9 “พระบรมราโชวาท” ในหลวง ร.9 ที่ประดับกลางใจ ไทยทุกคน

พระบรมราโชวาทในหลวงรัชกาลที่ 9

อัญเชิญ “พระบรมราโชวาท” และ พระราชดำรัส น้อมรำลึก 8 ปี วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง ร.9 วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ที่ประดับอยู่กลางใจ ไทยทุกคน

 

พระบรมราโชวาทในหลวงรัชกาลที่ 9

 

วันที่ 13 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “ในหลวง ร.9” ประชาชนทุกหมู่เหล่า ล้วนรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่เป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ Top News อัญเชิญ “พระบรมราโชวาท” และ พระราชดำรัส ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งการทำความดี การปิดทองหลังพระ หรือ เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดการครองแผ่นดินโดยธรรม ที่ประดับอยู่กลางใจ ไทยทุกคน

ข่าวที่น่าสนใจ

พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9

 

1. ปิดทองหลังพระ

 

“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

 

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กรกฎาคม 2506

 

2. การศึกษา

 

“ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน แต่ละคนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาอบรมในวันนี้ จะเป็นเครื่องกำหนดของชาติในวันข้างหน้า ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านออกไปเป็นครู ท่านต้องพยายามทำหน้าที่ของท่านให้สำเร็จโดยสมบูรณ์”

 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 2 ธันวาคม 2508

 

3. ความรู้

 

“ความรู้ในวิชาการเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ และทำให้เป็นคนที่มีเกียรติ เป็นคนที่มีความสามารถ เป็นคนที่จะมีความพอใจได้ในตัวว่า ทำประโยชน์แก่ตัวเองและแก่ส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม สอดคล้องกับสมัย และสอดคล้องกับศีลธรรมที่ดีงาม ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้ในชีวิต ก็จะทำให้เป็นคนที่ครบคน”

 

พระบรมราโชวาท เนื่องในโอกาสวันปิดภาคเรียนของโรงเรียนจิตรลดา ปีการศึกษา 2514 ณ ศาลาผกาภิรมย์ พระราชวังดุสิต วันที่ 25 มีนาคม 2515

 

4. ความเพียร-อดทน

 

“ความเพียรนี่หมายความว่า ไม่ใช่ความเพียรในการทำงานเท่านั้นเอง หมายถึงความเพียรที่จะข่มใจตัวเองด้วย ความกล้าหาญที่จะข่มใจตัวเองให้อดทน ไม่ใช่อดทนแล้วก็เหมือนว่าใครทำก็ทำไป เราทนเอาไว้ เท่ากับคนอื่นเขาเอาเปรียบเรา ไม่ใช่อดทนที่จะยังไม่เห็นผล อดทนที่จะทราบว่าสิ่งใดที่เราทำต้องใช้เวลา ถ้าเราอดทน หรือถ้าพูดตามธรรมดาว่า ‘เหนียว’ ไว้ อดทนในความดี ทำให้ดี เหนียวไว้ในความดีแล้ว ภายภาคหน้าได้ผลแน่”

 

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ 27 ตุลาคม 2516

 

พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9

พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9

 

5. การทำความดี

 

“การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี”

 

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ว่าที่ร้อยตำรวจตรีฯ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2529

 

พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9

6. ความสามัคคี

 

“สามัคคีคือการปรองดองกัน ไม่ได้หมายความว่า คนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างก็ต้องสอดคล้องกัน ถ้าไม่สอดคล้องกัน พัง”

 

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม 2536

 

7. การใช้ปัญญา

 

“ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ การขบคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติ รู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่าง ๆ มิให้เกิดขึ้น ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุ เห็นผล ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน”

 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 1 สิงหาคม 2539

 

8. การรักษาสัจจะ

 

“ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม”

 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2540

 

9. เศรษฐกิจพอเพียง

 

“เศรษฐกิจพอเพียง จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้”

 

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ศาลอาญา" ไต่สวนคำร้องฝากขัง "เเม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" ด้าน "ผู้เสียหาย" แห่ยื่นค้านประกันตัว
น่าห่วง แพทย์แถลงอาการ นักเรียน รถบัสไฟไหม้ เสี่ยงตาบอด 1 ราย
ซีพีคว้าโล่ประกาศเกียรติคุณ 'ผู้นำการจัดการก๊าซเรือนกระจก'
กินเจอย่างไร ให้อิ่มบุญ และมีสุขภาพดี
“กฟผ.” แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสีย เหตุไฟไหม้รถบัสนักเรียน หน้าเซียร์รังสิต
ผจก.สื่อปลอดภัยฯ พร้อมร่วมผลิตคอนเทนต์กับตปท. ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์
TSB คว้ารางวัล นวัตกรรมด้านการขนส่งและโลจิสติกส์แห่งปี
สาวโชคร้าย ขี่ จยย. ถูกสายเคเบิ้ลขาดเกี่ยวลูกไนตาเลือดทะลัก
"ขนส่ง สิงห์บุรี" ยันรถบัสไฟไหม้ เพิ่งตรวจสภาพเมื่อ พ.ค.67 เบื้องต้นส่งทีมนายช่างลงพื้นที่ร่วมหาสาเหตุ
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น