“บก.ลายจุด” แนะคู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม “เชียงราย” แบ่งเป็น 4 ช่วง

"บก.ลายจุด" แนะคู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม "เชียงราย" แบ่งเป็น 4 ช่วง

Top news รายงาน วันที่ 28 ก.ย.2567 สมบัติ บุญงามอนงค์. บก.ลายจุด ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า คู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วมเชียงราย ขอเขียนสิ่งนี้ไว้เพื่อเสนอแนะต่อศปช ส่วนหน้า ที่มี รมช ธีรรัตน์เป็นประธาน ตามทฤษฏีการจัดการภัยพิบัติประกอบด้วย 4 ช่วงตอนด้วยกันคือ

  •  ป้องกัน
  • เผชิญเหตุ
  • ฟื้นฟู
  • พัฒนา

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะนี้ที่ เชียงราย เราอยู่ในช่วงของการฟื้นฟู ซึ่งลักษณะปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องมาจากเผชิญหน้ากับดินโคลนมหาศาลในพื้นที่ประสบภัย ทั้งดินโคลนบนถนน ซอย และภายในบ้านเรือนของประชาชน
และด้วยปริมาณดินโคลนมหาศาลและอยู่ในทุกพื้นที่ทำให้การใช้เครื่องจักรทุ่นแรงมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามดินโคลนในบ้านจำเป็นจะต้องมีแรงงานมนุษย์เข้าไปจัดการเช่นกัน และภาระกิจการเก็บโคลนจะจบที่โคลนในท่อระบายน้ำซึ่งจะส่งผลระยะยาวหากไม่จัดการ
บัดนี้การใช้เครื่องจักรมาถึงจุดที่จะต้องจัดหาเครื่องจักรขนาดเล็กเพื่อให้สามารถเคลื่อนตัวไปยังซอยย่อยต่างๆหรือแม้แต่เข้าไปทำงานในบ้านของผู้ประสบภัย และตรงนี้เป็นช่องว่างของเครื่องจักรที่รัฐมีอยู่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรใหญ่ การพึ่งพาเครื่องจักรจิตอาสาช่วยได้ระดับหนึ่งแต่ไม่เพียงพอ จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องจัดงบฟื้นฟูก้อนหนึ่งสำหรับการจัดจ้างเอกชนนำรถเครื่องจักรขนาดเล็กเข้ามาประจำการในพื้นที่
หลังจากเก็บโคลนแล้วจะเข้าสู่การเก็บขยะน้ำท่วม ซึ่งจะต้องไปจบที่หลุมฝังกลบซึ่งไม่มีทางที่หลุมฝังกลบที่มีอยู่จะรับมือกับปริมาณขยะน้ำท่วมได้ ซึ่งจัดหาพื้นที่ได้ยากกว่าพื้นที่ทิ้งดินโคลน การเก็บขยะน้ำท่วมจะต้องทำซ้ำหลายรอบเนื่องจากประชาชนเคลียร์ขยะไม่พร้อมกัน
หลังจากจัดการโคลนและขยะแล้วเมืองจะเข้าสู่ปัญหาฝุ่น PM10 และถนนลื่นอันเนื่องมาจากโคลนแห้ง จำเป็นต้องเก็บรายละเอียดโดยการล้างถนนและตักโคลนที่ริมถนนใส่กระสอบแล้วนำไปทิ้ง ทำเช่นนี้วนไปจนกว่าเมืองจะสะอาดจนยอมรับได้
การล้างบ้านจะต้องใช้ทั้งเครื่องจักร ปั้มฉีดน้ำ และ แรงงานมนุษย์ ในพื้นที่แม่สายค้นพบว่ามีบ้านจำนวนหนึ่งมีชั้นใต้ดิน ดินโคลนที่อยู่ด้านล่างมีความยากในการนำขึ้นมา อาจต้องใช้เครื่องดูดโคลนเข้าช่วย และเสนอแนะให้ระดมจิตอาสาจากพื้นที่ใกล้เคียงภายในจังหวัดเชียงรายหมุนเวียนมาเป็นแรงงานในการล้างบ้านประชาชน รวมถึงพื้นที่หน่วยราชการ โรงเรียน และ พื้นที่สาธารณะ
ทรัพยารหลักที่จะต้องใช้คือ เครื่องจักร รถบรรทุก น้ำสำหรับล้างบ้าน กำลังคน และ งบประมาณในการจัดการ ทั้งหมดนี้แข่งกับเวลาที่จะต้องเร่งฟื้นฟูคืนสภาพให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมาเริ่มต้นชีวิตได้อีกครั้ง และนี่ยังไม่รวมการซ่อมแซมบ้านเรือน ของใช้ในบ้านที่จะต้องจัดหากลับมาดำรงชีพ และขวัญกำลังใจ
อย่างไรก็ตาม แม่สายมีสิ่งที่จะต้องไปให้ไกลกว่าการฟื้นฟูคือการพัฒนาพื้นที่หลังภัยพิบัติ เนื่องจากสิ่งก่อสร้างในพื้นที่เป็นอุปสรรค์ต่อการระบายน้ำ ดังจะได้มีการฟ้องร้องและมีคำสั่งศาลให้การรื้อถอน การออกแบบรับมือกับน้ำที่จะตามมาในฤดูกาลต่อไปว่าจะทำเช่นใด สมบัติ บุญงามอนงค์มูลนิธิกระจกเงา 28 กย 67 ความรู้สึกทั้งหมด 395

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดีตสว.สมชาย" เผย "ท็อปนิวส์" ละเอียดยิบ ขบวนการทุจริต "ฮั้วเลือกสว." ลั่น "ดีเอสไอ" ต้องรับเป็นคดีพิเศษ
"ไทย-กัมพูชา" บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมืองปอยเปต พบคนไทยกว่า 100 คน เตรียมส่งกลับประเทศพรุ่งนี้
"จุฬาราชมนตรี" แถลงเตรียมจัดงาน "เมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย" ครั้งที่ 59 เริ่ม 18- 20 เม.ย.นี้
จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น