นายกสมาคมทนายฯ หนุนทุกฝ่ายเร่งแก้รธน. ป้องกันใช้มาตรฐานจริยธรรม ตัดสินคดีการเมือง Top News รายงาน
26 ส.ค.2567 นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เผยบันทึกจากนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า
บันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ
ศาลหรือผู้พิพากษามีหน้าที่ตัดสินคดีที่เกิดจากการกระทําของบุคคลอันเป็นการพิจารณา วินิจฉัยในเรื่องของการกระทําที่ปรากฏออกมาแล้วว่า การกระทํานั้นเป็นไปตามกฎหมายหรือขัด ต่อกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วโดยชัดแจ้งหรือไม่
ส่วนเรื่องจริยธรรม ไม่ใช่การกระทําที่ผิดต่อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการกระทําที่ควร หรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ซึ่งแต่ละสังคมหรือแต่ละองค์กรจะมีบริบทและวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เช่น สังคมผู้พิพากษาจะเคร่งครัดเรื่องการคบค้าสมาคมกับคนทั่วไป ส่วนสังคม การเมืองจะแตกต่าง เพราะนักการเมืองเป็นผู้แทนของประชาชนจึงต้องคบค้ากับผู้คนทุกระดับ เป็นต้น ดังนั้นทั่วโลกจึงถือหลักเดียวกันว่าให้คนในองค์กรนั้น เป็นผู้วินิจฉัยความควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับคนในองค์กรของตน
ประเทศไทยและทั่วโลกก็ยึดหลักการนี้มาตลอด จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หลักการนี้ก็เปลี่ยนไป โดยก่อนหน้านี้การพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษา ก็เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการตุลาการที่ผู้พิพากษาเลือกกันเองเป็นผู้พิจารณาหรือการกระทําผิดวินัยของ ข้าราชการอื่น ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด ที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบวินัยของ ข้าราชการผู้นั้น หรือกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีก็ให้เป็นอํานาจของ ส.ว. ซึ่งมาจากการ เลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน เป็นผู้ลงมติถอดถอนอันเป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่า “ใครตั้งใครถอน” เมื่อประชาชนเป็นผู้แต่งตั้ง ก็ต้องให้ประชาชนเท่านั้นเป็นผู้ถอดถอน ยกเว้น กรณีที่เกิดกับพรรค การเมืองและนักการเมืองของประเทศไทย ที่ให้ศาลซึ่งมิได้มาจากประชาชนเป็นผู้มีอํานาจถอดถอน