“กสร.สมุทรปราการ” จ่อสอบ “หัวหน้างาน” ชี้แจงปมสั่ง “พนักงานป่วย” ทำงานจนเสียชีวิต

"กรมสวัสดิการฯ" จ่อเรียกสอบ นายจ้าง-หัวหน้างาน ชี้แจงปมสั่ง "พนักงานสาว" ให้ทำงานทั้งที่มีอาการป่วยจนเสียชีวิต

“กสร.สมุทรปราการ” จ่อสอบ “หัวหน้างาน” ชี้แจงปมสั่ง “พนักงานป่วย” ทำงานจนเสียชีวิต – Top News รายงาน

จากกรณี นางสุกัญญา แพนสมบัติ อายุ 30 ปี พนักงานของบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ (บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด มหาชน) ทำงานจนเสียชีวิตหลัง “หัวหน้า” ไม่ให้ลางานรอบที่ 2 ทั้งๆ ที่ยังมีอาการป่วย ต่อมาญาติได้ติดต่อขอรับศพ นางสุกัญญา ที่โรงพยาบาลเมืองสมุทร จ.สมุทรปราการ เพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนา โดยเดินทางไปถึง วัดวาลุการาม อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. วานนี้ (16 ก.ย.67) โดยวันนี้ (17 ก.ย.67) จะมีพิธีระน้ำศพ และจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมในช่วงค่ำ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด (17 ก.ย.67) นายพัฒนชาต​ ชุมทอง​ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวท็อปนิวส์ ว่า วันนี้ (17 ก.ย.67) ได้ส่งทีมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จ.สมุทรปราการ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่บริษัทดังกล่าว โดยในส่วนของตนได้ทำการตรวจสอบข้เท็จจริงเรื่องนายจ้างมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือไม่ ส่วนประกันสังคม จะเข้าไปดูแลในเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน

โดยวันนี้ไปพบกับหัวหน้างานทั้งที่เป็นผู้แทนบริษัทซับคอนแทรค ที่เป็นนายจ้างโดยตรง ซึ่งส่ง นางสุกัญญา เข้าไปทำงานที่บริษัทดังกล่าว โดยวันนี้ไม่ได้พบกับหัววหน้าที่ขอใบรับรองแพทย์ขจาก นางสุกัญญา เพราะทำงานคนละกะ และจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ได้ข้อเท็จจริงมาส่วนหนึ่ง จากนั้นได้ทำการนัดนายจ้าง เพื่อนผู้เสียชีวิต หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าให้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนในวันที่ 25 ก.ย.นี้ ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ

กสร.สมุทรปราการ

นายพัฒนชาต กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการลาป่วยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กฎหมายรับรองให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน แต่ถ้าหากลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจร้องขอใบรับรองแพทย์ได้ แต่ถ้าลาป่วยเพียง 1 วัน ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธเรื่องการขอใบแพทย์ ซึ่งลูกจ้างไม่มีความผิด

ส่วนหัวหน้างานถ้ามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับตามขั้นตอนต่างๆ เจ้าของบริษัท หรือนายจ้าง มีสิทธิที่จะลงโทษหัวหน้างานคนดังกล่าวตามระเบียบของบริษัทได้ ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่มีอำนาจที่จะไปลงโทษหัวหน้างาน หากพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎระเบียบของบริษัทแต่อย่างใด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ศิริกัญญา" จี้ถามความชัดเจน ปมแจกเงินหมื่น "จุลพันธุ์" แจงสาเหตุต้องเลื่อน ย้ำตั้งเป้าเสร็จปลายปี
"ภูมิธรรม" เตรียมนัดพรรคร่วมรัฐบาล จ่อถกแก้รธน.ปมจริยธรรม
"ตร.ไซเบอร์" บุกรวบ "ดาวทวิตฯ" นัดชายถ่ายคลิปโป๊ โพสต์โซเชียล ขายแอคล็อก รายได้กว่า 2 แสนบาท
ทรัมป์ใช้บิทคอยน์ ซื้อเบอร์เกอร์เลี้ยงแฟนคลับ
สหรัฐหั่นดอกเบี้ย 0.50% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ซาอุฯหนุนรัฐปาเลสไตน์ UN ลงมติอิสราเอลคืนดินแดนภายใน 1 ปี
ยูเครนหยุดรัสเซียบุกคูสค์ เซเลนสกีลั่นแผนชัยชนะเสร็จสมบูรณ์
"วันนอร์" ไม่ทราบปม "บิ๊กป้อม" ส่งใบลา ชี้ต้องตรวจสอบ ยันเปิดเผยประวัติขาด-ลาประชุม สส.ได้
“อัษฏางค์” เฉ่งยับ “แก้วตา” ร้องสวัสดิการให้แรงงานเมียนมา ยังอ่อนหัดไม่เข้าใจลึกซึ้ง
การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามสัญญาว่าจ้าง นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 20 พร้อมชู 6 วิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนการรถไฟฯ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของภูมิภาค

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น