“วันนอร์” แนะหาข้อสรุป “ร่างประชามติ” ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ยึดผลประโยชน์ประชาชน

"วันนอร์" แนะหาข้อสรุป "ร่างพ.ร.บ.ประชามติ" ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ขอ "สส.-สว." ถอยคนละก้าว ยึดผลประโยชน์ประชาชน รับทำประชามติ 3 ครั้ง เสี่ยงน้อย

“วันนอร์” แนะหาข้อสรุป “ร่างประชามติ” ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ยึดผลประโยชน์ประชาชน – Top News รายงาน

วันนอร์

 

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วุฒิสภา(สว.) ส่งร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประชามติ กลับมาในรูปแบบ ทำประชามติ2ชั้น ว่า จะต้องนำกลับมาพิจารณาในสภาฯซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้นก็จะปิดสมัยประชุมดังนั้นสภาจึงจะต้องเร่งพิจารณาว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันสองสภาเพื่อพิจารณา จึงเห็นว่าควรได้ข้อยุติในเบื้องต้นภายในสมัยประชุมนี้ เพื่อจะใช้เวลาในช่วงสมัยประชุมในการพิจารณาหาข้อยุติ ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตั้งคณะกรรมาธิการร่วม โดยเมื่อมีการแก้ไขก็มักจะใช้กันไปก่อน เว้นแต่มีข้อขัดแย้งกันจริงๆ ซึ่งตนเห็นว่าแล้วแต่วิปรัฐบาลจะเลือกใช้วิธีใด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่สิ่งสำคัญกฎหมายการทำประชามติจะต้องมี และทางออกที่ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชนควรจะต้องมีการประนีประนอม แทนที่จะไปนับหนึ่งใหม่ แต่ขณะเดียวกันจะต้องมีความสมดุลในการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายด้วย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“เป็นเรื่องไม่ยากหากคุยกันแล้วมีความปรารถนาดี และหวังดีต่อประเทศชาติ เชื่อว่าประเทศชาติเดินไปข้างหน้าได้ประชาชนมีความเชื่อมั่น ดังนั้น แต่ละฝ่ายควรถอยคนละก้าวสองก้าวก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้กับประชาชน ดังนั้น เสียเวลาคุยกัน เพื่อให้จบโดยมีเป้าหมายคือทำประชามติให้ได้แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ดีกว่า โดยคุยกันตั้งแต่ตอนแรกว่าจะตั้งคณะกรรมาธิการร่วมหรือไม่ตั้ง ผมเชื่อว่าคุยกันได้” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

เมื่อถามว่าทางคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ยืนยันที่จะให้กลับไปใช้ร่างของสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาฯ กล่าวว่า ตนเดาไม่ถูกเนื่องจากวิปรัฐบาลจะต้องฟังเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วย ส่วนกรณีที่ยังยังคงมีข้อถกเถียงว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 รอบนั้น ยังคงไม่มีข้อยุติ และไม่มีใครบอกได้ว่า จะต้องทำกี่รอบเพราะเคยถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่ศาลไม่ตอบ แต่ขอให้ไปดูคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ว่าชัดเจนแล้ว จึงทำให้ เกิดการตีความที่แตกต่างว่า ต้องทำ2รอบ หรือ3รอบ

“ส่วนตัวมองว่าทำ3รอบก็ไม่เสี่ยง เพราะหากทำ2รอบเสร็จแล้ว หากมีคนไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขณะนั้นก็ไม่ทราบว่าศาลจะตีความอย่างไร” นายวันมูหะมัดนอร์ ระบุ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น