เปิด 2 มุมมอง ผู้เชี่ยวชาญการเมือง เคลียร์ชัด แก้รธน.ปมจริยธรรม ใครได้ ใครเสีย

เปิด 2 มุมมอง ผู้เชี่ยวชาญการเมือง เคลียร์ชัด แก้รธน.ปมจริยธรรม ใครได้ ใครเสีย

เปิด 2 มุมมอง ผู้เชี่ยวชาญการเมือง เคลียร์ชัด แก้รธน.ปมจริยธรรม ใครได้ ใครเสีย

 

 

จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) มอบหมายเจ้าหน้าที่ของพรรคยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตรา แก่เจ้าหน้าที่ส่วนงานสารบรรณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคประชาชน (ปชน.) ก็ได้มีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแล้วเช่นกัน ที่ประชุมสส.พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตราเพื่อเสนอต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา โดยแบ่งเป็น 6 ประเด็น ได้แก่

1.แก้ไขมาตรา 98 (7) ว่าด้วยการกำหนดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. ซึ่งห้ามบุคคลที่ต้องโทษจำคุกโดยพ้นโทษไม่ถึง 10 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดที่ทำโดยประมาทหรือลหุโทษ ให้รวมถึงความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย

2. แก้ไขมาตรา 160 ว่าด้วยคุณสมบัติของรัฐมนตรี ใน 3 ประเด็น คือ (4) ว่าด้วยมีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ โดยแก้ไขให้เป็น “ไม่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ประจักษ์ว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต” โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขบังคับใช้

(5) ไม่มีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยแก้ไขให้ชัดเจนว่า ต้องเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในศาลฎีกา

และ (7) ว่าด้วยไม่ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอลงโทษ เว้นแต่ทำผิดโดยประมาท ความผิดลหุโทษหรือ ความผิดฐานหมิ่นประมาท แก้ไขให้นำกรณีดังกล่าวเป็นเหตุความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 แทน

3.แก้ไขกลุ่มมาตราที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมที่กำหนดเป็นคุณสมบัติของรัฐมนตรี คือ มาตรา 201 มาตรา202 มาตรา 222 มาตรา 228 มาตรา 232 มาตรา 238 และ มาตรา246

4.แก้ไข มาตรา 211 ว่าด้วยมติของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคดีต่างๆ ที่กำหนดให้ถือเสียงข้างมาก แก้ไขโดยกำหนดเงื่อนไข กรณีเป็นคำวินิจฉัยให้สมาชิกภาพ สส.-สว. สิ้นสุดลง หรือความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว และการวินิจฉัยว่ามีการฝ่าฝืนตามมาตรา 144 ให้ใช้เสียง 2 ใน 3 ของตุลาการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และแก้ไขเรื่องคำวินิจฉัยที่ผูกพันกับทุกองค์กรนั้นให้เฉพาะคำวินิจฉัยที่เป็นประเด็นหลักโดยตรงของเรื่องที่วินิจฉัยเท่านั้นที่จะผูกพัน

5.แก้ไข 235 ว่าด้วยอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีของสส. ซึ่งต้องส่งให้ศาลฎีกาในประเด็นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ที่กำหนดให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีกำหนดเวลา และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งอีกไม่เกิน 10 ปี โดยแก้ไขระยะเวลา การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 5 แต่ไม่มีการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง

6.แก้ไข มาตรา 255 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรรมนูญ ซึ่งเติมความเป็นวรรคสอง ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับฉบับใหม่สามารถทำได้

และแก้ไขมาตรา 256 (8) กำหนดรายละเอียดของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ต้องผ่านการออกเสียงประชามติ คือ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด1 บททั่วไป หมวด2 พระมหากษัตริย์ และการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ซึ่งได้ตัดเงื่อนไข ในประเด็นการแก้ไขเกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือ เรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรืออำนาจนั้นได้ออก

 

จนนำมาสู่คำถามที่สังคมสงสัยว่า การยื่นแก้ปมจริยธรรมนั้น ดีต่อใคร ใครได้ประโยชน์ และใครเป็นฝ่ายเสียประโยชน์

 

 

 

 

ล่าสุดวันนี้ (20 ก.ย.) ทางด้าน รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนายอมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 60 ได้มาพูดคุย ถึงเรื่องนี้ ผ่านทาง รายการ TOP TALK “เรื่องนี้ต้องเคลียร์” ทางช่อง Top News ดำเนินรายการ โดยวรเทพ สุวัฒนพิมพ์

ข่าวที่น่าสนใจ

 

โดยทางด้านทางด้านรศ.ดร.ยุทธพร มองว่า เห็นด้วย ที่พรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมใจกันแก้รธน. เพราะมองว่า ถูกทำมาใช้กลั่นแกล้งทางการเมืองได้ นักร้องก็ไปร้องฝ่ายที่ตัวเองไม่ชอบ ทำการเมืองเสียเสถียรภาพ ต้องเลือกตั้งกันใหม่ วุ่นวายไม่จบ เหมือนกรณีของนายเศรษฐา ต้องหลุดเก้าอี้ไป เพราะคุณพิชิต อันนี้ย่อมเข้าใจได้ แต่ทางหากมามองเวลาปัจจุบัน จะมีการร้องตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองในครม.ใหม่อีก ก็อยากจะบอกว่า คนเหล่านั้น ก็อยู่มาก่อนหน้ารัฐบาลเศรษฐาอีก ทำไมเขาว่าวิญญูชนมันเพิ่งจะมี เห็นด้วยว่าควรแก้ไข ให้มันมีทิศทางที่ดีขึ้น

ขณะที่ทางด้านนายอมร มองว่า การแก้ รธน.ปมจริยธรรม ประชาชนเสียประโยชน์แน่นอน เรามีโอกาสได้นักการเมืองไม่ดีเข้ามาทำงาน และมองว่าการแก้เรื่องนี้ทำได้ยากมาก ๆ แน่นอน เพราะจริยธรรมของนักการเมือง ทั้งละเอียด ลงลึก และถูกตั้งไว้สูงมาก ต้องทำตามอย่างดี คนที่มีคดี ก็ย่อมกลัวว่าจะถูกตรวจสอบ แต่หากไม่ได้ทำอะไรผิด ก็ไม่ต้องกลัว

 

ชมคลิป รายการ TOP TALK “เรื่องนี้ต้องเคลียร์” ทางช่อง Top News (คลิกที่นี่)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น