“กรมชลประทาน” เร่งบริหารจัดการน้ำป้องกัน “เมืองสุโขทัย” กำชับเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

กรมชลประทานประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ระบุเมืองแพร่เริ่มดีขึ้น สุโขทัยรับช่วงต่อ เร่งบริหารจัดการน้ำป้องกันเมือง คาดปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้าภาคเหนือตอนบน-อีสานตอนบน -ภาคกลาง-ตะวันออก เจอฝนหนัก

“กรมชลประทาน” สั่งเร่งบริหารจัดการน้ำป้องกัน “เมืองสุโขทัย” กำชับเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด – Top News รายงาน

กรมชลประทาน

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ที่กรมชลประทาน ถนนสามเสน นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 46,418 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 61% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 29,919 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 13,244 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 11,627 ล้านลูกบาศก์เมตร ด้านสถานการณ์น้ำท่าในลุ่มน้ำสายหลักส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะปกติ ยังคงเหลือลุ่มน้ำแม่ยมที่ระดับน้ำยังสูงกว่าตลิ่ง จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจากอิทธิพลร่องมรสุมที่พาดผ่าน ส่งผลให้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบในหลายจังหวัด ส่วนในพื้นที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ ปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมได้ทยอยไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างแล้ว ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่เริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งรับมวลน้ำต่อจากทางตอนบนปริมาณน้ำเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมชลประทานได้ผันน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาท ลงแม่น้ำยมสายเก่า ก่อนที่จะผันเข้าไปเก็บไว้ในพื้นที่หน่วงน้ำทุ่งบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันได้รับน้ำเข้าทุ่งไปแล้วกว่า 10% หรือประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนหนึ่งจะผันลงแม่น้ำน่านไปตามคลองสาขาต่างๆ โดยที่เขื่อนนเรศวรได้ปรับลดการระบายน้ำหน้าเขื่อนลง เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำยม

ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมวลน้ำจากทางตอนบนเริ่มไหลลงมาสมทบ ทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมชลประทานได้ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำทางตอนบนและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในช่วงปลายเดือนนี้จนถึงต้นเดือนหน้า พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง รวมถึงภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ให้เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิด พร้อมพิจารณาพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ และลำน้ำสาขา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือประจำจุดเสี่ยง พร้อมเข้าแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุดตามนโยบายของรัฐบาล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"
“เอกนัฏ” เอาจริง “ส่งทีมสุดซอย” ตรวจโรงงานปราจีนฯ ยึดเหล็กไม่ได้มาตรฐาน 7 พันตัน มูลค่า 148 ล้าน คาดเอี่ยวคดีตึก สตง.
"อ.ปรเมศวร์" ชี้ทางดีเอสไอ ลุยเอาผิดประมาท ตึกสตง.ถล่ม อึ้งข้อมูลใช้งบฯส่อทุจริต
จีนปล่อยยานเสินโจว 20 มุ่งสู่สถานีอวกาศเทียนกง
"องค์กรต้านโกง" เปิดวงจรคอร์รัปชัน เกาะกินก่อสร้างภาครัฐ แนะรื้อระบบ-กติกา จูงใจเอกชนแข่งเสรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น