ย้อนตำนาน 20 ปี พท.-ปชป.ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ วันนี้ขอลืมอดีต ก้าวข้ามความขัดแย้ง

ท็อปนิวส์พาย้อนตำนานเพื่อไทย-ปชป. ผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ก่อนวันนี้ขอลืมอดีต ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลัก จูบปากดึงร่วมรัฐบาล

ย้อนตำนาน 20 ปี พท.-ปชป.ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ วันนี้ขอลืมอดีต ก้าวข้ามความขัดแย้ง Top News รายงาน  

 

พลันที่พรรคเพื่อไทยเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ก็ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งของทั้งสองพรรคที่มีมายาวนานกว่า 20 ปี วันนี้ทีมข่าวท็อปนิวส์ จะพาย้อนไปดูตำนานการต่อสู้ระหว่างสองพรรค ก่อนที่จะเดินทางมาถึงวันที่รักกันหวานชื่น ลืมความขัดแย้งในอดีตไว้ข้างหลัง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

-ปี 2544 พรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 1 การตรวจสอบรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่เข้มข้น เพราะไม่มีประเด็นการบริหารงานผิดพลาดหรือความไม่โปร่งใสมากนัก

 

 

-ปี 2458 พรรคไทยรักไทยของนายทักษิณชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง จากนั้นนายทักษิณได้รวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้อย่างดุเดือดของทั้งสองพรรค เพราะได้เกิดเรื่องราวไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของรัฐบาล ทั้งข้อครหาการไปแทรกแซงองค์กรอิสระ ,ครหาว่ามีการซื้อ สว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ,การทุจริตเชิงนโยบาย และโดยเฉพาะประเด็นครอบครัวชินวัตรขายหุ้น “ชินคอร์ป” 7.3 หมื่นล้านให้กับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จำกัด” เมื่อเดือนมกราคม ปี 2549 ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบรัฐบาลทักษิณอย่างหนัก ส่วนนอกสภาฯรัฐบาลก็ถูกกลุ่มพันธมิตรฯออกมาขับไล่ ก่อนที่รัฐบาลนายทักษิณจะลดแรงกดดันดัวยการประกาศยุบสภาฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549

 

 

-การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์,พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน เพราะเห็นว่าการกำหนดวันเลือกตั้งไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม โดยกำหนดวันเลือกตั้งห่างจากการยุบสภาเพียง 35 วัน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ และให้จัดเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยา 49 เสียก่อน

 

-ต่อมานาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ยื่นร้องเรียน กกต. ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กได้แก่ พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรคเล็กเมื่อปี 2549 กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ในข้อกล่าวหาเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค รวม 111 คน นาน 5 ปี หรือที่เรียกว่า “บ้านเลขที่ 111”

 

-15 ธันวาคม 2551 สภาฯได้นัดโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นเก้าอี้นายกฯ จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดียุบพรรคพลังประชาชน และกลายเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สส.และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับเสียงโหวตจากสภาฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่จากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้ถูกกลุ่ม นปช.หรือ คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่ยาวนานตั้งแต่ปี 2552 ต่อเนื่องถึง ปี 2553 เพื่อกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยุบสภาฯ จนเกิดเหตุการณ์ล้มประชุมอาเซียนที่พัทยา เมื่อปี 2552 ,เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง ปี 2553 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านายทักษิณอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่ม นปช. อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดนายอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 และให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554

 

-การเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง ส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การบริหารงานของรัฐบาลได้เกิดความไม่โปร่งใส โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ที่พรรคประชาธิปัตย์นำโดยนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก ได้นำข้อมูลมาชำแหละในสภาฯชี้ให้เห็นถึงการทุจริตของโครงการ และยังมีกรณีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ที่สส.พรรคประชาธิปัตย์คัดค้านในสภาฯอย่างดุเดือด จนเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในสภาฯเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ถึงขั้นขึ้นไปลากเก้าอี้ประธานสภาฯลงจากบัลลังก์ ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่ง ตัดสินใจประกาศลงถนนเคลื่อนนไหวต่อสู้คัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอย จนเกิดเป็นกลุ่ม กปปส. สุดท้ายเกิดรัฐประหารปี 57

 

อย่างไรก็ตามเมื่อจบศึกเลือกตั้งปี 2566 ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ สส.เพียง 25 คน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค โดยเป็นกลุ่มนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้รับเลือกให้มาบริหารพรรค และมีนายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา มาทำหน้าที่เลขาฯพรรค ซึ่งเดิมทีนายเดชอิศม์นั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทักษิณอยู่แล้ว และจากวันนั้นเป็นต้นมา ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยก็ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง พยายามหาหนทางที่จะร่วมรัฐบาลให้ได้ เพราะว่ากันว่าเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ใช้ทุนไปเยอะ จนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี
"ไผ่ ลิกค์" ลั่นได้คุยแล้ว ปมดาราดัง ยืมเงินเพื่อน 20 ล้าน ปล่อยกู้ รอเจ้าตัวมาตอบ ย้ำเคยเตือนเรื่องใช้ชีวิตแพง
รองโฆษก รบ.เผย ‘กฎหมายฟ้องชู้’ ใหม่บังคับใช้แล้ววันนี้ ฟ้องหย่า-เรียกค่าเสียหายได้ทุกเพศ
"ตร.ทางหลวงเมืองกรุงเก่า" จับเมียนมา ขนเพื่อนร่วมชาติส่งทำงานในไทย สารภาพสิ้นทำมานาน 1 ปี วิ่งรถกว่า 100 เที่ยว
"ทนายเดชา" เปิดใจ หลังศาลสั่ง คุก 1 ปี รอลงอาญา คดีหมิ่น "อ.อ๊อด" ย้ำไม่มีร้องไห้ ใส่กุญแจมือ รอชำระค่าปรับตามคำพิพากษา
"จิรายุ" ย้ำ "เงินหมื่น" เฟส 2 มอบคนอายุุ 60+ โอนแน่ 27 ม.ค.นี้
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความ "คนสอนธรรม" เพิ่ม 1 ข้อหา
ตร.คุมตัวแขกหัวร้อนฝากขัง หลังขับเก๋งไล่ชนไรเดอร์เสียชีวิต ด้านพ่อเตรียมขอขมาศพเย็นนี้
"นักธุรกิจ" เข้าแจ้งความ หลังถูกหลอกลงทุนสลากกินแบ่งรัฐบาล เสียหาย 50 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น