ประชุม “บอร์ดไตรภาคี” เคาะค่าจ้าง 400 บาท รอบ 2 ล่ม อีก

ประชุม “บอร์ดไตรภาคี” รอบ 2 ล่ม อีกรอบ เหตุองค์ประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 รอบนี้บอร์ดฝ่ายรัฐโดดประชุม ทำให้ลงมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทไม่ได้ นัดใหม่ 24 ก.ย.นี้ “ปลัดแรงงาน” ลั่น ต้องเอาให้จบก่อนเกษียณ

ประชุม “บอร์ดไตรภาคี” เคาะค่าจ้าง 400 บาท รอบ 2 ล่ม อีก

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

20 กันยายน 2567 ที่กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดค่าจ้าง ชุดที่ 22 ซึ่งมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ได้นัดประชุมบอร์ดค่าจ้าง ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน รวม 15 คน เพื่อพิจารณาเรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท หลังถูกเลื่อนมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากตัวแทนฝ่ายนายจ้างไม่ได้เข้าร่วมประชุม

 

อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลา 13.30 น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มการประชุม ปรากฏว่ากรรมการฝ่ายราชการไม่เข้าร่วมประชุม 4 ราย มีเพียงนายไพโรจน์เข้าประชุมเพียงรายเดียว ส่วนที่เหลือ ราย ได้แก่ นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งลาการประชุม ,นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ลาการประชุมเมื่อช่วงเวลา 10 นาฬิกา เนื่องจากติดภารกิจด่วน ,นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ติดภารกิจต่างจังหวัดไม่สามารถมาทันการประชุม และนางสาววรวรรณ พลิคามิน ผู้แทนจากสภาพัฒน์ แจ้งติดภารกิจ

ขณะที่กรรมการฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วม 3 ราย ไม่เข้าร่วม 2 ราย โดยที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายวีรสุข แก้วบุญปัน นายสมชาย มูฮัมหมัด และนายกัมปนาท ศรีพนมวรรณ ส่วนที่ไม่มาประชุมได้แก่ นายอ่อนศรี โมฆรัตน์ และ นายไพโรจน์ วิจิตร โดยแจ้งต่อเลขาการประชุมว่า ป่วยและติดภารกิจ ด้านกรรมการฝ่ายนายจ้าง มาร่วมประชุมครบทั้ง 5 คน

 

หลังจากที่คณะกรรมการค่าจ้างได้เข้าประชุม ฝ่ายเลขาการประชุมแจ้งว่า ผู้เข้าประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 จึงไม่สามารถลงมติได้ เพราะต้องมีองค์ประชุม 10 คน แต่วันนี้มี 9 คน นายอถรรยุทธ ลียะวณิช กรรมการฝ่ายนายจ้าง จึงได้เสนอให้หารือในเรื่องอื่นๆไปก่อน เพื่อรอว่าอาจจะมีคณะกรรมการท่านอื่นกำลังเดินทางมา จนระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ไม่มีคณะกรรมการมาเพิ่ม ที่ประชุมจึงได้เลื่อนการประชุมไปในช่วงเช้าของวันที่ 24 กันยายนนี้

 

 

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ไม่เรียกว่าล่ม แต่ไม่ครบองค์ประชุม วันนี้จึงเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลสภาพการจ้างงานของลูกจ้างให้ที่ประชุมได้ทราบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่มีการจ้างลูกจ้างที่จ่ายค่าจ้าง 400 บาทจำนวนเท่าไหร่ มีผลกระทบแรงงานไทยอย่างไร และกระทบด้านใดบ้าง หากดูข้อมูลจากประกันสังคม หากปรับขึ้นค่าแรงในธุรกิจที่มี 200 คนขึ้นไป จะมีแรงงานต่างด้าวได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรง 400 บาทประมาณ 1,000,000 คน และแรงงานไทย เกือบ 4,000,000 คน ซึ่งวันนี้ไม่สามารถลงมติได้ ที่ประชุมมีมติให้ประชุมใหม่อีกครั้งในช่วงเช้าของวันที่ 24 กันยายน 2567 กรณีหากองค์ประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 ก็จะมีการเลื่อนประชุมออกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ

 

 

 

นายไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ได้สอบถามถึงสาเหตุของการไม่เข้าร่วมประชุมของฝ่ายภาครัฐและลูกจ้างจากฝ่ายเลขาฯ แล้ว แจ้งว่าฝ่ายลูกจ้างที่ขาดไป 2 คนแจ้งว่าติดภารกิจและป่วย ส่วนฝ่ายภาครัฐ 4 คน แจ้งว่า ติดภารกิจด่วน คาดว่า อยู่ในช่วงปิดงบประมาณรายจ่ายฯ จึงมีภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมได้ ซึ่งบางรายมีการแจ้งลาด่วนเมื่อช่วงเช้าวันนี้ นอกจากนี้ยืนยันว่า สาเหตุที่ตัวแทนฝ่ายภาครัฐและลูกจ้างไม่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ไม่ได้มีนัยยะทางการเมือง แต่หากวันที่ 24 กันยายนนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม และมีมติ 2 ใน 3 ก็จะนำผลเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ แต่หากไม่ทันวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ก็จะเลื่อนออกไป จนกว่าองค์ประชุมจะครบและจะมีมติออกมาจากไตรภาคี

 

นายไพโรจน์ กล่าวย้ำว่า ขอให้คณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่เข้าร่วมประชุม เพราะการส่งตัวแทนทำให้ไม่สามารถลงมติได้ และไม่สามารถเดินหน้าปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ยืนยันว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยากให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่ตนเองจะเกษียณ ซึ่งยังเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 6 วันเท่านั้น

 

 

ด้านนางเนาวรัตน์ คณะกรรมการฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การประชุมในวันนี้องค์ประชุมไม่ครบ จึงไม่ได้มีเรื่องพิจารณาอะไร แต่ทางฝ่ายเลขาฯ จะทำการนัดประชุมครั้งต่อไป ซึ่งทางฝ่ายนายจ้างเองก็ได้แจ้งแล้วว่า วันไหนที่แต่ละคนสะดวก พร้อมยืนยันว่าที่ประชุมวันนี้ไม่ได้มีข้อถกเถียงอะไรกัน วันนี้ทุกฝ่ายยังสมานสามัคคีกันดี ดังนั้นไม่ได้มีนัยยะสำคัญอะไร และวันนี้ก็ไม่ได้คุยเรื่องอะไรกันเป็นพิเศษ ส่วนการนัดประชุมครั้งต่อไปคาดว่าน่าจะเป็นเดือนนี้ และเรื่องนี้น่าจะจบภายในอายุราชการเกษียณของท่านปลัดฯคนนี้

 

ทั้งนี้หากย้อนไปก่อนการประชุม นายชัยยันต์ เจริญโชคทวี คณะกรรมการนายจ้างฝ่ายนายจ้าง ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ทุกอย่างเราทำตามระบบตามตามระเบียบ ตามสูตรที่มีการตกลงกันไว้ทั้งหมดเราเคารพกติกาทั้งหมด และยินดี ขอให้ดำเนินการในสิ่งที่ควรจะเป็น ส่วนที่มีความกังวลว่าการประชุมครั้งนี้จะถูกแทรกแซงการเมืองหรือไม่นั้น ตนไม่มีความกังวล เรามีความชัดเจนมาตลอด แม้กระทั่งที่ผ่านมาที่หาว่าหนีการประชุม ก็ไม่เป็นความจริง จึงขอให้ทุกคนเข้าใจ เพราะวันนี้ฝ่ายนายจ้างกลายเป็นจำเลยของสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เจ้าคณะอำเภอสั่งนิมนต์  “พระอาจารย์ชิน” พ้นสำนักสงฆ์ใน 7 วัน หลังปลุกเสก “หมูเด้ง” ลูกศิษย์เศร้าพระอาจารย์เป็นพระสายปฏิบัติ
ผบ.ทร.ชื่นชมนักรบ 356 นาย เสียสละช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่เชียงราย
"ผบ.ทร" ตรวจเยี่ยม หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด ยกระดับกำลังพล-เครื่องมือ ทุกมิติ ย้ำรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่
"เจ้าอาวาสวัดดัง" พิษณุโลก เครียดหนัก เจ้าภาพกฐินเทงาน ซ้ำจ้างลิเกคณะดังมาแสดง กลับไม่จ่ายเงิน
“ชูศักดิ์” เผยเพื่อไทยตั้งวงวาง 3 สถานการณ์เร่งแก้ รธน. ย้ำยังเป็นเรื่องที่อยู่ในเป้าหมาย
"บิ๊กเต่า" เผยกองปราบเร่งสอบปม "ทนายตั้ม" รีดเงินบอสพอล 7.5 ล้าน
Ripley's Believe It or Not! Pattaya เปิดตัวเครื่องเล่นใหม่ตัวที่ 9 THE LOST PYRAMID การผจญภัย ล่าสมบัติในพีระมิดที่สูญหาย
"ทนายเจ๊อ้อย" เผยเหตุสอบปากคำนานเ ชี้ตร.เก็บทุกประเด็น ลั่นไม่มียอมความ
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น