“นักวิชาการ” ค้านแก้รธน.หมวดจริยธรรม ชี้เป็นมโนสำนึก คนปกติทั่วไปชั่งน้ำหนักได้ 

“คมสัน โพธิ์คง” ไม่เห็นด้วยแก้รัฐธรรมนูญกลุ่มประเด็นว่าด้วยจริยธรรมทั้งระบบ ชี้เป็นเรื่องมโนสำนึกที่คนปกติทั่วไปชั่งน้ำหนักได้ ย้ำ รธน.ปี 60 ต้องการให้มาตรฐานจริยธรรมเข้าไปอยู่ในจิตใจของนักการเมือง แต่ไม่เคยเกิดขึ้น จึงต้องมีมาตรการที่จะลงโทษทางจริยธรรม

“นักวิชาการ” ค้านแก้รธน.หมวดจริยธรรม ชี้เป็นมโนสำนึก คนปกติทั่วไปชั่งน้ำหนักได้ – Top News รายงาน

นักวิชาการ

 

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567  นายคมสัน โพธิ์คง นักวิชาการกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล จะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา กลุ่มประเด็นว่าด้วยจริยธรรมทั้งระบบ ว่า ตนเห็นว่าไม่ควรแก้ เพราะมาตรฐานจริยธรรมเป็นเรื่องมโนสำนึก ซึ่งความจริงไม่ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญ ถ้าคนมีมโนสำนึกก็จะเข้าใจว่า เรื่องจริยธรรมเป็นมาตรฐานการประพฤติปฏิบัติของคนทั่วไปที่มีสำนึกที่ดี เพียงแต่ว่ารัฐธรรมนูญเขียนระบุถ้าคนที่มีมโนสำนึกไม่ดี เอาความประพฤติปฏิบัติที่ไม่ใช่สิ่งที่ดีมาใช้ในขณะที่มีตำแหน่งหรือมีอำนาจ ก็ต้องถูกควบคุม เพียงแต่ว่าเรื่องมาตรฐานจริยธรรม บางเรื่อง มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ ก็ต้องเขียนให้ชัดเจน แต่หลายเรื่องเป็นเรื่องความเข้าใจแต่ดั้งเดิม ที่นักการเมืองที่ดีควรประพฤติปฏิบัติ ในความเห็นตนมาตรฐานที่นักการเมืองที่ดีควรปฏิบัติ มีอยู่ 10 กว่าข้อที่ควรต้องทำ อาทิ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนและพวกพ้อง ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่โกหก รักษาคำพูด สุภาพอ่อมน้อม กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ รับผิดชอบ นักการเมืองต้องเป็นคนที่ประกอบสัมมาชีพ ขยัน ไม่ทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ประกอบอาชีพที่สังคมไม่ยอมรับ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่นักการเมืองจะต้องมี

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ผมไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นจริยธรรม จะแก้ด้วยเหตุใด ที่ผ่านมากรณีน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีตสส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ หรือน.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีตสส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ มันเป็นเรื่องความประพฤติที่เขาบอกว่าเกิดขึ้นก่อนดำรงตำแหน่ง ซึ่งจริง ๆ ถ้ามองแบบกฎหมายอาญา จะไม่บังคับใช้ย้อนหลัง แต่ข้อเท็จจริงรัฐธรรมนูญ ปี 60 เขียนเรื่องลักษณะต้องห้าม ซึ่งคนไม่เข้าใจเรื่องลักษณะต้องห้าม หรือคุณสมบัติเท่าไหร่ เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม เป็นเรื่องติดตัวคนมาตั้งแต่ก่อนรับตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งหมายความว่าในระหว่างการคัดเลือกถ้าคนมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามจะไปเลือกคนเหล่านี้ไม่ได้ เพราะถือว่าเขาต้องห้าม มีความขัดแย้งกับการดำรงตำแหน่ง หรือการมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น แต่ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นคือการขาดคุณสมบัติในระหว่างการดำรงตำแหน่งโดยหลักการเป้าสำคัญมันคือความขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งการใช้อำนาจหน้าที่นั้น โดยหลักการกฎหมายจึงบอกว่าให้คุณพ้นจากตำแหน่งไปเนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม” นายคมสัน กล่าว

นายคมสัน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 60 เขียนในสไตล์แบบนี้ ไม่ได้เขียนในเชิงกำหนดโทษ เพราะฉะนั้น กรณีของน.ส.พรรณิการ์ หรือน.ส.ปารีณา ศาลไม่ได้ชี้โดยตรงว่าย้อนหลังไปการกระทำผิดที่เกิดขึ้นแล้ว และเอามาลงโทษย้อนหลัง แต่ศาลมองว่าสิ่งที่ทำเป็นความประพฤติที่ติดตัวคุณมา จนถึงวันรับตำแหน่งหรือมีหน้าที่ แล้วคุณไม่แก้ไขให้เรื่องเหล่านั้นหายไป และยังคงทำอยู่ อย่างกรณีช่อ พรรณิการ์ ที่มีพฤติกรรมดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เมื่อเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ควรจะลบภาพนั้น แต่ก็ไม่ทำ การกระทำเกิดขึ้นและดำรงอยู่ตลอดเวลาจนถึงตอนรับตำแหน่ง เรื่องของน.ส.ปารีณา ก็อ้างว่ารับมรดกที่ดินจากพ่อ ซึ่งเป็นที่ป่า ข้อเท็จจริงคุณรับที่ป่า แม้จะบอกว่าพร้อมจะคืนเมื่อศาลตัดสิน แต่ก็ยังถือครองอยู่ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง และเรื่องอยู่ในกระบวนการของศาล และก็ไม่ได้แก้ไขให้เรื่องพ้นจากตัวคุณ ตอนศาลตัดสิน ศาลมองว่าขณะที่ดำรงตำแหน่งยังมีเรื่องนั้นอยู่หรือไม่ การถือครองที่ดินที่เป็นที่ของรัฐ ซึ่งผิดกฎหมาย เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของคุณสมบัติต้องห้าม ที่ยังคงอยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่ง ตนมองว่าเรื่องที่กล่าวอ้างเป็นวาทกรรมเป็นการลงโทษย้อนหลัง มันไม่ใช่ ข้อเท็จจริงมันยังมีพฤติกรรมนั้นอยู่ในขณะที่ดำรงตำแหน่งในหน้าที่นั้น

นายคมสัน กล่าวว่า ในข้อเท็จจริงทุกคนรู้ว่าเรื่องไหนควรไม่ควรทำอยู่แล้ว ถ้ามีมโนสำนึกที่ดี คนปกติหรือชาวบ้านทั่วไปสามารถชั่งน้ำหนักได้ แต่ปัญหาของบ้านเรา นักการเมืองไม่ค่อยนำพาเรื่องเหล่านี้ รัฐธรรมนูญ ปี 50 ,ปี 60 พยายามทำให้มาตรฐานจริยธรรมเข้าไปอยู่ในจิตใจ ในมโนสำนึกที่ดีของนักการเมือง แต่ข้อเท็จจริงมันไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จึงต้องมีมาตรการที่จะลงโทษทางจริยธรรมเกิดขึ้น ถ้ามีพัฒนาการไประยะหนึ่ง ผมก็มองว่านักการเมืองจะระวังมากขึ้น จะรู้ว่าเรื่องใดควรทำ ไม่ควรทำ จะต้องอาศัยพัฒนาการให้ชัดขึ้น บ้านเรามีปัญหาเรื่องอ่อนมาตรฐานจริยธรรมอย่างรุนแรง ไม่ว่าระดับใด และนักการเมืองเห็นได้ชัดมากที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น