“รมช.สุชาติ” เผยข่าวดี เจรจา EPA ไทย-เกาหลีใต้ รอบ2 รุดหน้า เป้าสรุปผลในปี 2568

รมช.สุชาติ ชมกลิ่น เผยข่าวดี ผลการประชุมเจรจา EPA ครั้งที่สอง ไทย-เกาหลีใต้ รุดหน้าไปมาก มุ่งเน้นช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้านำเข้า-ส่งออก ไทย-เกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้เร่งเดินหน้าการเจรจาความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA กับคู่เจรจาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรและผู้ประกอบการไทย และในโอกาสที่ได้เดินทางเยือนเกาหลีใต้ ตนได้ติดตามผลการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA หรือ อีพีเอ) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 – 27 กันยายน 2567 โดยมีนางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย และนายคอนกี โร ปลัดกระทรวงด้านการเจรจาการค้า กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายเกาหลีใต้ และมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการเจรจาภายใต้คณะทำงานต่าง ๆ มีความคืบหน้าไปมากและเป็นไปตามแผนการเจรจาที่สองฝ่ายได้วางไว้

 

โดยมีการหารือข้อบทต่าง ๆ ภายใต้ความตกลง EPA ไทย-เกาหลีใต้ ต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน และสองฝ่ายสามารถสรุปผลของบทพิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้าได้ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าในการนำเข้า-ส่งออก ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น การจัดตั้งคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะ  การดำเนินกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง เป็นต้น

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ การหารือในหลายข้อบทมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก อาทิ บทด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า บทที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมายและสถาบัน บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

 

“ความตกลง EPA ไทย-เกาหลีใต้ จะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ โดยคาดหวังว่ามูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน เพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลีใต้ (AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยมีกลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะส่งออกไปเกาหลีใต้ได้มากขึ้น อาทิ เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป มะม่วง ฝรั่ง และมังคุด ซอสและเครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์ไม้ และเคมีภัณฑ์” นายสุชาติกล่าว

 

 

นายสุชาติ เพิ่มเติมว่า ตนได้ผลักดันให้การเจรจาเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยจะมีการเจรจาอีก  5 รอบ สลับการเป็นเจ้าภาพระหว่างไทยและเกาหลีใต้ และตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาจัดทำความตกลง EPA ไทย-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 3 ในเดือนธันวาคม 2567

 

 

ในปี 2566 เกาหลีใต้เป็นคู่ค้าอันดับ 12 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 14,744 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ 6,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และไทยนำเข้าจากเกาหลีใต้ 8,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. – ก.ค.) การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 8,949 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 3,598 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการนำเข้า 5,351 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในปี 2566 เกาหลีใต้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยมากเป็นอันดับ 7 จำนวน 25 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 38,418 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คนร้ายลอบวางบึ้มรถบัสตำรวจตชด. พลขับบาดเจ็บ 2 นาย
อดีตรมว.กลาโหมขึ้นแท่นนายกฯคนใหม่ของญี่ปุ่น
สพฐ. เร่งสอบ ผอ.โรงเรียนในจ.กาญจนบุรี เบี้ยวเงินทุนนักเรียน ล่าสุดมอบทุนครบแล้ว พร้อมสืบข้อเท็จจริงต่อ
“ดร.ทันกวินท์” ยื่น ป.ป.ช. สอบสส.พรรคส้ม อ้างตำแหน่งกมธ.จัดงานสมัครสมาชิก
"แม่ค้าขายน้ำ" ปลื้มยอดขายพุ่งพรวด เงินหมื่นสะพัด หลังรัฐบาลแจกช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้พิการ
“ไพบูลย์” ยันไม่จริง “สันติ-วราเทพ” ย้ายซบเพื่อไทย
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดกิจกรรมวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2567
“รมช.สุชาติ” เผยข่าวดี เจรจา EPA ไทย-เกาหลีใต้ รอบ2 รุดหน้า เป้าสรุปผลในปี 2568
“สนธิญา” ร้องกกต. จี้ปชน.ถอนร่างแก้ไขรธน.ปมจริยธรรม ลั่นหากไม่หยุด เจอยื่นยุบพรรค
มอบทุนการศึกษา “มูลนิธิคุณพุ่ม”ประจำปีการศึกษา 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น