“นักวิชาการ” แนะถอดบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ “เชียงราย” เตรียมพร้อมรับมวลน้ำจากแม่โขง

"นักวิชาการ" แนะถอดบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ "เชียงราย" เตรียมพร้อมรับมวลน้ำจากแม่โขง

Top news รายงาน จากกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ได้ประกาศแจ้ง 45 จังหวัดทางภาคเหนือ , อีสาน , กลาง และใต้ ให้เตรียมการเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง และระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นช่วง 13-18 ก.ย. ภายหลังจากที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (182/2567) แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาจากทางประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลให้ในพื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

 

วันนี้ ( 14 ก.ย.) ทีมข่าว Top news ได้รับการเปิดเผยจาก ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงสถานการณ์ร่องมรสุมที่กำลังพาดผ่านภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลกระทบต่อ 45 จังหวัดอย่างไรบ้าง โดย ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เผยว่า การที่ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง เกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านจากประเทศเวียดนามลงมายังภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก ทำให้พื้นที่เหล่านี้ มีความกดอากาศต่ำ ทำให้ฝนตกชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้น พื้นที่อื่นก็ได้รับผลกระทบด้วย จึงทำให้มีฝนตกเกือบทุกพื้นที่ในหลายๆวันตามที่แจ้ง

โดยต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะพื้นที่เปราะบาง ก็คือแถวลาดเชิงเขา แถวใกล้ลำน้ำไหลผ่านซึ่งมีโอกาสที่ระดับน้ำจะเยอะขึ้น ถึงแม้ฝนจะตกลงมาไม่เยอะแต่ก็ส่งให้เกิดผลตามมาได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยถึงสถานการณ์ ปริมาณน้ำที่กำลังจะตามมาในช่วงร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย ว่า มวลน้ำทั้งหลายมีที่มาจากเชียงราย แม่สาย หรือไม่จากทางเหนือแน่นอน เพราะมีฝนตกทางเหนือเติมปริมาณน้ำให้มากขึ้นด้วย เหนือคือหมายความว่า น้ำจาก จีน ลาว จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น หนักสุดที่หนองคาย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังท่วมอยู่ ส่วนที่ยังไม่ท่วมก็ต้องเตรียมขนย้ายทรัพย์สนหนีน้ำ ขณะฝนที่ตกลงมา จะซ้ำเติมและทำให้ระบบน้ำทำงานไม่ได้ ซึ่งก็ต้องใช้เครื่องสูบน้ำลงแม่น้ำโขง เพื่อเลี้ยงน้ำไม่ให้เข้าท่วมในพื้นที่ชุมชนสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านจะรับได้ แม้ว่าจะสูบไม่ทัน แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะคันกั้นน้ำก็ทำไม่ทัน ต้องปล่อยให้น้ำไหลไปตามเส้นทางน้ำ

 

 

เพราะฉะนั้น หลังจากนี้ต้องรอดูทางกรมอุตุวิทยา จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการทำระบบแจ้งเตือนภัย และระบบบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นเหมือนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่ระบบล้มเหลว ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน มูลค่าความเสียหายนับไม่ได้ ส่วนน้ำจะไหลเข้าสู่ภาคกลางหรือไม่ ยังต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์น้ำเสียก่อนจึงจะตอบได้

หากเปรียบเทียบสถานการณ์ตอนนี้กับน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 มีโอกาสน้อยกว่า 10% ที่จะเกิดเหตุซ้ำรอย และสร้างความเสียหายนับพันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเชียงรายและน่าน ก็ยังนับว่า สูญเสียเพียงแค่ 1% ของสถานการณืมหาอุทกภัยปี 54 เท่านั้น สำหรับผู้เชี่ยวชาญความเสี่ยงภัยแล้ว ถือเป็นการสูญเสียที่เยอะมาก แต่หากฝนตกลงมาและมีปริมาณน้ำมากกว่า 70% ณ ตอนนี้ น้ำก็อาจจะกลับมาท่วมเหมือนปี 54 ก็เป็นได้ แต่มีโอกาสน้อย ซึ่งทางหน่วยงานไม่สามารถคาดเดากับสภาพอากาศได้ล่วงหน้าขนาดนั้น ต้องเฝ้าสังเกตการณ์และประเมินวันต่อวัน

 

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องหาวิธีรับมือ หรือป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดภัยจนไปถึงหลังเกิดภัย เช่น ระบบเตือนภัย การประเมินภาพน้ำท่วม การบริหารจัดการน้ำ การเตรียมกำลังพลและเครื่องมือ ศูนย์อพยพ เสบียง และค่อยมาจัดการระบบหลังเกิดภัย ทุกอย่างต้องมีแบบแผน เพราะ เหตุการณ์น้ำท่วมแม่สาย จังหวัดเชียงราย ก็เกิดจากการบริหารที่ล้มเหลว ไม่มีแบบแผน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน หน่วยอาสากู้ภัย กลับไปช่วยเหลือเร็วกว่าหน่วยงานรัฐเสียอีก เพราะพวกเขารู้ว่า ระบบหน่วยงานรัฐล้มเหลว

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ชาวโพนพิสัย" หนองคาย เดือดร้อนหนัก หลังระดับน้ำเพิ่มสูงต่อเนื่อง ทะลักท่วมกว่า 300 ครัวเรือน
กรมอุตุฯ เตือน "พายุลูกใหม่" ขึ้นฝั่งเวียดนาม 19 ก.ย.นี้ กระทบอีสาน-เหนือฝนตกหนัก
"สายฝนจากพ่อ" คลายความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำ อุปโภค-บริโภค
"อดีตสว.สมชาย" จี้รัฐบาล ยึด "สิงคโปร์ โมเดล" แก้ปมแรงงานต่างด้าว เด็ดขาด
“สิงคโปร์” เข้มจริง ต่างด้าวห้ามท้อง ห้ามตั้งธุรกิจ ทำผิดกม.เจอคุก-จับเฆี่ยน
"มูลนิธิกระจกเงา" เปิดรับสมัครจิตอาสา ช่วยจัดสิ่งของ ก่อนส่งมอบพี่น้องเชียงราย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม
ไม่ปล่อยลอยนวล "สืบนครบาล" ตามรวบโจรลักสายไฟ ประวัติก่อคดีโชกโชน
คนรุ่นใหม่คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน ตัวแทนเยาวชนไทยพร้อมสู่เวทีระดับโลก One Young World 2024
ศาลสั่งจำคุก "อดีตนอภ.ท่าสองยาง" 1,269 ปี หลังพบหลักฐานแน่น ทุจริตน้ำท่วม
"นายกฯ" ถก "ผู้ว่าฯ ททท." เร่งเสนอแผนกระตุ้นท่องเที่ยวปี 68 ใน 2 สัปดาห์นี้ พร้อมหนุนรื้อโครงการเราเที่ยวด้วยกัน-คนละครึ่ง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น