รฟท.แจงยิบปมดราม่า ขนาดความกว้างล้อรถไฟญี่ปุ่นบริจาค นำมาวิ่งบนรางไทยไม่ได้!

รฟท. แจงยิบ ปมดราม่าขนาดความกว้างล้อรถไฟญี่ปุ่นบริจาคนำมาวิ่งบนรางประเทศไทยไม่ได้ ยันแค่ปรับฐานล้อ ออกมาใช้งานได้ทันที ทำได้ 2-3 คันต่อวัน

เพจเฟสบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โพสต์ชี้แจงข้อเท็จจริงปมดรามามีสื่อบางสำนักโจมตีว่า รถดีเซลราง จำนวน17 คัน  ที่ บริษัท JR Hokkaido ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทยนั้น ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะมีขนาดความกว้างของล้อไม่เท่ากันนั้น โดยเพจทีมพีอาร์ รฟท.ระบุว่า ฝ่ายการช่างกล การรถไฟขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ ขนาดความกว้างของราง รฟท. มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน

สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

เพจทีมพีอาร์ รฟท. ระบุอีกว่า ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ก่อนจะปรับปรุงนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม รถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้นการซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น