ชำแหละ “กทม.” ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ชำแหละ "กทม." ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ชำแหละ “กทม.” ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ถือเป็นความเดือดร้อนของคนกรุงฯ อย่างที่ไม่ควรเกิดขึ้น กับการว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 หลังจาก ศาลปกครองสูงสุด มีพิพากษาให้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วมกันชำระเงินสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (ส่วนต่อขยายสายสีลม -สะพานตากสิน-บางหว้า และสายสุขุมวิท อ่อนนุช-แบริ่ง) จำนวน 2,348.65 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย

และค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) จำนวน 9,406.41 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

แต่ปรากฎว่าจนถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯขณะนี้ และ บริษัทกรุงเทพธนาคม หรือ KT กลับไม่ความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เพื่อให้การจ่ายหนี้เป็นตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

ทั้ง ๆ ที่ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ระบุชัดเจนว่า จะพยายามทำให้กระบวนการชำระหนี้ดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เป็นภาระด้านงบประมาณต่อกรุงเทพมหานครในระยะยาว อันเนื่องมาจากอัตราภาษี ที่เกิดขึ้นจากการค้างชำระหนี้สิน ในแต่ละวัน

“ผมได้รับทราบข่าวจากสื่อว่า เบื้องต้นทาง กทม. พร้อมจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในคดีนี้จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท แต่ก็อยากให้ กทม. และ KT คำนึงถึงยอดหนี้ในส่วนที่เหลือด้วย เนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน นับถึงปัจจุบันมียอดหนี้รวมทั้งหมดเกือบ 4 หมื่นล้านบาท

BTSC ยินดีและพร้อมที่จะเจรจากับ กทม. และ KT ในการหาทางออกร่วมกัน หากข้อเสนอมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้บริการสาธารณะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ซึ่งตามคำสั่งศาลจะต้องดำเนินการภายใน 180 วัน ทั้งนี้ หนี้ที่ได้รับมาบริษัทจะนำไปลงทุนพัฒนาในธุรกิจของบริษัทต่อไป”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า ภาระดอกเบี้ยที่ กรุงเทพมหานคร และ KT ต้องรับผิดชอบตามคำพิพากษา เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ตามประกาศของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาท บวกร้อยละ 0.85 ต่อปี

โดยรายละเอียดในคำพิพากษา ได้ระบุ เฉพาะยอดหนี้ก่อนแรก สำหรับค่าจ้าง และ ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 มีจำนวน 2,348,659,232 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน จำนวน 2,199,091,830 บาท และ หนี้ ค่าจ้าง และ ซ่อมบำรุง รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน จำนวน 8,786,765,195 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,755,077,951 บาท

ทำให้เห็นชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะเป็นภาระผูกพันในระยะยาว ถ้ากรุงเทพมหานคร และ KT ยังเลี่ยงดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากปัจจุบันมูลหนี้ที่เกิดกับ BTSC แยกเป็น 3 ก้อน รวมมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และถ้าคิดเฉพาะค่าดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดชอบ จะมีจำนวนเงินสูงถึง วันละ 8 ล้านบาท หรือ 240 ล้านบาทต่อเดือน

ส่วนมูลหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง มีจำนวนกว่า 39,402 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. การฟ้องครั้งที่ 1 ค่าจ้างช่วงเดือน พ.ค.62-พ.ค.64 คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 ก.ค.67 ให้ กทม. และ KT ร่วมกันจ่ายหนี้ให้ BTSC กว่า 11,755 ล้านบาท

2.ฟ้องครั้งที่ 2 ค่าจ้างช่วงเดือน มิ.ย.64-ต.ค.65 ยอดหนี้ที่ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 พ.ย.65 ให้ กทม. และ KT จ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 เป็นเงินกว่า 11,811 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

3.หนี้ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยาย 1 และ 2 ที่ค้างชำระ ตั้งแต่เดือน พ.ย.65-มิ.ย.67 กว่า 13,513 ล้านบาท เป็นส่วนที่ยังไม่ได้ฟ้อง

4.ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบัน (เดือนมิ.ย.67 จนถึงสิ้นสุดสัมปทานปี 85 หาก กทม.และ KT ยังไม่จ่ายก็จะเป็นหนี้ในอนาคตต่อไป

ประเด็นพิจารณาเพิ่มเติม สำหรับภาระงบประมาณ ที่กทม.กำลังจะสร้างปัญหาต่อไป ก็คือความพยายามจากผู้บริหารกทม. ในการทำให้การชำระหนี้ดังกล่าวยืดเยื้อ โดยการกล่าวอ้างว่า ต้องรอข้อมูลจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2566 แจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพวกรวม 13 คน

กรณีว่าจ้าง BTS เพื่อเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ถึงปี 2585 โดยหลีกเลี่ยง และไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542

 

แต่เมื่อ Top News ตรวจสอบข้อเท็จจริง ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามของผู้บริหารกทม.ที่จะยื้อการชำระหนี้จำนวนดังกล่าวออกไป เนื่องจากในคำพิพากษาศาลปกครอง ระบุชัดเจนใน 2 ประเด็น สำคัญ คือ

1.สัญญาว่าจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ไม่เป็นโมฆะ และ ไม่เข้าข่ายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการ ที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 แต่อย่างใด

 

โดยคำพิพากษา บางช่วงตอน ระบุว่า “การจ้างดังกล่าว มิได้เป็นการให้ผู้ฟ้องคดี (BTSC) ซึ่งเป็นเอกชน เข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐในลักษณะที่เป็นการร่วมลงทุนกับเอกชน ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใดในกิจการของรัฐ ที่จะเข้าลักษณะตามนิยามคำว่า “ร่วมงานหรือดำเนินการ” ที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

หรือที่จะเข้าลักษณะตามนิยมคำว่า “ร่วมลงทุน” ที่กำหนดไว้ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการจัดจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งเก็บเงินค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตามแต่ละกรณี”

อีกทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กรุงเทพธนาคมฯ) จ้างผู้ฟ้องคดี (BTSC) เป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งเก็บเงินค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จึงเข้าข่ายลักษณะที่จะดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ 21 (1) ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ได้

ดังนั้น สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส. 006/55 ลงวันที่ 3 พ.ค.2555 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตามสัญญาเลขที่ กร.ส. 024/59 ลงวันที่ 1 ส.ค.2559 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย จึงมีข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในสัญญา

เมื่อผู้ฟ้องคดี (BTSC) ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาครบถ้วนถูกต้อง และส่งมอบงานจ้างต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กทม.) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กรุงเทพธนาคมฯ) จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าจ้างการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตามที่กำหนดในสัญญา พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี

 

2.ข้ออ้าง กทม. ว่า สัญญาดังกล่าว มีข้อพิพาทว่าด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของป.ป.ช. ศาลวินิจฉัยว่า ไม่มีผลต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้า

โดยคำพิพากษาบางช่วง ระบุว่า กรณี KT กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิคัดค้านองค์คณะไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 09-3-052/2560 ลงวันที่ 10 ม.ค.2566 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กรณีกล่าวหาว่า หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 13 คน

กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขยายอายุสัญญาสัมปทานหรือทำสัญญาเพิ่มเติมให้กับผู้ฟ้องคดี (BTSC) ให้ประกอบกิจการระบบชนส่งมวลขนกรุงเทพมหานครต่อไปอีก 13 ปี ทั้งที่ยังเหลืออายุตามสัญญาเดิมอีก 17 ปี อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดี

เห็นว่า กรณีดังกล่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่มีการชี้มูลความผิด จึงไม่มีผลต่อสัญญาพิพาทในคดีนี้ แต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่อาจรับฟังได้

 

 

ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าว อัยการสูงสุด (อสส.) ได้ตั้งข้อไม่สมบูรณ์สำนวนคดี กทม. ว่าจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหารวมทั้งสิ้น 12 ราย และ ส่งสำนวนการไต่สวนมาให้พิจารณาฟ้องร้องดำเนินคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย

ปรากฎว่า อสส.ได้ส่งเรื่องกลับคืนให้ ป.ป.ช. เพื่อตั้งคณะทำงานร่วมฝ่ายอัยการ และ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวนคดีดังกล่าว หรือ เท่ากับว่าคำร้อง หรือ ข้อกล่าวหา ดังกล่าว ยังไม่มีผลใด ๆ ทางคดี ที่ผู้บริหารกทม. และ KT จะนำมากล่าวอ้าง เพื่อยื้อชำะหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้เลย ในทางกลับกัน การหลีกเลี่ยงเพื่อชำระหนี้ให้กับ BTSC จะยิ่งเพิ่มภาระด้านงบประมาณให้กับ กทม. ที่ต้องพึ่งพาเงินภาษีประชาชน มาใช้จ่ายมากขึ้นทุกวัน จากจำนวนค่าดอกเบี้ยวันละ 8 ล้านบาท ซึ่งคนกรุงเทพฯต้องร่วมรับรู้ในวิธีทำงานของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ ผู้บริหารกทม. ว่า กำลังสร้างภาระ ตลอดจนผลกระทบกับเงินภาษีประชาชน ที่ควรนำมาพัฒนา กทม. อย่างไร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น