ความมั่นคงที่ควรเอาใจใส่ : ปกรณ์ นิลประพันธ์

ความร้อนแรงในดินแดนทะเลทราย ทำให้ต้องคิดถึงความมั่งคงอย่างมาก โดยเฉพาะ “ความมั่นคงทางพลังงาน” เนื่องจากเรานำเข้าน้ำมันและก๊าซเกือบทั้งหมด แล้วนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการคมนาคม

TOP News  โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์  สมัยผมเด็ก ๆ ยังจำได้ ในปี 1973 (2516) เกิดสงครามยม คิปปูร์ ระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับรอบ ๆ น้ำมันขาดแคลนราคาพุ่งสูงมาก มีสตางค์ก็หาซื้อน้ำมันไม่ได้ ตอนนั้นถึงกับต้องออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อจัดสรรปันส่วนน้ำมันกันทีเดียว ปี 1979 (2522) เกิดปฏิวัติในอิหร่าน นั่นก็อีกรอบหนึ่ง ยังดีว่าช่วงนั้นบ้านเรากำลัง transform จากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โรงงานปิดก็ยังกลับบ้านไปทำไร่ทำนาเก็บผักกินได้ ไฟฟ้าก็ยังไม่ทั่วถึง ติด ๆ ดับ ๆ กันตลอด จุดเทียนกันจนชิน พลังงานไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างเดี๋ยวนี้ ถ้าเกิดเหตุไม่คาดหมายขึ้นมาในตะวันออกกลางในช่วงนี้ และไม่มีน้ำมันสักหยดออกมาจากตะวันออกกลางตามที่มีการขู่กัน คงเดือดร้อนกันไปทั่วทุกหัวระแหง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ความมั่นคงทางอาหาร” ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าเรามั่นคงจริง บ้านเมืองเปลี่ยนไปมาก ดินดำน้ำชุ่ม ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มันกลายเป็นภาพจำ ไม่ใช่ภาพจริง ภาพจริงคือที่ดิน เรือ สวน ไร่ นา กลายเป็นถนน เป็นหมู่บ้าน เป็นคอนโด หมดแล้ว ไม่มีผักบุ้งให้เก็บ ไม่มีกระถินริมรั้วให้เก็บ ไม่มีดอกโสนให้เก็บ อยากกินปลาก็คว้าเบ็ดไปตกปลาในสวน ในคลอง อย่างตอนผมเด็ก ๆ แล้ว

ความมั่นคงทั้งสองด้านนี่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจทั้งหลายทั้งปวง เราไม่ค่อยให้ความสนใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนอกบ้านเรามากนัก ทั้งที่มันส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนหลายสิบล้านคน และต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อภาครัฐด้วย เราสนใจเรื่องการเมืองและผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเรื่องส่วนรวมเหล่านี้

 

ประเทศใหญ่ ๆ เขาให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงทั้งสองด้านนี้มาก อเมริกาหรือรัสเซียมีน้ำมันสำรองมาก มีพื้นที่เพาะปลูกมาก แถมยังมีนิวเคลียร์ไว้เป็นยันต์กันผี จีนประชากรเยอะ ทรัพยากรในประเทศมีจำกัด เขาก็พยายามเปิดเส้นทางไปยังแอฟริกาเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และไปยังออสเตรเลียเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แถมมียันต์นิวเคลียร์ด้วย เมื่อสองเรื่องนี้มั่นคงแล้ว เรื่องอื่นมันจะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นความอยู่ดีกินดีของประชาชน ความสามารถในการแข่งขัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศใหญ่ ๆ จึงเน้นสองเรื่องนี้เป็นหลัก

ประเทศเล็ก ๆ อย่างเราจะสถาปนาความมั่นคงที่ว่านี้ขึ้นได้อย่างไรเพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้มีความผาสุก ผมว่าเราควรใช้เวลาและความอุตสาหะในเรื่องนี้มากขึ้น

น่าจะดีกว่าหมกมุ่นในเรื่องเดิม ๆ ที่รังแต่จะเกิดความวุ่นวายตามมาอีก.

ผ่าจุดอ่อนสังคมไทย “รากลอย” ฝ่าวิกฤตการเมืองโลกแบ่งขั้ว | TOPNEWS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี "เชน ธนา-ภรรยา" ถูกกล่าวหาฉ้อโกง 29 พ.ย.นี้
“ลุงป้อม” ปัดตอบปม “สิระ” อ้างคนในป่าต่อสายช่วย “สามารถ”
"ทนายพจน์" ยื่นหนังสือสำนักพุทธฯ จี้คณะสงฆ์แจ้ง "พระปีนเสา" สละสมณเพศ หลังถูกขับพ้นวัดวังกวาง
ตร.นำกำลังทลายแคมป์ "แรงงานต่างด้าวเถื่อน" นับร้อย ย่านหนองใหญ่-ชลบุรี เตรียมผลักดันออกนอกประเทศ
‘โฆษก ทบ.’ แจง ‘เจ้ากรมยุทธฯ’ ทำร้ายทหาร เหลือสอบพยาน 2-3 ราย ทำได้แค่ตักเตือน ส่วนคดีอาญา เจ้าทุกข์ต้องดำเนินการ
"อ.ปานเทพ"กางเอกสาร JC2544 อ้างไทย-กัมพูชา เคยรับรอง MOU 44 เป็นสนธิสัญญา
"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น