“สุริยะใส” เตือนแก้รธน.ประเด็นจริยธรรม ระวังหักกระแสสังคม ล่อแหลมเสี่ยงเกิดความขัดแย้ง

“สุริยะใส” ชี้ การแก้รธน.ประเด็นจริยธรรม ยุบพรรคต้องใช้เวลาสร้างฉันทามติ เพราะเป็นประเด็นล่อแหลมเสี่ยงเกิดความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ขณะความชอบธรรมยังต่ำอยู่ ย้ำวิกฤตการเมือง 2 ทศวรรษอย่าโยนบาปรธน.ฝ่ายเดียว เพราะนักการเมืองยังทำเพื่อตัวเองและพวกพ้องและคอรัปชั่นอยู่

“สุริยะใส” เตือนแก้รธน.ประเด็นจริยธรรม ระวังหักกระแสสังคม ล่อแหลมเสี่ยงเกิดความขัดแย้ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

22 กันยายน 2567 ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า 

 

ระวังแก้รัฐธรรมนูญ หักกระแสสังคม! ต้องใช้เวลาสร้างฉันทามติ การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ในประเด็นการตีกรอบจริยธรรม ประเด็นอำนาจองค์กรอิสระประเด็นยุบพรรคและประเด็นอื่นๆนั้น แม้เป็นสิทธิของพรรคการเมืองและสส.ที่สามารถดำเนินการได้ก็ตาม แต่หากพิจารณาความชอบธรรมแล้ว ความชอบธรรมยังต่ำอยู่ เพราะอย่าลืมว่าประเด็นที่เสนอแก้ไขกันเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมสูง แม้จะได้ฉันทานุมัติในสภา แต่ถ้าปราศจากฉันทานุมัติจากนอกสภาหรือจากประชาชน ก็รังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกโดยไม่จำเป็น

รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่ถึงเดือนมีปัญหาให้แก้ไขมากมาย ยังไม่มีผลงานเชิงประจักษ์ ควรเร่งสร้าง ความเชื่อมั่นความไว้วางใจจากประชาชนมากกว่านี้ถึงจะพอมีโอกาส พรรคเพื่อไทยควรซึมซับบทเรียนอย่างน้อยสองเหตุการณ์ คือกรณีการขายหุ้นชินคอร์เปอเรชั่นและหลีกหนีการอภิปรายของสภาเมื่อปี 2549 และการออกกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอยเมื่อปี 2556 ก็เป็นบทเรียนของเสียงข้างมากที่ขาดความชอบ

วิกฤติการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาไม่ควรโยนบาปให้รัฐธรรมนูญฝ่ายเดียว เพราะวิกฤติหลักยังเป็นเรื่องของพฤติกรรมบรรดานักการเมืองบางส่วน ที่เล่นการเมืองเพื่อตัวเองเพื่อพวกพ้องและการทุจริตคอร์รัปชันที่ไม่ลดลงเลย

ความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นตัวอย่างชัดเจนที่นักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เข้ามาฉีกทิ้งความหวังของประชาชน จากนั้นมากระแสเกลียดชังนักการเมืองจำพวกนักเลือกตั้งก็สูงขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อปราบโกงและเอาคนดีเข้าสู่อำนาจจึงปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560

ฉะนั้นหากจะตีโต้หรือหักกับกระแสนี้ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดถ้านักการเมืองยังไม่ปรับพฤติกรรม
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรณีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษด้วยกลไกรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก็เป็นปัญหาความผิดที่ก่อขึ้นจากตัวนักการเมืองด้วยส่วนหนึ่ง ยังนึกไม่ออกว่ามีกรณีไหนที่นักการเมืองตกเป็นเหยื่อ เป็นแพะหรือถูกรังแกจากกลไกรัฐธรรมนูญแต่เพียงด้านเดียว

 

แม้จะวางเงื่อนไขว่าจะไม่มีผลย้อนหลังกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ให้หลักประกันกับประชาชนว่าพฤติกรรมนักการเมืองจะปรับปฏิรูปตัวเองมากขึ้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น