“กองทัพเรือ” ประกอบพิธีนำเรือ ต.94 และ ต.95 จัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล

"กองทัพเรือ" ประกอบพิธีนำเรือ ต.94 และ ต.95 จัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล

กองทัพเรือ” ประกอบพิธีนำเรือ ต.94 และ ต.95 จัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล

วันที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 08.30 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ประธานกรรมการอำนวยการโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นประธานประกอบพิธีนำเรือ ต.94 และเรือ ต.95 ไปจัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล บริเวณทิศตะวันออกของเกาะจวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พร้อมด้วย คณะกรรมการอำนวยการโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผู้แทนหน่วยงานสนองพระดำริ ตลอดจนกำลังพลกองทัพเรือ หน่วยงานสนองพระดำริ ประชาชน นักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่กว่า 300 คน ร่วมในพิธีดังกล่าว

 

กองทัพเรือ ประกอบพิธีนำเรือ ต.94 และ ต.95

 

สำหรับพิธีนำเรือ ต.94 และเรือ ต.95 ไปจัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล ประกอบด้วย พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน และพิธีเปิด โครงการอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล การจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานสนองพระดำริ นิทรรศการประวัติเรือ ต.94 และเรือ ต.95 ณ สโมสรสัญญาบัตร กองเรือยุทธการ และพิธีจัดวางเรือ ต.94 และเรือ ต.95 บริเวณเกาะจวง ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบหมายให้ พล.ร.ท.สุรศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็นประธานในพิธี ประกอบด้วยพิธีกล่าวอำลา พิธีวางพวงมาลา การเป่าแตรนอน การให้สัญญาณชักหวูดนำเรือลงใต้ทะเล การเปิดแพรคลุมป้ายโครงการ ฯ บริเวณชายหาดเกาะจวง และการปล่อยน้ำเข้าเรือเพื่อนำเรือลงสู่ใต้ทะเล ณ เรือหลวงกระบุรี

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โครงการอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล ภายใต้โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีแด่พระบรมวงศานุวงศ์ และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยนำเรือ ต.94 และเรือ ต.95 ไปจัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลชายฝั่ง เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่อนุบาลหรือยึดเกาะของตัวอ่อนปะการัง รวมทั้งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลในพื้นที่จังหวัดชลบุรีแห่งใหม่ เป็นการขยายกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แออัด อันจะทำให้ปะการัง ได้มีเวลาพักฟื้นและเจริญเติบโตของปะการังต่อไป

 

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีเจตนารมณ์ ที่จะอนุรักษ์แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย และทรงห่วงใยปัญหาความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล จึงโปรดให้มีการจัดตั้งมูลนิธิและโครงการ “อนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ได้รับการอนุรักษ์รวมทั้งได้รับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และสัตว์ทะเลไม่ถูกทำลาย ทั้งยังเป็นการกระตุ้นและปลูกจิตสำนึก ให้ประชาชนได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล นำไปสู่ความสมดุลทางธรรมชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบไป

 

 

กองทัพเรือได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จึงได้จัดทำโครงการนำเรือ ต.94 และเรือ ต.95 ไปจัดวางเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล ณ บริเวณทิศตะวันออกของเกาะจวง ภายใต้โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสนองพระดำริที่ทรงมีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย โดยทรงห่วงใยปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล การทำร้ายสัตว์ทะเลด้วยน้ำมือมนุษย์โดยตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นแหล่งฝึกศึกษาให้กับนักเรียนฝึกดำน้ำ เป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลแห่งใหม่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นการลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวดำน้ำในแนวปะการังตามธรรมชาติ และเปิดโอกาสในการพักฟื้นตัวของแหล่งท่องเที่ยวแนวปะการังธรรมชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีต่อไป

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.94 และ ต.95 เป็นเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ซึ่งประกอบด้วยเรือ ต.91, เรือ ต.92, เรือ ต.93, เรือ ต.94, เรือ ต.95, เรือ ต.96, เรือ ต.97, เรือ ต.98 และเรือ ต.99 รวมทั้งสิ้น 9 ลำ สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 – 2530 นับเป็นเรือตรวจการณ์สมัยใหม่ชุดแรก ที่กองทัพเรือไทยสร้างเองในประเทศ ตามพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพเรือไทยเป็นล้นพ้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระราชดำริว่า กองทัพเรือเราควรต่อเรือประเภทนี้ไว้ใช้เองบ้าง ทั้งนี้ด้วยเรือยนต์รักษาฝั่งมีบทบาทสำคัญ เช่น ในการปราบปราม และป้องกันการลักลอบลำเลียงอาวุธ และกำลังคนของฝ่ายก่อการร้ายเข้ามาในน่านน้ำอาณาเขตของประเทศเราในระหว่างการต่อเรือ ต.91 กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์โดยทรงให้สถาบันวิจัยและทดสอบ แบบเรือของต่างประเทศช่วยทดสอบแบบเรือลำนี้ทางเทคนิคต่าง ๆ ให้ และได้พระราชทานคำแนะนำจนถึงทรงร่วมทดลองเรือในทะเลด้วยพระองค์เองกองทัพเรือยังคงสานต่อพระราชปณิธานอย่างต่อเนื่องสืบมา ในการปรับปรุงแบบเรือและสร้างเพิ่มเติม เช่น เรือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98,ต.99, ต.991, ต.994 ซึ่งทำให้กองทัพเรือสามารถสร้างเรือรบเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างรั้วทางทะเลให้เข้มแข็งทั้งยังทำให้องค์บุคคลของกองทัพเรือได้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และก้าวไปสู่การต่อเรือขนาดใหญ่ต่อไป

สำหรับ เรือ ต.94 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และปลดประจำการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 และเรือ ต.95 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2525 และปลดประจำการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยเรือทั้ง 2 ลำ สังกัดหมวดเรือที่ 2 กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้การชลบุรี บูรณาการทุกภาคส่วน เข้มมาตรการ ดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในช่วงวันคริสต์มาสและเทศกาลเคาท์ดาวน์ 2567
พนักงานเซเว่น น้ำใจงามช่วยสาวลาว ขับเก๋งเสยแบริเออร์ล้อชี้ฟ้า เจ็บติดคารถ
เทศกาลส่งมอบความสุขวันคริสต์มาส
"ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน" ยันไม่มีเหตุความไม่สงบฝั่งตรงข้ามชายแดน
ตร.วางแผนรวบ 2 ผู้ต้องหา ยึดของกลางยาบ้าล็อตใหญ่ แอบซุกกล่องพัสดุส่งจากเชียงราย
“รศ.ดุลยภาค” สำรวจชายแดน พบหลักฐานทหารว้าล้ำเขตแผ่นดินไทย
รมว.ต่างประเทศ ยันรัฐบาลช่วย 4 ลูกเรือประมงเต็มที่
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน พิสูจน์-สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา
“ทักษิณ” เปิดตัว “ยลดา” ส่งสู้ศึกลงนายอบจ.โคราช บอกสนามนี้ไม่มีอะไรหนักใจ
ยาย "เจ้าของรองเท้ามือสอง" แจ้งเอาผิดคนโพสต์ แจกฟรี จนชาวบ้านแห่ขนกลับ ทำเสียหาย 8 หมื่นบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น