“วันนวมินทรมหาราช” 13 ตุลาคม รำลึก 8 ปี วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9

วันนวมินทรมหาราชา

13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ย้อนรำลึก 8 ปี วันที่น้ำตาท่วม แผ่นดินไทย

วันนวมินทรมหาราชา

Top News รายงาน “แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี” นั่นเป็นประกาศข้อความตอนหนึ่ง ของสำนักพระราชวัง เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันที่ 13 ตุลาคม ถูกกำหนดขึ้น ให้เป็น “วันนวมินทรมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 9

 

วันนวมินทรมหาราช

ข่าวที่น่าสนใจ

ประวัติ วันนวมินทรมหาราช

 

นับตั้งแต่ วันที่ 13 ตุลาคม 2559 วันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 ต่อมาปี 2560 ที่ประชุม ครม. จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการ และออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ และในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต กำหนดให้เป็น “วันสำคัญของชาติไทย” และให้จัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกับวันปิยมหาราช โดยราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช” เริ่มตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้

 

ซึ่ง วันนวมินทรมหาราช แปลว่า วันระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่

วันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรค รัชกาลที่ 9

วันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9 ย้อนรำลึก 8 ปี น้ำตาท่วม แผ่นดินไทย

 

หากย้อนกลับไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยพระองค์ทรงมีพระอาการไข้ เหล่าคณะแพทย์จึงได้ถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

 

ต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ประทับได้ไม่นายก็ทรงเสด็จฯ กลับมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช จนถึงเดือนกันยายน 2559 ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระอาการประชวรดีขึ้น และทรุดลงเป็นครั้งคราว

 

14 ธันวาคม 2558 พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การพระราชทานพระบรมราชวโรกาสแก่ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ ที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

 

11 มกราคม 2559 การปรากฏพระองค์ครั้งสุดท้าย คือ การที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

 

กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 15.52 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษา 88 ปี และทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน

 

วันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9

 

กิจกรรมวันนวมินทรมหาราช

 

1. พิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล

  • ส่วนกลาง จัดพิธี ณ ท้องสนามหลวง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพร้อมภริยา
  • ส่วนภูมิภาค ทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม
  • ต่างประเทศ ให้สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุล จัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม รวมทั้งเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศ จัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม

 

2. จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมเครื่องราชสักการะ ตามอาคารสถานที่ กำหนดระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม ของทุกปี โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศดำเนินการ

 

3. จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศจัดกิจกรรมในโอกาสพิเศษดังกล่าว

 

4. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เผยแพร่สารคดีโทรทัศน์เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

 

วันนวมินทรมหาราช

 

พระราชกรณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9

ทั้งนี้ ภาพพระราชกรณียกิจที่ปรากฏแก่สายตาประชาชน ทั้งในและนอกประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ต่างรับรู้โดยทั่วกันว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ซึ่งพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์ มีดังนี้

 

  1. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
  2. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน
  3. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้
  4. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
  5. พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคม
  6. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
  7. พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
  8. พระราชกรณียกิจด้านศาสนา
  9. พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  10. พระราชกรณียกิจด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แรงเกินต้าน "หมูเด้ง" ฮิปโปแคระ ทุบสถิติ "ยอดขายบัตร" สูงสุดเป็นประวัติการณ์
รฟฟท. ลงนามความร่วมมือกับ HO CHI MINH CITY URBAN RAILWAYS NO.1 พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเดินรถไฟฟ้า ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางอย่างยั่งยืน
กัมพูชาผลักดัน 24 คนไทย ถูกจับในกัมพูชา กลับประเทศ พบสาวไทย 2 คนหนีหมายจับ ร่วมแก๊งคอลฯ
เปิดปฏิบัติการ ตร.ภาค1 และ ภาค 2 สนธิกำลัง บุกจับแก๊งค้าอาวุธสงครามได้ปืนอาก้า 5 กระบอกพร้อมแม็กกาซีน
“บิ๊กป้อม” ส่ายหัว ปัดตอบ “พร้อมพงศ์” ร้องสอบจริยธรรม มูลนิธิบ้านป่าฯ
"จิราพร" สั่งสคบ.ลงพื้นที่ตรวจ "ร้านทองแม่ตั๊ก" เตรียมเชิญทุกฝ่ายหารือ
เพจดังเปิดเส้นทาง "แม่น้ำปิง" โซนเมืองเชียงใหม่ หากล้นตลิ่งจะไหลไปทางไหนบ้าง
มติครม.ไฟเขียว พักหนี้เกษตรกรเฟส 2-3 วงเงิน 2.3 หมื่นล้าน เริ่ม 1 ต.ค.นี้
โซเชียลถล่มยับ “สว.นันทนา” ด้อยค่า “สว.แดง” เป็นแม่ค้าขายหมู แต่ได้นั่ง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ซ้ำตอบสื่อปัดบูลลี่ เมินขอโทษ
"ภท." เท "พท." ไม่เล่นด้วยแตะปมจริยธรรม ทำเพื่อพวกพ้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น