สทนช.เฝ้าระวังพายุ “ยางิ” รับมือฝนตกหนัก เพิ่มขึ้นสัปดาห์นี้

สทนช.เฝ้าระวังพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ที่อาจจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนามในช่วง 6 – 7 ก.ย. นี้ ซึ่งแม้จะไม่ได้เข้าสู่ไทยโดยตรง แต่อาจส่งผลให้มีฝนตกมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยได้เตรียมพร้อมรับมือแล้ว พร้อมเตรียมประชุมร่วมกับจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในวันพรุ่งนี้ เพื่อรองรับสถานการณ์ดูแลประชาชนหากต้องเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเป็น 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที

สทนช.เฝ้าระวังพายุ “ยางิ” รับมือฝนตกหนัก เพิ่มขึ้นสัปดาห์นี้

 

 

 

วันนี้ (4 ก.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การประปานครหลวง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักการระบายน้ำ เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม ณ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

โดยเลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า สถานการณ์ในเดือนนี้ พบว่าหลายพื้นที่มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ

 


โดยขณะนี้ได้เฝ้าระวังพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวมาจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. ประเมินทิศทางของพายุ

ข่าวที่น่าสนใจ

ว่าจะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และคาดว่าจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 6–7 ก.ย. นี้ ซึ่งได้มีการติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้กรณีพายุไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย

แต่อาจมีอิทธิพลที่จะส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในวันนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนกลางของประเทศ

จึงคาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้านี้ จะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณ จ.ตราดและจันทบุรี และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝนไว้แล้ว รวมถึงจะมีการใช้พื้นที่หน่วงน้ำ เช่น ทุ่งบางระกำ บึงบอระเพ็ด เพื่อใช้ในการหน่วงปริมาณน้ำก่อนจะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำในอัตราประมาณ 1,500 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่จากปริมาณฝนซึ่งคาดว่าจะตกหนักในระยะนี้ อาจจะทำให้ในช่วงวันที่ 9 – 10 ก.ย. 67 ต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราประมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำ
พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ของ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี

 

“เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ สทนช. จะมีการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำและทุกจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงน้ำหลาก ณ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ย. 67) อีกทั้งหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องได้ให้คำแนะนำประชาชน รวมถึงจะพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงและเตรียมถุงยังชีพ เพื่อเป็นการดูแลและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานเชิงรุกตามนโยบายของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

สำหรับการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานคร ได้มีการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ ระบบสูบน้ำ และเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำ ซึ่งในส่วนของการขุดลอกคลอง ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 98%” เลขาธิการ สทนช.กล่าว

สำหรับพื้นที่ประสบอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวม 18 จังหวัด ปัจจุบันกลับสู่ภาวะปกติแล้ว 11 จังหวัด ยังเหลือ ประสบภัยอีก 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา หนองคาย และนครพนม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งบริหารจัดการน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันสถานการณน้ำในลุ่มน้ำยมเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และในหลายพื้นที่ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว ยกเว้นบริเวณสถานีวัดน้ำ Y.64 อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งยังมีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 83 ซม. แต่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 – 2 สัปดาห์

 

 

ในส่วนของลุ่มน้ำน่าน ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากมวลน้ำได้ไหลเข้าสู่เขื่อนสิริกิติ์ และระดับน้ำในแม่น้ำน่านมีทิศทางลดลง สำหรับสถานการณ์แม่น้ำโขง ขณะนี้ระดับน้ำยังค่อนข้างสูงทำให้การระบายน้ำของลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเป็นไปได้ช้า สทนช. จึงได้ประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามและบริหารจัดการน้ำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงและสามารถระบายน้ำออกจากแม่น้ำสาขาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคาดว่าสถานการณ์จะเป็นไปในทิศทางดีขึ้นตามลำดับ

 

ทั้งนี้สทนช.ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจากฝนตกสะสม ในช่วง 3 วันนี้ ซึ่งอาจจะมีปริมาณฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตร ได้แก่ ภาคตะวันออก ในพื้นที่ อ.เมืองตราด อ.บ่อไร่ จ.ตราด อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และภาคใต้ ในพื้นที่ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร อ.เมืองระนอง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี จ.พังงา ซึ่ง สทนช. ได้ประสานไปยังหน่วยงานในพื้นที่เพื่อเตรียมพร้อมรับมือแล้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี
"ทักษิณ" เล่นใหญ่ กลับเชียงใหม่ นำ "พิชัย" ชิงนายกอบจ. เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยได้ 10 สส.
แตกตื่นทั้งวอร์ด! หามผู้ป่วยพม่าติดโรคห่า 1 ราย ข้ามแดน ส่ง รพ.แม่สอด
ซีพีเอฟ ประมงเพชรบุรี และเรือนจำกลางเพชรบุรี นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำน้ำปลาจากปลาหมอคางดำ ตรา “หับเผย เขากลิ้ง”
หน่อยยลดา มั่นใจ 4 ปี ผลงานเข้าถึงใจ พี่น้องประชาชน ย้ำอีก4 ปี ผลงานที่ค้างจะเดินหน้าก้าว ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
DSI ส่งสำนวนฟ้องคดี "ดิไอคอน" 3.4 แสนแผ่น ยึดทรัพย์สินได้ 747 ล้าน จ่อเอาผิดกลุ่มแม่ข่ายเพิ่ม
‘ทักษิณ’ ถึงเชียงใหม่ กินก๋วยเตี๋ยวร้านดัง เตรียมพร้อมขึ้นปราศรัยช่วยผู้สมัครนายกอบจ. เพื่อไทย เย็นนี้
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขนสินค้าดีมีคุณภาพจากสหกรณ์มาจำหน่ายสู่ผู้บริโภค พบกันในงาน “Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์เทเวศร์ จำกัด”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น