“นักวิชาการ” วิเคราะห์ 5 สาเหตุน้ำท่วมภาคเหนือรุนแรง

"นักวิชาการ" วิเคราะห์ 5 สาเหตุน้ำท่วมภาคเหนือรุนแรง

Top news รายงาน วานนี้ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ปลูกพืช ทำเกษตรกรรมบนภูเขาทำได้อย่างไร? กฎหมายชัดเจน แต่ปล่อยปะละเลย สาเหตุหลักของการทำให้เกิดน้ำท่วมภาคเหนือรุนแรงในปีนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

โดย ดร.สนธิ ระบุรายละเอียด ดังนี้

1..คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2528 เห็นชอบด้วยกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้พื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ย 35% ขึ้นไปเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่อนุญาตให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เป็นพื้นที่ที่มีการชะล้างหน้าดินสูง ไม่เหมาะสมแก่ การทำเกษตรกรรม สมควรเป็นพื้นที่ป่าไม้ และไม่อนุญาตให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินคือ ครอบครองมาก่อนอย่างถูกกฎหมายก่อนวันที่1 ธันวาคม 2497 หรือมีหลักฐานครอบครอง เช่น นส 3 ก. หรือ สค.1

2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ข้อ14 (2)กำหนดให้พื้นที่เขา ที่ภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาระยะ40เมตร เป็นพื้นที่ต้องห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ ดิน(ได้มาก่อน1ธค.2497)

3.คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภา คม 2538กำหนดนิยามของ เขา หมายถึง ส่วนของพื้นที่ที่สูงจากบริเวณรอบๆ น้อยกว่า 600 เมตร ปรากฎในแผนที่ว่าเป็นเขา พื้นลาดชันร้อยละ 20- 35และที่ภูเขา หมายถึงส่วนของพื้นที่ที่สูงจากบริเวณรอบๆ ตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไปพื้นที่ลาดชันมากกว่าร้อยละ 35

 

4.ผู้บุกรุกป่าที่ถูกจับในกรณีแผ่วถ้างหรือเผาป่า เพื่อที่จะได้ครอบครองที่ดินนั้นในเขตอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานต่างๆ ของประเทศไทยจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี หรือปรับสูงถึง 2 ล้านบาท นอกจากนี้ห้ามยึดถือ/ครอบครอง/ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัย/ก่อสร้าง/แผ้วถาง/เผาป่า/ทำไม้/เก็บหาของป่า หรือทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพ บทลงโทษ จำคุก 1 – 10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาท

5. จากกฎหมายดังกล่าว ประชาชนได้บุกรุกภูเขาไปปลูกพืช ทำเกษตรกรรมได้อย่างไร? หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลพื้นที่ยินยอมได้อย่างไร? สุดท้ายฝนตกหนัก น้ำป่าจากภูเขาไหลเชี่ยวกราก พัดพาดินโคลนจากภูเขามาถล่มเมืองในพื้นที่ราบ ทั้งเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง เป็นต้นในปี 2567เพราะทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โค่นป่า ปลูกพืชล้มลุกบนภูเขาทำผิดกฎหมาย แต่เจ้าหน้าที่ปล่อยปะละเลย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น