“1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” ผุดแนวคิด เลิกระบบวัดเรตติ้ง ชี้เอกชนผูกขาดไม่สะท้อนเป็นจริง

"1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล" ผุดแนวคิด เลิกระบบวัดเรตติ้ง ชี้เอกชนผูกขาดไม่สะท้อนเป็นจริง

“1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” Beyond the Next Step ประธานกสชท. เตรียมหารือ สมาคมสื่อฯ ถึงความชัดเจนทีวีดิจิทัล หลังสิ้นสุดใบอนุญาต2572 ขณะคนทีวีร่วมเสนอเเนวความคิดต่อลมหายใจ “ทีวีดิจิทัล” ยกเลิกวัดเรตติ้งช่อง เพราะไม่สะท้อนความเป็นจริง

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 67 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ร่วมกับ สมาคมทีวีดิจิทัลและทีวีสาธารณะทุกช่อง จัดงาน “1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล Beyond the Next Step” เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และมองทิศทางอนาคตต่อไป ก่อนและหลังใบอนุญาตทีวีดิจิทัลภาคเอกชนจะสิ้นสุดลง โดยมีบุคคลในแวดวงวงการโทรทัศน์และผลิตคอนเทนต์ระดับโลกเข้าร่วมงาน กว่า 20 คน อาทิ นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ,นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.เดอะ วัน เอ็นเตอร์โพรส์ ,นายเดียว วรตั้งตระกูล เลขาธิการสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และนายชยธร ธนวรเจต รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด สถานีโทรทัศน์ TOPNEWS JKN

1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล

 

 

โดยศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวว่า ทีวีดิจิทัล ออกอากาศในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ตลอดการถือครองใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ผู้ประกอบการต้องเจอปัญหา ซึ่งเมื่อถึงปี 2572 ที่จะสิ้นสุดใบอนุญาต ไม่แน่ใจว่าเทคโนโลยีอะไรจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ต้องประเมินกันอีกครั้ง ส่วนการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 จะต้องมีความชัดเจนว่าดำเนินการอย่างไร ต้องอยู่ที่รัฐบาล โดยหลักการทุกอย่างในภาพใหญ่ กสทช. จะทำงานร่วมกันกับสมาคม โทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวได้ถามกรณีปัจจุบันมีการใช้เรตติ้ง โดยที่สถานีโทรทัศน์ต่างๆจะต้องจ่ายเงินค่าเรตติ้งให้บริษัทเอกชนมาชี้วัดความนิยมของสถานีโทรทัศน์ หลายฝ่ายได้เสนอให้กสทช.เป็นผู้ทำการประเมินชี้วัดเอง หรือ จะช่วยสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อลดรายจ่ายให้สถานีต่างๆ ประธาน กสทช. ระบุว่า การใช้เรตติ้งเป็นตัวชี้วัดรายการต่างๆ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับรายการนั้นๆ ส่วนการใช้บริษัทเอกชนในการวัดระดับความนิยมของรายการต่างๆ เป็นการดำเนินการในรูปแบบเดียวกับร้านอาหารที่ใช้มิชลินเป็นตัวชี้วัด ส่วนกรณีหน่วยงานรัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละช่องที่ทำธุรกรรมกับรัฐ ต้องใช้เรทติ้งในการส่งงาน จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่สกทช.จะเข้าไปดูแลนั้น ตนเห็นว่าจะต้องมีการประเมิน แต่หากไม่ใช้บริษัท ก็จะต้องใช้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือจะหลากหลายมากขึ้นก็ได้ ตนจะต้องกลับไปดูว่ากฏหมายได้กำหนดให้มีบริษัทจัดเรตติ้งเพียงบริษัทเดียวหรือไม่

 

ด้านนายสุภาพ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ประธานกสทช. ได้มาให้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของทีวีดิจิทัล หากไม่มีการประมูลใบอนุญาตต่อ หลังสิ้นสุดใบอนุญาต2572 ซึ่งสิ่งแรก คือ ต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพราะถ้าไม่มีการประมูลเท่ากับผิดกฎหมาย แต่ถ้าแก้กฎหมายไม่ได้ก็ต้องประมูลแบบเดิม สมาคมฯจึงได้หารือร่วมกันว่าถ้าไม่มีการประมูลใบอนุญาต จะต้องดำเนินการจ่ายเงินอย่างไร เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับได้ ส่วนกรณีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเรตติ้ง แม้ว่ากสทช.จะสนับสนุนช่วยเหลือมาบางส่วน แต่ก็มองว่ายังเป็นภาระของทางสถานีโทรทัศน์

ด้านนายถกลเกียรติ ได้ให้ความคิดเห็นในเรื่องของการจ่ายเงินค่าเรตติ้งว่า แม้ปัจจุบันการจ่ายค่าเรตติ้งจะไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อภาระค่าใช้จ่ายมากนัก เนื่องจากทุกช่องจะต้องใช้ผลเรตติ้งของรายการ แต่ทั้งนี้จะต้องนำเรตติ้งในช่องทางอื่นๆมาประกอบด้วย ไม่ใช่เพียงแต่การนำเสนอผ่านช่องทางทีวีเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์ไม่ได้มองแต่เรตติ้งทางทีวีเท่านั้น แต่ยังมีทางช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางอื่นๆมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวและเข้าถึงผู้ชมมากขึ้น แต่หาก กสทช.เข้ามาช่วยเหลือและซัพพอร์ตก็ถือเป็นเรื่องที่ดีกับผู้ประกอบการ

 

 

ขณะที่นายชยธร ได้เสนอแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต่อเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมา กสทช.ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องของการฝึกอบรม และการนำเงินกองทุนสื่อมาสนับสนุนในเรื่องต่างๆ แต่ในเรื่องบางเรื่องที่เป็นต้นทุนที่จำเป็นกับสถานีทุกช่อง กสทช.ก็ควรที่จะเข้าช่วยเหลือ โดยการจัดงบประมาณเพื่อต่อลมหายใจให้กับสถานีดิจิทัล เช่นเดียวกับทีวีสาธารณะนอกจากนี้ยังเห็นว่า รัฐบาลควรแก้ระเบียบว่าด้วยการใช้เรตติ้งในการเข้าไปเสนอแผนประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภาครัฐ โดยไม่บังคับให้ผู้ประกอบการต้องแนบเรตติ้งเพื่อเสนองาน อีกทั้งปัจจุบันมีบริษัทจัดอันดับเรตติ้งเพียงบริษัทเดียว เหตุใด กสทช.จึงไม่เป็นเจ้าภาพซื้อเรตติ้งเพื่อให้ทุกช่องใช้เรตติ้งนี้ได้ โดยไม่ต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย จะถือเป็นทางออกที่ดีกับทุกฝ่าย ขณะที่ระยะยาวอาจจะยกเลิกการใช้เรตติ้งเพื่อวัดความนิยมในเชิงการตลาดของประชาชน ส่วนกรณีที่ประธาน กสทช.จะทบทวนหรือเพิ่มบริษัทจัดทำอันดับเรตติ้งนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แข่งขันด้านคุณภาพ ราคาและบริการ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น