“ภท.” จับมือ “สว.” ตอกฝาโลงปิดตายแก้รัฐธรรมนูญ หัก “พท.-พรรคส้ม” ฝันสลาย

"ภท." จับมือ "สว." ตอกฝาโลงปิดตายแก้รัฐธรรมนูญ หัก "พท.-พรรคส้ม" ฝันสลาย

TOP News เริ่มได้กลิ่นความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล เพราะพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เอียงข้าง “วุฒิสภา” วางสนุ๊กรัฐบาลเพื่อไทย ดับฝัน “พรรคก้าวไกลเดิม” หรือ พรรคประชาชนที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ /เหตุเกิดขึ้นระหว่างการประชุมรัฐสภา “ภราดร ปริศนานันทกุล” แกนนำพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เป็นร่างกฎหมายที่ “วุฒิสภา” ตีกลับมา / ในประเด็นเกณฑ์การผ่านประชามติซึ่งกำหนดให้การทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น คือ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ / และผลการลงมติเห็นชอบต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ ประเด็นดังกล่าว พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน มองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดความยุ่งยากตามมา และจะทำให้ไม่มีกฎหมายประชามติฉบับใหม่ บังคับใช้ได้ทันตามไทม์ไลน์ของการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญรอบแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เริ่มที่ความเห็นของ “พริษฐ์ วัชรสินธุ” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายเห็นแย้งกับการแก้ไขของวุฒิสภา เพราะกติกาเสียงข้างมาก 2 ชั้นกลับจะเป็นกติกาที่ไปเพิ่มแรงจูงใจให้คนบางกลุ่มไม่ออกมาใช้สิทธิออกเสียง และทำให้คนออกมาใช้สิทธิออกเสียงมีแนวโน้มจะลดน้อยลง และ เห็นว่าควรใช้กติกาแบบเสียงข้างมาก 1 ชั้น ไม่ใช่เพื่อจะทำให้ประชามติผ่านง่ายขึ้น  แต่เพื่อให้กติกาสำหรับการทำประชามติในทุก ๆ เรื่องที่มีความเป็นธรรมระหว่างฝ่ายที่อยากเห็นประชามติผ่านกับฝ่ายที่ไม่อยากเห็นประชามติผ่าน จะเป็นกติกาประชามติที่ไม่เปิดช่องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากการรณรงค์ให้คนไม่ออกมาใช้สิทธิ แต่เป็นกติกาประชามติที่ทำให้ทุกฝ่ายมีแรงจูงใจในการรณรงค์เชิงความคิดและเชิญชวนคนที่คิดคล้ายๆ กันให้ออกมาลงคะแนนเสียงให้เยอะที่สุด เพื่อให้สังคมใช้คูหาประชามติเป็นช่องทางในการหาข้อสรุปร่วมกัน ว่าสังคมนั้นจะเดินไปในทิศทางไหน

ขณะที่ สส.ของพรรคภูมิใจไทย ที่ลุกอภิปรายและเห็นต่างกับพรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย โดยเห็นด้วยกับที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมที่ให้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น อาทิ “มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช” สส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า จำเป็นต้องสะท้อนให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยมากขึ้น และเป็นหลักประกันที่การทำประชามติในเรื่องกฎหมายสูงสุดและกติกาสำคัญต้องได้รับความเชื่อถือ  ดังนั้นต้องมีความละเอียดอ่อน เชื่อถือ มั่นใจได้ ที่ผ่านมาการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญพบว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกิน 50%

ขณะที่ “แนน บุณย์ธิดา สมชัย” สส.อุบลราชธานี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า พรรคภูมิใจไทยเห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่แก้หมวดหนึ่ง หมวดสอง ทั้งนี้ การแก้ไขของ สว.นั้นพอรับฟังได้ เพราะการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหนทางที่สง่างาม และได้ผลการทำประชามติที่มากพอ /หากไม่เซ็ตอะไรไว้ จะใช้สิทธิอะไรอ้างว่าสมควรแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผู้คนออกมาใช้สิทธิ์ถึง 29 ล้านคน /มีผู้เห็นด้วย 16 ล้านคน ไม่เห็นด้วย 10 ล้านคน ดังนั้น การแก้รัฐธรรมนูญต้องมีความสง่างาม

ด้าน “เชิดชัย ตันติศิรินทร์” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุนสภาฯ ให้ยืนยันหลักการที่รับไปแล้ว ส่วน สว.จะรับหลักการหรือไม่ไปเจรจากันเอง คิดว่าทำได้ หากไม่ทำจะเสียหาย ต่อให้มีใบสั่งมา ไม่เชื่อว่าจะรอดตาประชาชนได้ พรรคที่กลับไปกลับมาจะเสียหาย ขาดความศรัทธาจากประชาชน ผลจะออกมาในกาเลือกตั้งทั่วไป ว่าพรรคนั้นเชื่อถือไม่ได้ ขอให้คุยกันอีกรอบ เจรจาให้ได้ เสียเวลาอย่างไรก็ช่างมัน เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องระมัดระวัง เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมาก การแก้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับประชาชนจะทำให้ก้าวข้ามความขัดแย้ง บ้านเมืองชัดเจนและพัฒนาเจริญรุ่งเรือง

ขณะที่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายตอนหนึ่งว่า หากกำหนดเกณฑ์เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น เท่ากับว่าจะนับรวมผู้ลงมติไม่เห็นชอบกับคนที่ไม่ออกมาใช้สิทธิรวมกันปิดประตูตอกฝาโลงแก้รัฐธรรมนูญ หากจะเปิดประตู ต้องทำประชามติอย่างเดียวกันกับประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา

“อนุทิน​ ชาญวีรกูล” ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ชี้แจงเหตุผลที่พรรคภูมิใจไทยงดออกเสียงลงมติร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เพราะการรับฟังความคิดเห็นจากวุฒิสภา และทุกภาคส่วน เป็นสิ่งที่พรรคภูมิใจไทยให้ความสำคัญ​ และการปรับปรุง​กระบวนการทำประชามติให้สมบูรณ์ก่อน ถือเป็นการเดินหน้าที่รอบคอบ​ ดังนั้น​ การลงประชามติ​ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญของประเทศ ไม่ควรเร่งรัดกระบวนการ เพราะจะมีผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว​ ดังนั้น การงดออกเสียงของภูมิใจไทย​ จึงเป็นการส่งสัญญาณว่า ควรมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและให้รอบคอบที่สุด​ เพื่อให้มั่นใจว่า​กระบวนการทำประชามติในอนาคต จะเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนสามารถไว้วางใจได้

พิจารณาตามรูปการณ์ ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ฝันสลายแก้รัฐธรรมนูญ เพราะ “พรรคภูมิใจไทย” เอียงข้าง “วุฒิสภา” การทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญต้องใช้เกณฑ์ทำประชามติ 2 ชั้น ดับฝันการแก้รัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย ใช่หรือไม่?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมืองพัทยา รับมอบรถไฟฟ้า EV นำร่องทดลองวิ่ง สร้างมาตรฐานกำหนดเกณฑ์ราคากลางให้ท้องถิ่น พร้อมขับเคลื่อนนโยบาย Pattaya Go Green
“ดร.เสรี” ชำแหละบทบาทหน้าที่ "พรีเซนเตอร์" จะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ แม้อ้างเป็นแค่ลูกจ้าง ก็ฟังไม่ขึ้น
“บิ๊กอ้วน” เผย 3 ขั้นตอน เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ยันมีมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมในทุกพื้นที่
"สคบ." ลงพื้นที่ด่วน ตรวจสอบบริษัท “ดิไอคอนกรุ๊ป” หลังลูกข่ายแห่แจ้งจับ ชักชวนร่วมลงทุน ทำสูญเงินหลักล้าน
"มิน พีชญา" แถลงปม 'ดิ ไอคอน' เป็นแค่พีอาร์-พรีเซ็นเตอร์ ยอมรับตรวจสอบไม่มากพอ พร้อมขอยกเลิกสัญญาทั้งหมด
ตร.จ่อออกหมายจับบอสและดารา ‘ดิ ไอคอน’ พัวพันธุรกิจขายตรง ส่งบัญชีธนาคารให้ปปง.ตรวจสอบแล้ว
“ซาบีดา” เผยสภาพจิตใจเด็กเหตุรถบัสไฟใหม้ อาการค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ
ซุ้ม "พท." ถล่มมือปืนรับจ้างซุ้ม "พปชร." เป่าหัวผู้ขวางทางเดินนาย
"ภท." จับมือ "สว." ตอกฝาโลงปิดตายแก้รัฐธรรมนูญ หัก "พท.-พรรคส้ม" ฝันสลาย
ลั่นกลองรบ! ศึกชิงเมืองเสื้อแดง "พท." หวังตรึงฐานที่มั่น "พรรคส้ม" หวังฟลุ๊คขี่พายุส้ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น