โดยแหล่งข่าวระบุว่าเหตุผลที่เลือกเนื่องจากนางยุพา เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร เป็นผู้ประสานงานสิบทิศ
เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของท่านสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
“นางยุพา” ถือได้ว่าเป็นผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถทั้งเชิงวิชาการ เนื่องจากเป็นวิทยากรบรรยายให้กับสถาบันต่างๆ
ทั้งเรื่องวัฒนธรรม และ Soft Power และปฏิบัติภารกิจงานสำคัญระดับประเทศ ในฐานะหัวหน้าทีม ลงมือทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ใต้บังคับบัญชา
และขยันลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำงาน ไปให้กำลังใจเครือข่าย ชุมชน เพื่อขับเคลื่อนภารกิจงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจลงสู่ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล
“นางยุพา” จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้านการถ่ายภาพและภาพยนตร์ จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
จบปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการศึกษา จากมศว.ประสานมิตร ปริญญาโท MBA จุฬาฯ และปริญญาเอกวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และยังได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพอีกด้วย
การดำรงตำแหน่งสำคัญ เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง และรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบัน ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ที่ครม.มีมติเป็นเวลาครบ ๔ ปีเต็ม
สำหรับผลงานสำคัญ เห็นได้ว่าปลัดท่านนี้ได้รับความไว้วางใจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒน ธรรมในทุกยุคสมัย ตั้งแต่สมัยเป็นผู้ช่วยปลัดจนถึงปัจจุบัน
มอบหมายงานสำคัญระดับชาติ และระดับนานาชาติ อาทิ การจัดงานมหรสพสมโภช เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒
และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
การจัดงานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ มาประดิษฐานยังท้องสนามหวง เมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
และที่ได้รับการกล่าวขาน ชื่นชม จากผู้นำประเทศต่างๆนั่นก็คือ การจัดการแสดงทางวัฒนธรรมและของที่ระลึก
เนื่องในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ และ ๓๕ และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๕ การขับเคลื่อน ภารกิจ Soft Power
ตั้งแต่ ๕ F จนมาถึง ๑๑ อุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาล การขับเคลื่อนภารกิจงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ในฐานะประธานอนุบริหารกองทุนฯ การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์ได้ไปร่วมงานเทศกาลสำคัญในต่างประเทศ
ตลอดจนการอบรมให้ความรู้ทั้งทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand) (CCPOT) สู่สากล
สร้างเม็ดเงินอย่างมหาศาลจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญ คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจากชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน