึงขอให้ระวังการกล่าวถึงบุคคลภายนอกที่อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องได้ เพราะสภาไม่สามารถคุ้มครองได้ และหากจะกล่าวถึงองค์กรตุลาการขอให้ระวังการละเมิดอำนาจศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลใดก็ตาม
นายณัฐพงษ์ ได้อภิปรายหลักการและเหตุผลในการเสนอญัตติว่า เนื่องจากเมื่อวานนี้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนขึ้นไปบรรยายในเวทีสาธารณะที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและมีการแสดงความคิดเห็น ที่ระบุถึงพรรคประชาชนโดยตรงว่าพวกเราจะต้องขอบคุณท่านที่วินิจฉัยอยู่พรรคก้าวไกลจน ทำให้พรรคประชาชนได้รับยอดบริจาคสูงถึง 20 ล้านบาท ซึ่งส่วนตัวมองว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างนี้ในเวทีสาธารณะของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พรุ่งนี้ถ้าการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวตนไม่ขัดข้อง แต่เนื่องจากเป็นการแสดงความคิดเห็นจากผู้ ที่เป็นองครักษ์ตุลาการที่ได้พิพากษาประหารชีวิตพรรคการเมืองด้วยการยุบพรรคการเมืองแต่กลับออกมาแสดงความคิดเห็นดังกล่าวในเชิงประชดประชันหรือหากถามว่าพวกเราต้องขอบคุณแบบนี้เป็นความชอบธรรมของสภาผู้แทนราษฎรในฐานะตัวแทนปวงชนมีอำนาจสูงในการตั้งคำถาม ต่อองค์กรภายใต้ศาลรัฐธรรมนูญ
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่าตามมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หมวดที่2 ว่า ด้วยจริยธรรมอันเป็นค่านิยมข้อที่13 ธุรการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมเป็นอิสระเป็นการและปราศจากอคติ ข้อที่ 17 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องไม่ทำการใดใดที่ทำให้เสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ และการดำรงตำแหน่ง แต่จากการแสดงทัศนคติบนเวทีสาธารณะแบบนี้เป็นการแสดงทัศนคติที่เป็นกลางหรือไม่ เป็นการแสดงทัศนคติที่สาธารณะชนสามารถตั้งคำถามได้ว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินอยู่พรรคก้าวไกลไปนั้นเป็นการใช้อคติส่วนตัวในการวินิจฉัยหรือไม่ นอกจากนี้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ข้อที่ 28 บัญญัติไว้ว่า ผู้พิพากษาไม่พึ่งแสดงปาฐกถา บรรยายสองหรือเข้าร่วมการสัมมนาอภิปรายแสดงความคิดเห็นใดใดต่อสาธารณะชนซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฎิบัติหน้าที่และเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา จึงคิดว่าคงไม่มีนักกฎหมายคนไหนที่จะสามารถยอมรับได้ว่าองค์คณะผู้พิพากษาตัดสินคดีที่ผู้ถูกพิพากษาคืออดีตพรรคก้าวไกลที่ถูกตัดสินประหารชีวิตลงโทษโดยตรง แต่ถูกองค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี ออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงเสียดสีประชดประชันแบบนี้ นี่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงออกชัดเจนว่าทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ