“แอมเนสตี้” เริ่มทันที ชี้ศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นก้าวสำคัญคืนความยุติธรรม

"แอมเนสตี้" เริ่มทันที ชี้ศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นก้าวสำคัญคืนความยุติธรรม

แอมเนสตี้” เริ่มทันที ชี้ศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นก้าวสำคัญคืนความยุติธรรม

สืบเนื่องจากคำตัดสินของศาลในวันนี้ซึ่งรับฟ้องคดีอาญาเพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุทำให้มี ผู้เสียชีวิตที่อำเภอตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อปี 2547 ตามคำร้องของเหยื่อและครอบครัวผู้เสียหาย

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่าคำตัดสินของศาลในวันนี้นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญเพื่อคืนความยุติธรรมที่ควรเกิดขึ้นมานานแล้วสำหรับผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อการใช้กำลังจนเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ ระหว่างการสลายการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ ทำให้ผู้เสียหายและครอบครัวได้ใช้เวลาเกือบ 20 ปี เพื่อรอความยุติธรรมและความรับผิดชอบจากอาชญากรรมที่โหดร้ายครั้งนี้

แอมเนสตี้ เริ่มทันที ชี้ศาลรับฟ้องคดีตากใบ

ข่าวที่น่าสนใจ

“ทางการไทยต้องเร่งดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลโดยทันทีและใช้มาตรการทั้งปวงที่จำเป็น เพื่อประกันไม่ให้คดีนี้ต้องหมดอายุความไป ทางการต้องรับรองให้ผู้สียหายและครอบครัวของพวกเขาสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องมีการประกาศยอมรับอย่างเป็นทางการถึงความจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดขึ้นในเหตุการณ์ตากใบ”

ในวันนี้ (23 ส.ค.67) ศาลจังหวัดนราธิวาสเห็นชอบตามคำร้องของผู้เสียหายและครอบครัวที่ยื่นฟ้องเพื่อเอาผิดทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ คนที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมประท้วงที่อำเภอตากใบ จ.นราธิวาส โดยมีอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารระดับสูงในเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ศาลตัดสินว่ามีมูลฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 7 คนจากทั้งหมด 9 คน ซึ่งถูกฟ้องในเบื้องต้น โดยเป็นการฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่นและร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว

อายุความในคดีนี้มีกำหนดสิ้นสุดลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 หลังคำพิพากษาของศาลในวันนี้ จำเลยอย่างน้อย 1 คนต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าศาลเพื่อรับฟ้องก่อนที่คดีจะหมดอายุความ การพิจารณาคดีจึงจะเริ่มต้นขึ้นได้ ตามมาตรา 95 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกำหนดอายุความของความผิดทางอาญา

ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ผู้ชุมนุมประท้วงกว่า 2,000 คนได้มารวมตัวที่ด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชายชาวมลายูมุสลิมู 6 คน ซึ่งผู้ชุมนุมประท้วงเชื่อว่าได้ถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้โดยพลการ

 

เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้แก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนจริงในการสลายการชุมนุม เป็นเหตุให้ผู้ประท้วงเสียชีวิตทันที 7 คน โดย 5 คนเสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัว หลังการสลายการชุมนุม ได้มีการขนส่งชายชาวมลายูมุสลิม ประมาณ 1,370 คนไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารในจังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ห่างไป 150 กิโลเมตร ผลจากการถูกบังคับให้นอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 78 คน จากการกดทับหรือการขาดอากาศหายใจระหว่างการเดินทาง ผู้รอดชีวิตหลายคนได้รับการบาดเจ็บสาหัสและบางคนต้องพิการถาวร

คณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนความจริง ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในขณะนั้น ประณามการใช้กำลังจนเกินขอบเขตและการขาดความรอบคอบในการขนส่งผู้ถูกควบคุมตัว แม้จะมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้เสียหาย แต่ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ซึ่งคณะกรรมการได้ระบุตัวตนไว้นั้น ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด

ในเดือนตุลาคม 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เผยแพร่แถลงการณ์สาธารณะ เกี่ยวกับผลกระทบจากความล้มเหลวของทางการไทยในการอำนวยความยุติธรรมต่อผู้เสียหายจากการใช้ความรุนแรง เพื่อปราบปรามการประท้วงที่ตากใบและครอบครัวของพวกเขา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส
หานเจิ้งเรียกร้องมัสก์กระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน
"นภินทร" นำกรมพัฒนาธุรกิจฯ มอบรางวัล Thailand Franchise Award 2024 หนุนเป็นต้นแบบแฟรนไชส์ สร้างรายได้ยั่งยืน
“อนุทิน” หารือ รมว.มหาดไทย มาเลเซีย กระชับสัมพันธ์ 2 ประเทศ
TikTok กลับมาให้บริการในสหรัฐฯแต่อนาคตยังอึมครึม
ทรัมป์ประกาศจะหยุดความตกต่ำของอเมริกา
"ทบ.โดยขกท." ประสานร่วมมือหน่วยงานปราบยาเสพติด เร่งจับกุมผู้ค้ายาเสพติด
เหวอทั้งเวที “ทักษิณ” หาเสียงมหาสารคาม สาวอดีตเสื้อแดงเขวี้ยงขยะใส่ อ้างทำชีวิตพัง
ปธน.ยุนถูกส่งเข้าห้องขังที่เรือนจำเกาหลีใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น