มาเป็นระลอก กลุ่ม-คณะบุคคล อ้างผลสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กรณีชั้น 14 บี้กกต. ถอดถอนนายกฯ

มาเป็นระลอก กลุ่ม-คณะบุคคล อ้างผลสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กรณีชั้น 14 บี้กกต. ถอดถอนนายกฯ

มาเป็นระลอก กลุ่ม-คณะบุคคล อ้างผลสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กรณีชั้น 14 บี้กกต. ถอดถอนนายกฯ

 

ชั้น 14

ข่าวที่น่าสนใจ

 

สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2567 มีกลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า คณะนิติชน-เชิดชูธรรม ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สิ้นสุดลงหรือไม่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น โดยผลการตรวจสอบชี้ว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลตำรวจ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม การที่นายทวี สอดส่อง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 อาจส่งผลให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีซึ่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี นายทวี สอดส่อง อาจขาดคุณสมบัติทั้งในเรื่องการเป็นผู้มีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ และในเรื่องการมีพฤติกรรมที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5)

กลุ่มนี้ได้อ้างผลการตรวจสอบของ กสม.กรณีชั้น 14 เป็นข้อยุติว่ามีการ
กระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และยังเห็นว่ามีการกระทำผิดอาญาของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคล อันอาจเป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 3 เรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 27 บัญญัติว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องใด ๆ จะกระทำมิได้ และทำให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหมวด 1 บททั่วไป อันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ โดยมาตรา 3 บัญญัติว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม โดยการกระทำที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 3 ซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้การกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5

คณะนิติชน-เชิดชูธรรม คือกลุ่มบุคคลที่เคยยื่นเรื่องต่อ กกต.มาแล้ว 3 เรื่อง ในนามบุคคล  ได้แก่

1.กรณียุบพรรคเพื่อไทย  เช่นเดียวกับที่ กกต. เคยยื่นเรื่องให้ยุบพรรคก้าวไกล โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร ใช้ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ครอบงำ คณะกรรมการบริหารพรรค เอื้อประโยชน์ตนเอง

2. ขอให้นายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อออกคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ

และ 3. ขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นผู้ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และอาจมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำร้องที่ 2

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : สำนักข่าวอิศรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ชี้เจรจา MOU 44 ถามคนไทยหรือยัง เอาพลังงานหรืออธิปไตย
สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น