“อ.เจษฎา” ยันผล DNA “ปลาหมอคางดำ” ยังไม่ครบถ้วน แย้งอย่าด่วนสรุปเหตุแพร่ระบาด

"อ.เจษฎา" ยันผล DNA "ปลาหมอคางดำ" ยังไม่ครบถ้วน แย้งอย่าด่วนสรุปเหตุแพร่ระบาด

“อ.เจษฎา” ยันผล DNA “ปลาหมอคางดำ” ยังไม่ครบถ้วน แย้งอย่าด่วนสรุปเหตุแพร่ระบาด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

หลังคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำ แถลงอ้างการศึกษาของ อ.เจษฎา ระบุต้นเหตุของการระบาด โดยล่าสุด เจ้าตัวได้ออกมาแย้งคณะอนุกรรมาธิการว่า ยังไม่ควรฟันธง เนื่องจากผลการศึกษายังไม่ละเอียดพอ และก็ไม่ควรตัดประเด็น 11 บริษัทที่นำเข้าทิ้งด้วย

 

หลังจากวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหารวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ที่นำโดย นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง และนายณัฐชา บัญไชยอินสวัสดิ์ 2 สส.จากพรรคประชาชน พร้อมคณะ ได้แถลงสรุปผลการดำเนินงาน

โดยในช่วงหนึ่ง คณะอนุกรรมาธิการได้ยกเอาผลการศึกษาเปรียบเทียบ DNA ที่ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ ได้หาพันธุกรรมของปลาหมอคางดำของแต่ละประเทศในแอฟริกา ส่งให้กับกรมประมงทำแผนภูมิต้นไม้เปรียบเทียบแถบ DNA และพบว่า ปลาหมอคางดำจาก 6 จังหวัดในไทย และพบว่าตรงกับตัวอย่างจากกาน่าและโกตดิวัวร์ 70% และคณะอนุกรรมาธิการได้สรุปไปแล้วว่า ปลาหมอคางดำ ได้ระบาดมาจาก บ.เอกชนที่ขอนำเข้าจากประเทศกาน่านั้น

ล่าสุดอ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ออกมาชี้แจงว่า ถึงการที่บอกว่า DNA ตรงกับตัวอย่างในไทย 70% นั้น ก็ยังถือเป็นกลุ่มที่กว้าง เพราะมาจากแถบ DNA ที่เป็นกระจุกสั้น แต่การจะดูลึกลงในระดับ “กิ่งย่อย” จนระบุประเทศได้ชัดเจนนั้น ยังต้องศึกษาเพิ่มให้ถึงแถบ DNA ที่ยาวขึ้น โดยเฉพาะจะต้องมี DNA จากปลาชุดที่นำเข้าเมื่อสิบกว่าปีก่อนมาเปรียบเทียบด้วย ซึ่งมองว่าไม่ง่าย และ ณ วันนี้จึงยังไม่ควรจะฟันธงว่า มีการนำปลาเข้ามาในครั้งเดียว

และหากสุดท้าย เมื่อผลการศึกษาตรวจมาพบว่า ปลาที่เจอในประเทศไทย มีทั้งกาน่า หรือกาน่าส่วนอื่นเนื่องจากเป็นประเทศใหญ่ หรือมาจาก โกตดิวัวร์ ก็อาจนำไปสู่ซึ่งคำตอบใหม่ก็ได้

 

 

อีกหนึ่งประเด็น ที่ อ.เจษฎา แสดงความไม่เห็นด้วยกับอนุกรรมาธิการ คือการเลือกเชื่อตามที่ 11 บริษัทที่ส่งออกปลาหมอคางดำ แจ้งว่ามีการกรอกข้อมูลผิดพลาด เพราะยังอธิบายไม่ได้ว่าประเทศปลายทาง ได้รับปลาตามชื่อทางวิทยาศาสตร์ใช่หรือไม่ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยังน่าสงสัย และหากตัดสินใจเชื่อเช่นนั้น ก็อาจทำให้ไม่สามารถสืบค้นไปถึงที่มาของปลาที่ส่งออกหรือลักลอบนำเข้าได้เลย และทำให้มีการชี้เป้ามาที่บริษัทที่นำเข้าแต่เพียงรายเดียว

 

โดยอ.เจษฎา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า เสียดายที่้คณะอนุกรรมาธิการ ไม่โทรมาถามข้อมูลก่อนที่จะแถลงสรุปผลการศึกษา เพราะถือว่าข้อมูลยังไม่ครบถ้วนทั้งหมด และยังมีจุดที่น่าสงสัยตามที่กล่าวมา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น