จับโป๊ะ “คุณหมอพรรคส้ม” ข้อมูลมั่ว ใส่ร้ายโรงงานผลิตยาทหาร-เภสัชกร

“สส.พรรคส้ม” อดีตคุณหมอ เจอชาวเน็ตจับโป๊ะอภิปรายโรงงานผลิตยาทหาร มั่วข้อมูลยา ซัดเอาข้อมูลกูเกิลมาพูด แถมด้อยค่าเภสัชกรโรงงานเภสัชกรรมทหาร เจ้าตัวโร่แจง ยอมรับข้อมูลคลาดเคลื่อน

จับโป๊ะ! “คุณหมอพรรคส้ม” ข้อมูลมั่ว ใส่ร้ายโรงงานผลิตยาทหาร-เภสัชกร – Top News รายงาน

พรรคส้ม

 

กลายเป็นเรื่องขึ้นมาเลย หลังจากเมื่อวานนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 68 วาระ 2 และ 3 วันแรก

พบว่าได้มีประเด็นดราม่าตามมมา จากการอภิปรายของ นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน และเป็นอดีตแพทย์ ที่ได้อภิปรายมาตรา 8 กระทรวงสาธารณสุข ตั้งข้อสังเกตการผลิตยาของโรงงานเภสัชกรรมทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผลิตยาอันตราย 2 ตัวคือ 1.อัลปราโซแลม หรือยาเสียตัว ใช้รักษาโรควิตกกังวล ชนิดออกฤทธิ์สั้น ทำให้ผู้ทานหลับเร็ว จำเหตุการณ์ 1-2 ชั่วโมงระหว่างกินยาไม่ได้ เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพนำไปก่อเหตุได้ เหตุใดโรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาตัวนี้ 2.ซู โด อี เฟด รีน เป็นส่วนผสมยาแก้แพ้ ระยะหลังยาชนิดนี้ ไม่มีขายตามตลาดแล้ว เพราะเป็นสารตั้งต้นผลิตยาบ้า ยาไอซ์ ทั่วโลกเลิกผลิตแล้ว ยังเหลือผลิตที่โรงงานเภสัชกรรมทหารที่เดียวในประเทศ พร้อมตั้งข้อสังเกตความไม่โปร่งใสในการผลิตยาที่โรงงานนี้

นางสาวกัลยพัชร อภิปรายว่าอีกว่า ล่าสุดงบรายจ่ายปี 68 ของบประมาณเตรียมก่อสร้างโรงงานผลิตยาแห่งใหม่ของกองทัพ ที่ จ.ราชบุรี วงเงิน 938 ล้านบาท พื้นที่ใหญ่ขึ้นเท่าตัว ทั้งที่โรงงานเก่าก็ยังผลิตอยู่ ทำให้มีกำลังผลิตมากขึ้น 3.3 เท่าตัว จากผลิตยา 180 ล้านเม็ดต่อปี เป็น 600 ล้านเม็ดต่อปี โรงงานเดิมผลิตยา ได้กำไรปีละ 3-5 ล้านบาทต่อปี แต่โรงงานใหม่จะได้กำไร 50 ล้านบาทต่อปี คำนวณจากอะไร หรือมียาออเดอร์ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นขอตัดงบประมาณสร้างโรงงานใหม่นี้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่นางสาวกัลยพัชร นำมาอภิปรายในครั้งนี้ ได้ถูกนำไปเป็นประเด็นในโลกออนไลน์อย่างมาก เพราะชาวเน็ตงตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลของนางสาวกัลยพัชรถูกต้องหรือไม่

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ “ดั๊บ” ได้ทวีตข้อความตอบโต้ข้อมูลของนางสาวกัลยพัชรว่า

-ยา ซู โด อี ฟีดรีน เป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูกที่มีประสิทธิภาพดี ประเทศอื่นมีใช้แพร่หลาย

-ยา ฟีนิล เอฟรีน ต่างหาก ที่ประสิทธิภาพไม่ได้ดี อเมริกาเพิ่งจะถอนทะเบียนไป เพราะไม่ได้ผล

-ยา ซูโด อี ฟีดรีน แต่ก่อนก็เป็นยาอันตรายธรรมดา จนมีเคสยักยอกออกไปจากโรงพยาบาลหลักล้านเม็ด กลายเป็นวัตถุออกฤทธิ์ 2 เอกชนขายไม่คุ้ม ยกเลิกนำเข้า เหลือแค่โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตเจ้าเดียวในไทย

ขอเถอะ ถ้าจะฟาดเขา ก็ไปหาข้อมูลมาดีๆ เอาคนที่รู้จริงมาพูด อันนี้เหมือนค้นกูเกิลมาพูด ขณะที่ชาวเน็ตยังให้ข้อมูลตอบโต้อีกจำนวนมาก อาทิ

-ข้อมูลพังพินาศมากจริงๆ ก็เห็นด้วยที่อาจจะควรควบรวมกับองค์การเภสัชกรรม หรือ GPO เพื่อความเป็นมาตรฐานการจัดการ แต่นอกนั้นคือข้อมูลมั่ว บ้ง สุดๆ

-อันนี้ไม่ได้จริงๆครับ โอเคพิรุธเรื่องการผลิตยา ธุรกิจกองทัพ อันนี้เรื่องนึง แต่บอกว่าโลกเลิกใช้ ยา ซูโด อี เฟดรีน แล้ว อันนี้ผิดเต็มๆ

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ บางคนตำหนินางสาวกัลยพัชรว่า เรื่องความโปร่งใสไรก็ว่าไป แต่อย่ามา บูลลี่ เภสัชกรผลิตในโรงงานเภสัชกรรมทหาร ว่าไม่มีความเชี่ยวชาญ

ไม่ทันข้ามวัน นางสาวกัลยพัชร ก็ได้ทวีตข้อความแก้ตัวพัลวัน ว่า จากกรณีที่ดิฉันอภิปรายเรื่องงบประมาณโรงงานเภสัชกรรมทหาร และมีหลายท่านท้วงติงเกี่ยวกับข้อมูลของยา อัลปราโซแลม และยา ซูโด อี เฟดรีน ขอชี้แจงดังนี้

ขออภัยอย่างยิ่งสำหรับข้อความบางประเด็นที่คลาดเคลื่อน และสร้างความไม่สบายใจให้กับทุกคน โดยขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้

ประเด็นหลักที่ดิฉันต้องการสื่อสาร คือการพิจารณาถ่ายโอนธุรกิจ หรือกิจการของกองทัพ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจความมั่นคง ให้ไปอยู่กับหน่วยงานด้านสาธารณสุข ความมั่นคงทางยา ควรอยู่ในมือขององค์กรที่มีภารกิจโดยตรง ในที่นี้คือ อย. และองค์การเภสัชกรรม

สำหรับยาที่ผลิตน้อย บริษัทเอกชนผลิตไม่คุ้มค่า แต่ยังจำเป็นต้องใช้ในการทหาร ก็สามารถใช้จ้างผลิตได้ กองทัพไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงานผลิตเอง ซึ่งจะเป็นภาระงบประมาณของประเทศ โดยไม่จำเป็น

ดิฉันไม่ได้มีความตั้งใจที่จะด้อยค่าองค์ความรู้ของเภสัชกรในสังกัดกลาโหม ตามที่หลายท่านตั้งข้อสังเกต หากแต่ต้องการตั้งคำถาม ถึงระบบและการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะงบประมาณภายใต้กระทรวงกลาโหม ในสัดส่วนนี้ ซึ่งอาจซ้ำซ้อนกับงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข จึงชวนตั้งคำถามว่า การที่กองทัพมีโรงงานผลิตยาเป็นของตนเองนั้น คือภารกิจที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็สามารถถกเถียงแลกเปลี่ยนกันต่อได้ค่ะ

กรณีที่โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาอัลปราโซแลม และยาซูโด อี เฟดรีน ดิฉันขอชี้แจงว่า ยาทั้งสองรายการ เป็นยาที่ให้ประโยชน์สูงในการรักษา แต่ถูกกำหนดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 โดยยา ยาอัลปราโซแลม หรือที่ อย. เรียกว่ายาเสียตัว เป็นยาที่แพทย์จะจ่ายให้กับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ส่วนยา ซูโด อี เฟดรีน เป็นยาที่ใช้แก้อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล แต่มีโครงสร้างของยาใกล้เคียงกับยาเสพติด จึงมีเกณฑ์ควบคุมที่เข้มงวด ปัจจุบันห้ามวางจำหน่ายในร้านขายยา และจ่ายได้เฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาล ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น

สำหรับข้อความที่ดิฉันขึ้นในสไลด์การอภิปรายว่า “ทั่วโลกเลิกผลิต ซูโด อี เฟดรีนแล้ว” เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อน ข้อเท็จจริงคือ “แทบทุกประเทศที่ห่วงความปลอดภัยของประชาชน มีการควบคุมยา ซูโด อี เฟดรีน อย่างเข้มข้น” และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศหนึ่ง ที่จำกัดการครอบครอง

คุณผู้ชมฟังแล้วคิดเห็นกันยังไงบ้างคะ ก็เหมือนว่าท่าน สส.จะยอมรับว่ามีข้อมูลบางอย่างคลาดเคลื่อนจริง แต่ก็ยังพยายามจะอธิบายคนฟังเข้าใจไปผิดประเด็นหรือไม่ ยังไงก็ฝากทำการบ้านให้ดีก่อนจะไปอภิปรายในสภา เพราะว่าประชาชนที่เค้าไม่รู้ข้อมูลลึกๆ อาจจะเข้าใจผิดได้

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส
เครื่องบินรบสหรัฐยิงถล่มเป้าหมายฮูติกลางกรุงซาน่า
เผยคลิปขณะรถพุ่งชนผู้คนที่ตลาดคริสต์มาสเยอรมนี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น