ท่วมท้น มติสภาฯ 348 เสียง แย้งแก้เกณฑ์ประชามติ สว.ตั้งกมธ.ร่วมสองสภาฯ 28 คน

ท่วมท้น มติสภาฯ 348 เสียง แย้งแก้เกณฑ์ประชามติ สว.ตั้งกมธ.ร่วมสองสภาฯ 28 คน

Top news รายงาน วันที่ 9 ต.ค.67 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯ คนที่สอง เป็นประธานในที่ประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่สว.แก้ไขเพิ่มเติม และได้ส่งคืนให้สภาฯ พิจารณา ตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อ 137 โดยสส.ต้องลงมติว่าจะเห็นด้วยกับสว.หรือไม่

ทั้งนี้มีสส.ที่อภิปรายแสดงความเห็น ทั้ง พรรคประชาชน พรรคเพื่อไทย อภิปรายเห็นแย้งกับบทบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไข ในประเด็นเกณฑ์การผ่านประชามติซึ่งกำหนดให้การทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น คือ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินหนึ่งของผู้มีสิทธิ และ ผลการลงมติเห็นชอบต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ เพราะมองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดความยุ่งยากต่อการใช้บังคับและงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้เห็นว่าแม้สส.ไม่เห็นชอบกับวุฒิสภาแก้ไข สามารถเร่งรัดเวลาการพิจารณาในชั้นของกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อให้มีกฎหมายประชามติฉบับใหม่ทันใช้บังคับตามไทม์ไลน์ของการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญรอบแรก ในเดือนก.พ.68

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่ สส.ของพรรคภูมิใจไทยที่ลุกอภิปรายและเห็นต่างออกไป โดย น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่าเป็นธรรมดาที่จะเห็นแตกต่างกัน ซึ่งการใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2ชั้นนั้น คล้ายกับร่างของพรรคภูมิใจไทยที่เสนอต่อสภาฯ สำหรับการแก้ไขเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนมองว่าจำเป็นต้องสะท้อนให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยมากขึ้น และเป็นหลักประกันที่การทำประชามติในเรื่องกฎหมายสูงสุดและกติกาสำคัญต้องได้รับความเชื่อถือ ทั้งนี้การเลือกตั้งท้องถิ่นยังมีข้อกำหนดเกณฑ์ให้มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 10%

“เกณฑ์ผ่านประชามติจะใช้เกณฑ์เดียว สามารถทำได้ และไม่ต้องทำเกณฑ์เดียวก็ได้ ไม่ติดใจ แต่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกติกาปกครองประเทศ ดังนั้นต้องมีความละเอียดอ่อน เชื่อถือ มั่นใจได้ ที่ผ่านมาการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญพบว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกิน 50% ดังนั้นหากไม่กำหนดอะไรไว้จะได้รับความน่าเชื่อถือได้อย่างไร หากสภาฯ เห็นด้วยกับสว.จะไม่มีปัญหา แต่หากไม่เห็นด้วย จะทำให้ล่าช้า กินเวลาไปหลายเดือนเพราะใช้เวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นค่อนข้างมาก” น.ส.มัลลิกา อภิปราย

ขณะที่ น.ส.แนน บุณย์ธิดา สมชัย สส.อุบลราชธานี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า พรรคภูมิใจไทยเห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่แก้หมวดหนึ่ง หมวดสอง ทั้งนี้ การแก้ไขของสว. นั้นพอรับฟังได้ เพราะการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหนทางที่สง่างาม และได้ผลการทำประชามติที่มากพอ หากไม่เซ็ตอะไรไว้ จะใช้สิทธิอะไรอ้างว่าสมควรแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญย เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผู้คนออกมาใช้สิทธิ์ถึง 29 ล้านคน มีผู้เห็นด้วย 16 ล้านคน ไม่เห็นด้วย 10 ล้านคน ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญต้องมีความง่างาม

“การไม่กำหนดเสียงขั้นต่ำ หรือ เกินกึ่งหนึ่ง พรรคภูมิใจไทยเห็นว่า สง่างามและสวยและเป็นข้ออ้างดีที่สุด คือ กำหนดเสียงขั้นต่ำ คือ กึ่งหนึ่ง หากมีการตั้งกมธ.ร่วมสองสภาฯ ในชั้นกมธ. จะบอกว่ากังวลเกณฑ์เยอะเกินไป สามารถใช้เสียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน4 ก็ได้ ไม่ใช่ปล่อยไปเลย หากไม่เซ็ตเสียงไว้ ในเรื่องต่างๆ อาจมีคนออกมาใช้สิทธิแค่ล้านคน จะอ้างได้อย่างไรว่าเป็นการทำประชามติของประเทศ สิ่งที่สว.แก้ไขมาพอรับฟังได้” น.ส.แนน บุณย์ธิดา อภิปราย

ทั้งนี้ ในการอภิปรายตอนหนึ่งของ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนสนับสนุนสภาฯ ให้ยืนยันหลักการที่รับไปแล้ว ส่วน สว. จะรับหลักการหรือไม่ไปเจรจากันเอง คิดว่าทำได้ หากไม่ทำจะเสียหาย ต่อให้มีใบสั่งมา ไม่เชื่อว่าจะรอดตาประชาชนได้ พรรคที่กลับไปกลับมาจะเสียหาย ยขาดความศรัทธาจากประชาชน ผลจะออกมาในกาเลือกตั้งทั่วไป ว่าพรรคนั้นเชื่อถือไม่ได้ ขอให้คุยกันอีกรอบ เจรจาให้ได้ เสียเวลาอย่างไรก็ช่างมัน เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องระมัดระวัง เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมาก การแก้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับประชาชนจะทำให้ก้าวข้ามความขัดแย้ง บ้านเมืองชัดเจนและพัฒนาเจริญรุ่งเรือง

 

ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายตอนหนึ่งว่าหากกำหนดเกณฑ์เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง2 ชั้น เท่ากับว่าจะนับรวมผู้ลงมติไม่เห็นชอบกับคนที่ไม่ออกมาใช้สิทธิรวมกันปิดประตูตอกฝาโลงแก้รัฐธรรมนูญ หากจะเปิดประตู ต้องทำประชามติอย่างเดียวกันกับประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ตั้งเกณฑ์ใช้เสียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4

หลังจากที่สส. ได้อภิปรายจนครบ จึงได้ลงมติ พบว่าเสียงข้างมาก 348 เสียง ไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภา ทั้งนี้พบว่ามีงดออกเสียง 65 เสียง จากนั้นได้ตั้งกมธ.ร่วม จำนวน 28 คน โดยสัดส่วน สส.14 คน อย่างไรก็ดีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง แย้งว่า จำนวนดังกล่าวหากได้เสียงเท่ากันใครจะตัดสิน แต่วิปรัฐบาลยืนยันจำนวนกมธ.เท่าเดิม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” ขออย่าเหมาคดียิง “สจ.โต้ง” ไม่ปราบปรามผู้มีอิทธิพล ย้ำมท.ลุยจัดการ ทุกสิ่งผิดกม.
บุกค้นอู่ สจ.อุ๊ คนสนิทโกทร หาหลักฐานเชื่อมโยง คดีสังหาร สจ.โต้ง 
กต.เปิดเวทีหารือ 6 ประเทศ เป็นสะพานเชื่อมสันติภาพ "มาริษ" เผยข่าวดี เมียนมายืนยันปล่อย 4 ลูกเรือไทยเร็วๆ นี้
กองทัพอาระกันเรียกร้องทหารเมียนมายอมแพ้ขณะยึดยะไข่
"บิ๊กต่าย" ปัดลอยตัวปมรพ.ตร.เอื้อ‘ทักษิณ’นอนชั้น 14 ลั่นหาก ป.ป.ช.มีมติว่าผิดลงโทษได้ ไม่ต้องตั้งกก.สอบอีก
“อดิศร” ไหว้ขอโทษ รทสช.กลางสภาฯ หลังพาดพิงบอกสส.ไม่มาประชุมสักคน
"อั้ม อธิชาติ" เปิดใจครั้งแรก ปมเลิก "นัท มีเรีย" จบความสัมพันธ์ 15 ปี เพราะอะไร
“ประเสริฐ” สั่งเข้มป้องกัน-ลดอุบัติเหตุปีใหม่ 2568 บังคับใช้กม. จัดการ “เมาแล้วขับ” ขั้นเด็ดขาด
นายกฯ เชื่อ "ทำประชามติ" ทันรัฐบาลชุดนี้ ย้ำไม่ต้องคุย ภท. หลังโหวตสวน
ทัพอากาศเยี่ยมชมศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น