วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องรับรองชั้น 2 โซนกลางฝั่งริมถนนสามเสน อาคารรัฐสภา นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม สมาชิกวุฒิสภา ,รองประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน คนที่ 1 และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณวุฒิสภาฯ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานใจตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาฯ ก่อนอื่นต้องบอกว่า รู้สึกมีความยินดี และ ดีใจ ขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนที่สนับสนุนให้เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ช่วยลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเลือกกันมาในระดับ อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ รวมถึงได้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน คนที่ 1 และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณวุฒิสภาฯด้วย ซึ่งผมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง
แนวทางในการทำงาน ในตำแหน่งวุฒิสภา ก็จะนำประสบการณ์จากการทำงาน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และในฐานะที่ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาก่อน วันนี้มีโอกาสได้มาทำหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ก็จะทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฏหมาย เสนอแนะแนวทางจากรัฐบาล ในการทำงานที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการ เป็นการสะท้อนภาพกับพี่น้องประชาชนในการทำงานในฐานะวุฒิสมาชิก
นายสรชาติ กล่าวว่า ในฐานะที่ท่านเป็นคณะกรรมาธิการพลังงาน มีทิศทางและการขับเคลื่อนพลังงานในประเทศไทยไปในทิศทางไหนนั้นในฐานะที่เป็นกรรมาธิการวุฒิสภา ซึ่งไม่สามารถที่จะไปกำหนดแนวนโยบายได้โดยตรง แต่จะเป็นการศึกษาเสนอแนะต่อรัฐบาล ซึ่งครั้งนี้
ผมเชื่อว่าวุฒิสมาชิกของเราในชุดนี้เป็นชุดที่สามารถศึกษาต่อชุดที่ผ่านมา เพราะชุดที่ผ่านมาสามารถทำหน้าที่การไปศึกษาแนวทางพลังงานทดแทน หรือพลังงานไฟฟ้า พลังงานขยะ ซึ่งวันนี้ได้มีการพูดคุยกันแล้วก็จะดำเนินการต่อในสิ่งที่ ต่อเติมในสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ เป็นการวิจัยทดสอบซ้ำกับคณะที่ผ่านมา เพื่อนำไปเสนอกับรัฐบาลให้กำหนดแนวทางและนโยบายในการไปแก้ไขปัญหา
แน่นอนวุฒิสมาชิกของเรานั้นอาจจะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการกำหนดนโยบาย เราจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการศึกษา เหมือนกับการทำวิทยานิพนธ์ เล่มใหญ่ของการทดแทนพลังงาน แล้วไปเสนอให้กับรัฐบาลให้รัฐบาลทำในสิ่งที่เราเชื่อว่าเราไม่มีผลประโยชน์อะไรเหมือนทางอื่นในการทำวิจัย เราเป็นวุฒิสภาซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนชาวไทยที่เสนอแนะแนวทางให้กับรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา มีความน่าเชื่อถือ
ส่วนในเรื่องของทิศทางและการขับเคลื่อนของประเทศไทย ทิศทางของพลังงานจะเป็นการใช้พลังงานทดแทน มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องเป็นพลังงานไฟฟ้า คาดว่ารถที่ใช้น้ำมันน่าจะลดลง ใช้รถ EV มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสิ่งที่เราพัฒนาทดแทนกัน รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้ามาเป็นพลังงมาเป็นพลังงานทดแทนสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น
แน่นอนซึ่งปัจจุบันนี้ในส่วนราชการต่างๆยังมีระเบียบการจัดซื้อรถประจำตำแหน่งอย่างเป็นระเบียบใช้รถน้ำมันอยู่ จะหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนที่จะมาเป็นวิธีการจัดซื้อหรือเช่าซื้อรถ EV รถพลังงานไฟฟ้า มาใช้เป็นส่วนราชการ แน่นอนที่สุดว่าส่วนราชการ จะต้องเป็นผู้นำ เป็นตัวนำ ในการเดินหน้าในการดำเนินการใช้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งเชื่อแน่ว่า รถใหม่ๆที่จะมาทดแทน น่าจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะมาแทนรถใช้น้ำมันในปัจจุบัน
คิดว่าหลังจาก ท่านประธานรัฐสภา ประกาศรัฐสภาสีเขียว มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขระเบียบในการใช้ต่างๆให้เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันระเบียบยังเป็นการใช้รถน้ำมันแบบเดิมอยู่ ในเมื่อท่านประกาศเป็นผู้นำด้านนี้แล้ว ท่านก็จะมีแนวทางในการที่จะปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่างๆเพื่อให้นำรถ EV เข้ามาใช้ในรัฐสภาได้ เมื่อรัฐสภาเป็นต้นแบบจะนำไปสู่หน่วยงานราชการอื่นๆ ซึ่งสามารถที่จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการไปปรับรถประจำตำแหน่งของผู้บริหาร ผู้นำต่างๆมาใช้รถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
ประโยชน์แน่นอนที่สุด เป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ทั้งผู้ผลิตรถยนต์รถพลังงานทดแทน พร้อมลดต้นทุน ของผู้บริโภค ซึ่งผู้ใช้รถพลังงานทดแทน จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างการใช้รถน้ำมันพลังงานแบบเดิม กับการใช้รถพลังงานทดแทน หรือรถพลังงานไฟฟ้า จะเห็นความแตกต่างกัน ซึ่งหลายท่านได้ใช้รถไฟฟ้ามาแล้ว ทุกคนก็บอกต่อกันว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ บริษัทต่างๆก็จะปรับปรุงแข่งขันกันให้มีราคาต้นทุนที่ต่ำลงในการผลิตแบตเตอรี่ขึ้นมาทดแทนกัน
ในส่วนของภาคประชาชนอยากจะใช้รถไฟฟ้า ภาครัฐเองจะมีส่วนสนับสนุนในการใช้พลังงานสะอาดให้ประชาชน ในฐานะวุฒิสมาชิก ก็ได้ทำเฉพาะหน้าที่ในการแนะนำให้รัฐบาลสนับสนุน อาจจะเป็นอุดหนุนเงินช่วยเหลือในการให้ผู้ส่งออก นำเข้า ลดต้นทุนการผลิต ลดภาษีต่างๆให้กับรถไฟฟ้า ให้สามารถแข่งขันกันได้และลดต้นทุนให้มาแข่งขันกับรถมือสอง และรถอื่นๆที่มีอยู่ทั้งประเทศ เชื่อได้ว่าพลังงานไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมของพี่น้องประชาชน
ดังนั้นสิ่งที่จะขับเคลื่อนและผลักดัน ก็คือการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านพลังงานที่มีอยู่ให้คงอยู่และไม่สูญสิ้นไป โดยการส่งเสริมให้เกิดพลังงานทดแทน อาทิ การใช้รถไฟฟ้า ทดแทนรถน้ำมัน ซึ่งใน ปีที่ผ่านมาก็ได้รับการตอบรับที่ดี จึงจะสานต่อและผลักดันให้เกิดการใช้รถไฟฟ้า เพื่อลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพร้อมที่จะร่วมหารือและผลักดันโครงการต่างๆให้เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
ส่วนแนวทางในการรณรงค์ ให้หน่วยงานของรัฐหันมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้า เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและป้องกันมลพิษ รถไฟฟ้าถือว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยไอเสียหรือก๊าซเรือนกระจกออกมา และไม่สร้างมลพิษ จะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนให้มีความเข้าใจว่า การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า นั้น มีข้อดีอย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร ตรงนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจ และเกิดการเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ เองต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง การศึกษาถึงข้อดีในการนำยานพาหนะมาใช้ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยในแง่มุมต่างๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือเรื่องของมลพิษ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรที่เราต้องคงรักษาไว้ให้มากที่สุด จึงถือได้ว่า การนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ การนำพาหนะไฟฟ้ามาใช้จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ควรเร่งดำเนินการ ในฐานะที่ผมดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการด้านพลังงาน กระผมจะส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน การนำรถไฟฟ้ามาใช้เป็นทางเลือก และใช้แทนรถยนต์ เพื่อให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลภาวะ ซึ่งพร้อมที่จะผลักดันอย่างเต็มที่
นายสรชาติ กล่าวต่อไปอีกว่า เศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญเติบโต ทั้งนี้ในส่วนของแนวคิดด้านกรรมาธิการทางทหารและความมั่นคง จึงมีความเกี่ยวข้อง เพราะประเทศมั่นคง เศรษฐกิจต้องมั่งคั่งด้วย เพราะฉะนั้นประชาชนกินดี อยู่ดี มีความสุข จึงทำให้ประเทศมีความมั่นคง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาก็จะลดลงด้วย การจัดงานสัมมนาสัญจร หรือการจัดสัมมนาอะไรก็แล้วแต่ ก็จะสามารถนำเสนอสินค้าในพื้นที่ จากพี่น้องประชาชน กลุ่มวิสาหกิจต่างๆเข้ามาเปิดร้านค้า ร้านขายสินค้าของดี ของเด่นกันมากยิ่งขึ้น จะทำให้กลุ่มเหล่านี้ มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้กับพี่น้องประชาชนที่ เข้ามาร่วมงานอยู่แล้วในการสัญจรไปทุกครั้ง ซึ่งกรรมาธิการได้มีการประชุมไปแล้ว ตั้งเป้าไว้ว่าจะออกไปสัญจรหลายๆที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่จะต้องใช้พลังงานทดแทน จังหวัดที่มีโรงงานไฟฟ้าเกิดขึ้นใหม่ๆ เชื่อได้ว่าประชาชนในพื้นที่ๆจัดงานจะสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้อย่างแน่นอน และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับตนเองและครอบครัว จึงถือเป็นพันธกิจที่ต้องทำงาน ร่วมกันทุกภาคส่วน โดยกรรมาธิการด้านพลังงานเอง ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึง ต้องรวมเอาการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษ์โลก รักษ์พลังงาน เข้ามามีบทบาทต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ก็ต้องขออนุญาตสร้างความมั่นใจให้พี่น้องประชาชนว่า สว.ชุดนี้เป็น สว.ชุดที่เลือกกันมาตามกลุ่มสาขาอาชีพเข้ามา มีที่มาคนละรูปแบบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องในการที่จะได้มาซึ่งวุฒิสภา ถ้าสมมุติว่าวุฒิสภา มีที่มาอย่างเช่นเดียวกับผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ควรมี 2 สภา ดังนั้นเมื่อวุฒิสภา มีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่นั้น ที่มาก็จะต้องแตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ณ วันนี้เองผมเห็นวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่นั้น มีการศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าปริญญาตรีเพียง 10% ของทั้งหมด ซึ่งถึงแม้ว่าจะคัดเลือกมาระบบนี้ ก็สามารถมีคนที่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ ซึ่งการทำงานแค่ 2 เดือนเศษๆที่ผ่านมา ก็ได้เห็นศักยภาพของวุฒิสมาชิกหลายๆท่านได้แสดงบทบาทในการประชุมแต่ละครั้งๆออกมา สะท้อนภาพให้เห็นว่าวุฒิสมาชิกชุดนี้มีคุณภาพและการทำงานเข้าได้กับพี่น้องประชาชน เป็นที่พึ่งหวังในการกลั่นกรองกฎหมาย เป็นที่พึ่งหวังพี่น้องประชาชนในการเสนอแนะแนวทางนโยบายให้รัฐบาลไปสู่การปฏิบัติได้
ในส่วนของการทำงานทางด้าน สว.นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรกับท่านสส.ทั้งหลาย ผมเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามารถจะทำหน้าที่ในการศึกษาและกำหนดแนวทาง การกำหนดนโยบายได้ แต่ในขณะวุฒิสมาชิก นั้นเป็นการศึกษาเพื่อการเสนอแนะต่อรัฐบาล เช่นเดียวกับการออกกฎหมายเช่นกัน เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเสนอกฎหมายวุฒิสภา เราจะให้สภาผู้แทนราษฎร นั้นเป็นผู้เสนอกฎหมายและกำหนดนโยบายขึ้นมา เราจะกลั่นกรองว่าอะไรดีไม่ดีอย่างไร นั่นเป็นหน้าที่ของวุฒิสมาชิก
ณ วันนี้ในฐานะซึ่งอยู่ในสภาบน เราจะพยายามดูแนวทางทางการเมือง ซึ่งพี่น้องประชาชนต้องการอย่างไร กลั่นกรองกฎหมาย แทนพี่น้องประชาชนโดยจากสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นมาและทำหน้าที่ต่อ เช่นเดียวกับพลังงานสีเขียว เราก็จะต้องทำหน้าที่ในการศึกษาต่อเนื่อง บางครั้งอาจจะมีเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎร เสนอ ศึกษามาแล้ว เราสามารถศึกษาทดสอบซ้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสภาล่างศึกษามาแล้ว สภาบนศึกษาต่อ แล้วมีแนวทางที่น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นให้ประชาชนและผลักดันให้รัฐบาลไปนำไปสู่การปฏิบัติ ให้รัฐบาลนำไปสู่การกำหนดนโยบายและต่อไป
นายสรชาติ กล่าวย้ำด้วยว่า ที่สำคัญในส่วนของการทำงาน และการบูรณาการทำงานของส่วนราชการต่างๆทั่วประเทศ อยากให้ทุกหน่วยงานได้มีการทำงานร่วมกัน การประสานงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน ต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ในด้านพลังงาน พลังงานทดแทน หรือการรักษา สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยความร่วมมือภาคประชาชน ภาครัฐ และรวมถึงกรรมาธิการ เองก็ต้องทำงานอย่างหนักเช่นกัน