สงคราม ตอ.กลาง บังคับให้โลกต้องเลือกข้าง? กูรูเตือน “รบ.ไทย” ยืนให้ถูกที่

“นักวิเคราะห์ทั่วโลก” ฟันธง! บานปลายแน่ เกิดสงครามเต็มรูปแบบในตะวันออกกลาง “อดีตบิ๊กข่าวกรอง” เตือนรัฐบาลไทยอย่าผลีผลาม ชั่งน้ำหนักให้ดี อย่ายืนผิดข้าง!

สงคราม ตอ.กลาง บังคับให้โลกต้องเลือกข้าง? กูรูเตือน “รบ.ไทย” ยืนให้ถูกที่ – Top News รายงาน

ตอ.กลาง

สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ยังคงสู้รบกันอย่างดุเดือด ทั่วโลกต่างจับตาว่าความขัดแย้งอาจขยายพื้นที่ออกไป และก้าวไปถึงสงครามที่เต็มรูปแบบ ขณะที่บ้านเราแม้จะอยู่ห่างไกลจากประเทศคู่ขัดแย้ง แต่ต้องวางจุดยืนให้ดี มิเช่นนั้นอาจส่งผลกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งได้

เรื่องนี้มีความเห็นจาก นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ยืนให้ถูกที่” โดยระบุว่า สงครามในตะวันกลาง การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับอาหรับ จะจบลงอย่างไร ไม่มีใครบอกได้ การสู้รบในฉนวนกาซา บานปลายไปสู่การสู้รบกับฮิสบอเราะห์ ในเลบานอน การตอบโต้ของอิหร่าน ที่ยิงขีปนาวุธข้ามประเทศนับร้อยลูก ใส่อิสราเอล ปฏิกิริยาของอิสราเอล และพันธมิตรตะวันตก จะเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครบอกได้ แต่เชื่อได้แน่ว่า ต้องมีการตอบโต้รุนแรง ในลักษณะเอาคืน มาเท่าไหร่ ไปมากกว่าเป็นเท่าทวีคูณ สงครามการสู้รบในตะวันออกกลางจะขยายตัวลุกลามไปมากน้อยแค่ไหน ยากที่จะประมาณการณ์ แต่แน่นอนว่า ทุกฝ่ายจะต้องแสวงหาพันธมิตรและพวก อิสราเอลมีสหรัฐ และนาโตเป็นพวก อิหร่าน
มีรัสเซียและจีนเป็นพวก ก่อนที่จะเกิดสงครามใหญ่ขยายตัว รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องมีท่าทีให้ชัดเจน อย่ายืนผิดข้าง ไทยมีผลประโยชน์ที่ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี อย่าผลีผลามเข้าผิดทาง การวางตัวเป็นกลางไม่ใช่เรื่องเสียหาย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

บารา ชิบาน นักวิจัยร่วมของ Royal United Services Institute ในลอนดอน ได้แสดงความเห็นกับทางสำนักข่าว AFP หลังอิหร่านยิงขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีอิสราเอลว่า หากพูดถึงสงครามระดับภูมิภาคแบบเต็มรูปแบบ เราก็กำลังเข้าใกล้มันมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน อิสราเอลได้พิจารณาถึงการต่อสู้ทั้งหมดนี้มาหลายครั้งแล้ว โดยพื้นฐานก็คือ การต่อสู้กับตัวแทนของอิหร่าน ซึ่งอิสราเอลก็มักพูดเสมอว่า ต้องยุติเรื่องนี้ให้สิ้นซาก ดังนั้น หากอิสราเอลเลือกจะตอบโต้ ก็มีศักยภาพที่จะโจมตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรื้อถอนโครงสร้างพื้นฐาน ของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ในเลบานอน, การโจมตีฐานทัพ และจุดบัญชาการของ IRGC หรือ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม บางแห่งในซีเรีย, หรือการโจมตีฐานทัพ และจุดบัญชาการในอิรัก

ถ้าเป็นเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน อิหร่านและอิสราเอล อาจจะไม่ต้องการเผชิญหน้ากันโดยตรง แต่ตอนนี้สถานการณ์ดูแตกต่างไปมาก อิสราเอลดูเหมือนว่าจะพร้อมแล้ว และต้องการยกระดับการเผชิญหน้าทางทหารกับอิหร่าน ทั้งนี้ ตนไม่แน่ใจว่า อิหร่านมีทางเลือกใดบ้างในมือ เพราะอิหร่านกำลังสูญเสียความสามารถ ในการเดินหน้าผ่านกลุ่มตัวแทน ซึ่งทำให้เข้าสู่ช่วงใหม่ ที่อิหร่านต้องเข้ามามีส่วนร่วมเอง ส่วนความเป็นไปได้ของข้อตกลงหยุดยิงนั้น จากที่เคยพูดกันว่า เราใกล้จะได้ข้อตกลงหยุดยิงแล้ว แต่ตอนนี้ความสนใจทั้งหมด ได้ไปอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในเลบานอน ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งนี้จะทำให้การเจรจาเกี่ยวกับการหยุดยิงในฉนวนกาซา ล่าช้าออกไป เพราะมันจะเป็นเรื่องที่ยากมากแล้ว ที่จะลงนามข้อตกลงฝ่ายเดียวกับฉนวนกาซา แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้สำหรับเลบานอน

ด้านเจสสิกา เจเนาเออร์ อาจารย์อาวุโสด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัย ฟลิน-เดอร์ ในออสเตรเลีย ได้แสดงความเห็นกับสำนักข่าว CNA ของสิงคโปร์ว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่อิสราเอลจะไม่ตอบสนองต่อขีปนาวุธของอิหร่าน แม้ว่านั่นไม่ใช่สถานการณ์ที่อิสราเอลหรืออิหร่าน หรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ต้องการเห็นก็ตาม อิหร่านกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมาก ที่ต้องเลือกระหว่าง การไม่ต้องการให้ความขัดแย้งกับอิสราเอลรุนแรงขึ้น หรือแสดงการสนับสนุนกลุ่มตัวแทน

สถานการณ์จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในภูมิภาคหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับขอบเขตการปฏิบัติการของอิสราเอลในเลบานอนเป็นสำคัญ หากมีการปฏิบัติการที่ยาวนาน ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทวีความรุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฮิซบอลเลาะห์จะตกอยู่ในความหวั่นเกรง แต่ก็ยังคงมีนักรบที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วหลายหมื่นคน และอิสราเอลก็ไม่มีศักยภาพทางทหารพอ ที่จะต่อสู้ใน 2 แนวรบได้ หากอิสราเอลและอิหร่านเกิดความขัดแย้ง สถานการณ์อาจเลวร้ายลง และต้องแลกมาด้วยต้นทุน ที่ไม่มีใครต้องการจะคิด เนื่องจากสหรัฐ อาจเข้าไปพัวพันด้วย

ขณะที่ เจอรัลด์ ไฟเออร์-สไตน์ นักวิจัยอาวุโสที่โดดเด่น จากสถาบันตะวันออกกลางในสหรัฐ ก็ได้แสดงความเห็นกับ CNA เกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐว่า น่าจะมีการหารือทางอ้อมแบบลับๆ ระหว่างสหรัฐและอิหร่าน แม้ว่าทั้ง 2 จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี 1980 เพื่อจำกัดไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัว เพราะทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น

ด้าน ไรอัน โบลห์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านตะวันออกกลางจากเครือข่าย RANE ก็ได้กล่าวกับ CNA ว่า แก่นแท้ของเรื่องนี้ ยังคงเกี่ยวกับกาซา หากไม่มีการแก้ไขปัญหาฉนวนกาซา ความขัดแย้งในระดับอื่นๆ เหล่านี้ ก็จะยังคงโหมกระพือให้ความขัดแย้งลุกลามต่อไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสหรัฐนั้น แม้ว่ายังคงเป็นพันธกับมิตรอิสราเอล แต่สหรัฐก็อาจถูกบังคับให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมอิสราเอล หากความขัดแย้งขยายตัว จนก่อให้เกิดแรงกระแทกทางภูมิรัฐศาสตร์ และส่งผลต่อราคาน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการเลือกตั้งสหรัฐ ใกล้เข้ามา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น