DNA ปลาหมอคางดำยังเคลือบแคลง ไทยนำเข้าจาก “กานา” ประเทศเดียวจริงหรือ?

DNA ปลาหมอคางดำยังเคลือบแคลง ไทยนำเข้าจาก “กานา” ประเทศเดียวจริงหรือ?

แม้ว่าคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย (อนุ กมธ.อว.) ที่มี นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง เป็นประธาน และมีการแถลงผลการศึกษาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ยืนยันว่า ปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ที่พบระบาดในประเทศไทย พบเอกชน 1ราย นำเข้า-ต้นตอแหล่งเดียวกัน โดยอ้างถึงการเปรียบเทียบพันธุกรรมของปลาล่าสุดของกรมประมง

อย่างไรก็ตาม จากรายงานล่าสุดของกรมประมง ที่นำข้อมูลลำดับพันธุกรรมของปลาหมอคางดำที่ระบาดใน 6 จังหวัดซึ่งเก็บอยู่ในธนาคารพันธุกรรมหรือ DNA Bank ของกรมฯ มาเทียบเคียงกับฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ พบว่าปลาหมอคางดำที่เก็บตัวอย่างจาก 6 จังหวัดที่มีรายงานการระบาดในช่วง พ.ศ.2560-2564 อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับตัวอย่างข้อมูลทางพันธุกรรมที่มาจากประเทศกานาและโกตดิวัวร์

เมื่อผลออกมาว่า DNA ของปลาหมอคางดำมาจาก 2 ประเทศ เหตุใดอนุ กมธ.อว. จึงยืนยันกับสังคมว่ามีผู้นำเข้าเพียง 1 ราย และปลาหมอคางดำที่ระบาดในไทยมาจากกานา โดยไม่พูดถึงประเทศโกตดิวัวร์ ทั้งที่หลักฐานถูกพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปขยายความจริงได้มากกว่านี้ แต่คณะอนุกรรมาธิการทั้งคณะไม่มีผู้ใดตั้งข้อสังเกตหรือทักท้วงในประเด็นนี้เลย..ทั้งที่มีโอกาสสูงเช่นกันที่ปลาจะมาจากประเทศโกตดิวัวร์ การให้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนจึงทำให้สังคมมีข้อสงสัย

ข่าวที่น่าสนใจ

ในวันที่ 24 กันยายน 2567 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ลำดับพันธุกรรม DNA ของตัวอย่างปลาหมอคางดำที่ระบาดในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับปลาหมอคางดำที่พบในประเทศต่างๆ ของทวีปแอฟริกา มีความใกล้เคียงกับที่พบในประเทศกานาและประเทศโกติวัวร์ (ไอวอรี่โคสต์) แต่ข้อมูลยังไม่มากเพียงพอที่จะฟันธงได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศกานาเพียงประเทศเดียว รวมถึงยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าปลาจะต้องมาจากบริษัทดังกล่าวบริษัทเดียวเท่านั้น เนื่องจากอาจมีบริษัทอื่นที่ลักลอบนำเข้าปลาจากทวีปแอฟริกาอีก แต่ไม่ได้แจ้งขออนุญาตก็เป็นไปได้

รศ.ดร.เจษฎา ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าค่าเฉลี่ยความแตกต่างทางพันธุกรรม (Genetic distance) จากกลุ่มตัวอย่างของ 6 จังหวัดในไทย มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจากตัวอย่างของแต่ละประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นอย่างมาก (0.0033 เทียบกับ 0.0078-0.035) และค่าความเชื่อมั่น (bootstrap) ในกิ่งย่อยๆ ของแผนภูมิต้นไม้ NJ tree (neighbor-joining tree) ระหว่าง กานา-โกตดิวัวร์-ไทย มีค่าต่ำมาก ทำให้ไม่สามารถยืนยันคำตอบได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศกานาเท่านั้น

ช่วงเวลานี้ ผู้เชี่ยวชาญของกรมประมงที่เคยทำการศึกษาวิจัยระยะห่างทางพันธุกรรม (Genetic Distance) ของกลุ่มประชากรปลาหมอคางดำ ถึง 2 ครั้ง ในปี 2563 (ด้วยวิธี Microsatellite DNA 5 ตำแหน่ง) และ 2565 (ด้วยวิธี Mitochondrial DNA ที่ตำแหน่ง D-loop) ควรออกมาแปลผลการศึกษาเปรียบเทียบพันธุกรรมล่าสุด ขยายความให้สังคมเข้าใจอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา เอาประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญปลาหมอคางดำที่นำมาตรวจสอบพันธุกรรมนี้เป็นการเปรียบเทียบกับตัวอย่างปลาที่กรมประมงเก็บไว้ในปี 2560 ไม่ใช่ตัวอย่างปลาที่บริษัทเอกชนนำเข้าในปี 2553 ซึ่งอาจจะมีผลต่อผลการศึกษาล่าสุด

นอกจากนี้ ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังต้องการความกระจ่างจากกรณีการส่งออกปลาหมอคางดำช่วงปี 2556-2559 ของ 11 บริษัท มากกว่า 3 แสนตัว ไปยัง 17 ประเทศ เพราะมีแต่การยืนยันว่าเป็นการกรอกเอกสารผิดพลาดของบริษัทชิปปิ้ง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกรมประมงให้ข้อมูลว่าพบความผิดพลาด 212 ครั้ง แต่กลับไม่มีการตรวจสอบอย่างละเอียดให้ชัดเจนว่าปลาที่ส่งออกไปใช่หรือไม่ใช่ปลาหมอคางดำ และเหตุใดจึงกรอกผิดพลาดเหมือนกันหมด แต่กลับเชื่อตามที่ 5 บริษัทส่งออกมาชี้แจงกับอนุ กมธ. อว. เท่านั้น เห็นได้ว่าต่างจากการสืบหาต้นตอปลาหมอคางดำที่พยายามใช้ทุกวิถีทางเพื่อพิสูจน์ต้นกำเนิดของปลาว่ามาจากประเทศอะไร เพราะมีหลักฐานการนำเข้าจากประเทศกานาเพียงประเทศเดียว สังคมจึงยังเคลือบแคลงใจแล้ว DNA ของปลาจากโกตดิวัวร์มาจากไหน? แม้ทั้ง 2 ประเทศจะอยู่ติดกันแต่ก็ห่างกันไม่น้อยกว่า 400-500 กิโลเมตร  บริษัทเอกชนคงไม่เพิ่มต้นทุนเพื่อไปนำเข้าปลาจากโกตดิวัวร์เพิ่มแน่นอน

กรณีปลาหมอคางดำ ต้องจับตาดูว่าจะอวสานอย่างไร แต่สิ่งสำคัญขณะนี้ คือ กรมประมงจะขับเคลื่อนให้แผนปฏิบัติการปราบปรามปลาได้อย่างเป็นระบบและเข้มแข็งได้นานเท่าไร เพื่อลดปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเดินหน้าต่อแผนระยะกลาง คือการปล่อยปลาผู้ล่าและใช้เทคโนโลยี e-DNA สำรวจความหนาแน่นของปลาในแหล่งน้ำ เพื่อวางแผนป้องกัน และระยะยาว คือ การเหนี่ยวนำทางพันธุกรรมทำให้ปลาไม่สามารถวางไข่ได้ หรือ ทำการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขสารพันธุกรรมของปลาแบบเฉพาะเจาะจง (Genome editing)

โดย : สินี ศรพระราม นักวิชาการอิสระ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น