รุมต้านรัฐบาล “พท.” แก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ระวังล้มซ้ำรอยอดีต

รุมต้านรัฐบาล "พท." แก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ระวังล้มซ้ำรอยอดีต

TOP News ฝ่ายค้านหรือฝ่ายแค้นรัฐบาลเพื่อไทย “พท.” นอกสภา  รุมค้านหัวชนฝาลุยไฟแก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ในประเด็นการตีกรอบจริยธรรมและริบอำนาจอำนาจองค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง ทั้งหมดถูกมองว่าเพื่อแก้ปัญหาให้นักการเมืองและเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองมากกว่าเป็นประโยชน์เพื่อประเทศชาติ  อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระลอกใหม่ ระหว่างการเมืองในสภากับการเมืองนอกสภา หวั่นซ้ำรอยอดีตดันทุรังกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย เมื่อปี 2556 ต้นเหตุให้ม็อบ “กปปส.” จุดติด ประชาชนเรือนล้านออกมาต่อต้าน ทำให้รัฐบาลล้ม และ ถูกยึดอำนาจในปี 2557

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เนื่องจากมีประเด็นที่สังคมกังขามากมาย อาทิ  เป็นการเปิดทางสะดวกให้กับคนมีมลทินมีปัญหาเรื่องจริยธรรมเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีโดยง่าย , เปิดทางสะดวกให้คนมีประวัติด่างพร้อยเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง  หรือ เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้อีกครั้ง หลังจากถูกตัดสิทธิ์  เนื่องจากขาดคุณสมบัติจากการถูกพิพากษาจำคุกมาแล้ว หรือหวั่นเกรงกันว่าจะมีรายการ สอดไส้ “นิรโทษกรรมสุดซอย” ความผิด มาตรา 112 ซึ่งเป็นชนักปักหลัง “นายใหญ่เพื่อไทย” หรือคดีทุจริตเพื่อให้ นายหญิงคนแดนไกล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีที่หนีคดีอยู่ต่างประเทศได้กลับบ้านโดยไม่ต้องติดคุก  ลบล้างความผิดให้กับตัวเอง

หรือฝ่ายแค้นหรือฝ่ายค้านในและนอกสภาที่เรียงแถวกันออกมา มองว่า การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ  ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และนักการเมือง เพราะการตีกรอบจริยธรรมและริบอำนาจองค์กรอิสระคดียุบพรรค กลายเป็นประเด็นล่อแหลม เพราะหากทำได้สำเร็จ จะเป็นการลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับการเลือกสรรผู้ที่จะได้เป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะหายไป

ขณะที่ข้ออ้างของฝ่ายรัฐบาลเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้คือ เรื่องความซื่อสัตย์และเรื่องจริยธรรม เป็นเรื่องที่ตัดสินยาก ไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจน และการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ควรจะเป็นการตัดสินของคนเพียงไม่กี่คน แต่ควรเป็นการตัดสินของสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภา

ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล มองว่า ก่อนแก้รัฐธรรมนูญต้องสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นก่อน อย่าอาศัยเสียงข้างมากลากไป สิ่งที่ต้องจับตา คือ พรรคร่วมรัฐบาล จะว่าอย่างไร โดยเฉพาะปมยุบพรรค ลดอำนาจขององค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางทำลายพรรคการเมืองได้

 

อาทิ “สรรเพชญ บุญญามณี” 1 ใน 4 สส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่แตกแถวไม่ร่วมสังฆกรรมรัฐบาลเพื่อไทย ออกโรงมาถล่มรัฐบาลเพื่อไทย ประกาศคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญเอาถ้อยคำ “ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” ออกไป  ทั้งนี้ยังข้องใจนโยบายรัฐบาลเดินหน้าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ โดยไม่สนใจปัญหาปากท้อง การันตีรัฐธรรมนูญต้องมีไว้สกัดพวกขี้โกง

ขณะที่ “นันทิวัฒน์ สามารถ” อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เตือนรัฐบาลว่า กำลังทำผิดซ้ำซาก นักการเมืองจะคิดทำอะไร คิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก มีประชาชนและประชาธิปไตยเป็นข้ออ้าง คนพวกนี้ไม่เคยจดจำบทเรียนความผิดพลาด เมื่อปี 2556 จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ต้นเหตุทำให้รัฐบาลล้ม และ ถามรัฐบาลว่ามีมาตราไหนที่ชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ไม่มีเลยสักมาตราที่ชาวบ้านได้ประโยชน์  ตอนหาเสียงอ้างประชาชน แต่เอาเข้าจริง แก้คุณสมบัติรัฐมนตรี เปิดทางให้คนสีเทาๆ เข้ามา  ไม่ต้องซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ไม่เอาจริยธรรม  ถามจริงๆ คนขี้โกงควรเป็นรัฐมนตรีไหม / มีหลักประกันอะไรว่า คนเคยโกงจะไม่โกงอีก ใครต้านก็ไม่สน จับมือฝ่ายค้านยื่นหมูยื่นแมว แก้รัฐธรรมนูญแลกนิรโทษกรรม 112 ความผิดซ้ำซาก จะสะดุดตีนล้มอีกหรือไม่?

ขณะที่ “สุริยะใส กตะศิลา” กูรูการเมืองให้ความเห็นว่า วิกฤติการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาไม่ควรโยนบาปให้รัฐธรรมนูญเป็นเพียงฝ่ายเดียว  เพราะวิกฤติหลักยังเป็นเรื่องของพฤติกรรมบรรดานักการเมืองบางส่วน  ที่เล่นการเมืองเพื่อตัวเองเพื่อพวกพ้องและการทุจริตคอร์รัปชันที่ไม่ลดลงเลย  ความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นตัวอย่างชัดเจนที่นักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เข้ามาฉีกทิ้งความหวังของประชาชน  จากนั้นมากระแสเกลียดชังนักการเมืองจำพวกนักเลือกตั้งก็สูงขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อปราบโกงและเอาคนดีเข้าสู่อำนาจจึงปรากฏในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ 2560  ฉะนั้นหากจะตีโต้หรือหักกับกระแสนี้ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดถ้านักการเมืองยังไม่ปรับพฤติกรรม  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรณีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษด้วยกลไกรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก็เป็นปัญหาความผิดที่ก่อขึ้นจากตัวนักการเมืองด้วยส่วนหนึ่ง  ยังนึกไม่ออกว่ามีกรณีไหนที่นักการเมืองตกเป็นเหยื่อ  เป็นแพะหรือถูกรังแกจากกลไกรัฐธรรมนูญแต่เพียงด้านเดียว  แม้วางเงื่อนไขว่าจะไม่มีผลย้อนหลังกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้ให้หลักประกันกับประชาชนว่าพฤติกรรมนักการเมืองจะปรับปฏิรูปตัวเองมากขึ้น

ขณะที่เช็กท่าทีพรรคร่วมรัฐบาล ยังสงวนท่าที เหมือนรอหยั่งกระแสสังคมและรอเช็กทิศทางลม ทั้ง “พรรคภูมิใจไทย” “พรรครวมไทยสร้างชาติ หรือ “พรรคชาติไทยพัฒนา” จะเล่นด้วยกับรัฐบาลเพื่อไทยลุยไฟแก้รัฐธรรมนูญสุดซอย หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อึ้ง "ครูต่างชาติ" สอนภาษาให้ "สามเณร" แอบแฝงสอนศาสนาอื่น ชาวเน็ตถามเหมาะสมหรือไม่
"ปลัดกระทรวงแรงงาน" รับปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทไม่ทัน 1 ต.ค.นี้
"ผู้ว่าฯเชียงราย" ย้ำภารกิจฟื้นฟูอ.เมือง ต้องจบภายใน 29 ก.ย.นี้ เพื่อเตรียมพร้อมไปฟื้นฟู อ.แม่สาย
โตเป็นสาวเต็มตัว "สวนสัตว์โคราช" เตรียมหาคู่ให้ฮิปโปแคระ "หมูมะนาว" ป้า "หมูเด้ง"
ดราม่าร้อน โซเชียลวิจารณ์ยับ "ลีน่าจัง" แซงคิวดู "หมูเด้ง" แถมตะโกนเสียงดัง จนจนท.ต้องเข้ามาห้าม
"นายกฯ" ขอบคุณขรก. ลูกจ้างพนง. ทุ่มเทเสียสละทำงานเพื่อประชาชน จนเกษียณ
"ศุภชัย" นำทีม "ซีพีอาสา" ลุยช่วยชาวเชียงราย เร่งบรรเทาทุกข์ ส่งรถแม็คโครขนทิ้งดินโคลน
เฒ่าต่างชาติ ฉกยาวิตามินซี หวังไปบำรุงสายตา ตามคำสั่งหมอ ดันถูกจับได้คาหนังคาเขา
ศึกนี้ "พท." ถอยกรูด ทิ้ง "ลุงชาญ" ชนักปักหลังเพียบ ปล่อย "บิ๊กแจ๊ส" ชนะน็อค
รุมต้านรัฐบาล "พท." แก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ระวังล้มซ้ำรอยอดีต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น