รู้จัก โมเลกุล “มณีแดง” ที่ไม่ได้เป็นแค่ “ยาต้านแก่”

มณีแดง

“มณีแดงคืออะไร” เมื่อใครๆ ก็ไม่อยากแก่ ทำความรู้จัก โมเลกุล “มณีแดง” ที่ไม่ได้เป็นแค่ ยาต้านแก่ ที่ใกล้ได้ใช้ในคนแล้ว

 

มณีแดง

 

Top News รายงาน จากการประกาศข่าวดี ผ่านเพจเฟซบุ๊กของ “หมอดื้อ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมองที่ปรึกษา วิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เกี่ยวกับ สารโมเลกุล “มณีแดง” ที่ใกล้พร้อมใช้ในมนุษย์แล้ว ภายหลังผลการวิจัย การศึกษาความเป็นพิษในหนูแรทเกรด GLP ที่เป็นมาตรฐานสำคัญในการทำการศึกษาทางคลินิก พบว่า สารโมเลกุลมณีแดง ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติ และพยาธิสภาพของร่างกายใดๆ ทำให้หลายคนสงสัยว่า “มณีแดงคืออะไร” ทำไมถึงขึ้นชื่อว่าเป็น “ยาต้านแก่”

ข่าวที่น่าสนใจ

มณีแดงคืออะไร

 

“โมเลกุล มณีแดง” หรือ RED–GEMs ย่อมาจาก REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules มีคุณสมบัติในการย้อนวัยที่ดีเอ็นเอ มีลักษณะเป็นข้อต่อดีเอ็นเอ (DNA gap) ที่มีปริมาณน้อยในเซลล์ชรา เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ไขความรู้สู่การต้านวัยชรา เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติ และถูกทำลายได้ง่าย เราจึงพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราแล้วเยอะขึ้น ซึ่งรอยโรคดีเอ็นเอนี้ จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติ และเข้าสู่ความแก่ชรา รวมถึงอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และมะเร็งได้ ซึ่ง โมเลกุลมณีแดง จะช่วยเพิ่มข้อต่อดีเอ็นเอ ลบรอยโรคของดีเอ็นเอ แก้ไขความชราของเซลล์ได้

 

โมเลกุล “มณีแดง” ค้นพบมาตั้งแต่ปี 2565 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์และสภาวะเหนือพันธุกรรม หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทดลองวิจัยในหนูทดลองพบว่า RED-GEMs หรือ โมเลกุลมณีแดง เปลี่ยนเซลล์ที่ชราแล้ว ให้กลับมาเป็นเซลล์ที่ทำงานได้ตามปกติ เหมือนเซลล์ที่อ่อนเยาว์

 

ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษายาต่างๆ ในต่างประเทศ ยังไม่พบยาอะไรที่สามารถย้อนวัยได้สมบูรณ์เท่าโมเลกุลมณีแดง

งานวิจัยโมเลกุลมณีแดง

โมเลกุล “มณีแดง” ต้านวัยชรา ในหนูทดลองได้สำเร็จ

 

  • กลุ่มแรก เป็นหนูอายุ 7 เดือน
  • กลุ่มที่ 2 เป็นหนูอายุ 30 เดือน
  • กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่อายุ 30 เดือน ที่ได้รับโมเลกุลมณีแดง

 

ซึ่งการทดลอง นักวิจัยจะย้อมเซลล์ชราให้เป็นสีน้ำเงิน ปรากฎว่า หนูวัย 7 เดือนไม่ค่อยมีเซลล์ชรา ในขณะที่หนูที่ชราแล้ว (30 เดือน) จะมีเซลล์ชราเต็มตับ ส่วนหนูชราที่ได้รับมณีแดงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน เซลล์ชราในตับจะลดลง นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า สมองของหนูชราที่ได้รับมณีแดงกลับมาดีขึ้น

 

ประโยชน์ของ โมเลกุล มณีแดง ยาต้านแก่

 

จากการวิจัย ศ.นพ.อภิวัฒน์ ระบุว่า โมเลกุลดีเอ็นเอมีศักยภาพและโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพในหลายด้าน อาทิ

 

  1. ช่วยเพิ่มข้อต่อดีเอ็นเอ ทำให้ดีเอ็นเอชราคืนความหนุ่มสาว ลบรอยโรคในดีเอ็นเอ
  2. รักษาโรคที่มีกลไกมาจากเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะเสื่อมสภาพที่พบในคนแก่ชราหรือแก่ชราเร็วจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน และโรคที่ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดแข็ง การเสื่อมสมรรถภาพในอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น
  3. รักษาโรคที่อวัยวะเสื่อมสภาพจาก อาทิ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ปอดพังจากบุหรี่ ตับสมองพังจากสุรา ไตพังจากสารพิษ เป็นต้น
  4. อาจใช้ป้องกันและรักษามะเร็งได้ (โดยการแก้ไขความแก่ชราของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และป้องกันมะเร็งจากการลดโอกาสเกิดการแตกทำลายของเอ็นเอ อันนำไปสู่การกลายพันธุ์ของยีน)
  5. ชะลอการเสื่อมของร่างกายในเด็กที่มีความผิดปกติของยีนซ่อมแซมดีเอ็นเอ
  6. ใช้เสริมความงาม ช่วยให้ผิวพรรณและรูปร่างอ่อนกว่าวัย
  7. ใช้เพิ่มผลิตผลทางการเกษตร เช่น ยืดอายุ การให้นมในวัว การให้ไข่ในไก่ หรือทำให้เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ นุ่มแน่นขึ้น เป็นต้น
  8. ใช้ป้องกันความพิการแต่กำเนิด เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด อาจมีกลไกจากความไม่เสถียรของจีโนม
งานวิจัยโมเลกุลมณีแดง

 

ทั้งนี้ หลังจากประสบความสำเร็จในการทดลองใช้โมเลกุล มณีแดงในหนูทดลองจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ทีมวิจัยวางแผนจะนำมณีแดงไปทดสอบในสัตว์ใหญ่ อย่าง ลิงแสม เพื่อดูผลการรักษาในระยะยาว ก่อนที่จะเริ่มการทดสอบในมนุษย์

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม คลิกที่นี่

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวบ้าน 4 อำเภอ ร่วมทั้งเครือข่าย ผลักดันช้างป่ากัดกินพืชเกษตร
"ศาลเจ้านครราชสีมา" เตรียมโรงเจ เลี้ยงอาหารเจฟรี 3 มื้อ ตลอดเทศกาลกินเจ 10 วัน
“เพนกวิน” โพสต์เคลื่อนไหวครั้งแรก หลังหนีซุกตปท. กล้าพูดห่วงเพื่อน 3 นิ้วที่ติดคุก
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้เสวนา “Navigating the Future of International Co-Production” ในงาน The International Broadcasting Co-production Conference 2024 (IBCC)
กรมราชทัณฑ์ ร่วมกับ กรมประมง และซีพีเอฟ บูรณาการ 3 ประสานจัดการปลาหมอคางดำเป็นระบบ ผลิตน้ำปลาตรา "หับเผย แม่กลอง" และฝึกเป็นทักษะอาชีพให้ผู้ต้องขัง 
ไฟไหม้รถบัสนักเรียน หน้าเซียร์รังสิต เด็กอนุบาล เสียชีวิต บาดเจ็บเพียบ
"ยังมีเรา" คิดดีอาสาร่วมฟื้นฟูแม่สาย ช่วยผู้ประสบภัยชาวเชียงราย
"น้ำโขงเชียงแสน" ยังห่างระดับวิกฤต หลังฝนตกต่อเนื่อง มีน้ำท่วมบนถนน
“จุลพันธ์” รับยังไม่สรุปแจกเงินหมื่นเฟส 2 คาดออกโลซีซั่น กระตุ้นท่องเที่ยว
9 "พระบรมราโชวาท" ในหลวง ร.9 ที่ประดับกลางใจ ไทยทุกคน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น