“สนธิญา” ร้องสอบ “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” – บริษัทขายตรง 100 เเห่ง พร้อมแนะ “ผู้เสียหาย”  อย่าเซ็นยอมความ

"สนธิญา สวัสดี" เรียกร้องตำรวจเร่งทำคดีแชร์ลูกโซ่ พร้อมชวนผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อธุรกิจแชร์ลูกโซ่หรือขายตรง ไม่ใช่แค่ The Icon ให้มาแจ้งความเอาผิด พร้อมแนะผู้เสียหาย ดิ ไอคอน อย่าเซ็นยอมความ ยืนยันไม่ได้ออกมาเพราะหิวแสง เผยแม่ยายตนเองก็เคยตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่เช่นกัน

“สนธิญา” ร้องสอบ “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” – บริษัทขายตรง 100 เเห่ง พร้อมแนะ “ผู้เสียหาย”  อย่าเซ็นยอมความ – Top News รายงาน

สนธิญา

 

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2567 นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมายื่นเรื่องต่อ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบและสอบสวนพฤติกรรมของบริษัทขายตรงในประเทศไทยที่มีมากกว่า 100 แห่ง ทั้งที่เป็นบริษัทจากต่างประเทศและบริษัทภายในประเทศว่า ได้ดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เพราะตนมีข้อมูลว่า หลายบริษัทไม่ต่ำกว่า 35 บริษัทที่มีลักษณะพฤติกรรมคล้ายคลึงกับ The Icon Group ต้องหาลูกข่ายมาซื้อสินค้าไปขายคล้ายลูกโซ่และก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่างกัน ซึ่งส่วนตัวครอบครัวก็เคยมีประสบการณ์ถูกบริษัทขายตรงเจ้าอื่น ๆ หลอกและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นหลักแสนเช่นเดียวกัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ตนจึงมองว่า จากกรณีของ The Icon Group ทางเจ้าหน้าที่รัฐจึงควรจะต้องลงมาตรวจสอบอย่างจริงจังกับบริษัทขายตรงทุกบริษัท หากบริษัทไหนที่ทำดีอยู่แล้วตามกฎหมายก็ไม่เป็นไร แต่หากพบมีผู้เสียหายจากบริษัทเหล่านั้น ก็ควรจะต้องดำเนินการตรวจสอบว่ามีความผิดหรือไม่

โดยตนเรียกร้องให้ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นเคสของ The Icon หรือเคสบริษัทใดก็ตามเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศและขอให้สำนักงานตรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้สถานีตำรวจทั่วประเทศต้องรับแจ้งความคดีความเสียหายจากบริษัทขายตรงทุกกรณีด้วย โดยไม่มีข้อยกเว้น นอกจากกรณี The Icon

ทั้งนี้ นายสนธิญาเชื่อว่า ภายใน 2 สัปดาห์นี้ คดี The Icon จะเข้าสู่คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษอย่างแน่นอน เพราะมูลค่าความเสียหายเชื่อว่าน่าจะเข้าหลักเกณฑ์ที่เป็นคดีพิเศษได้ โดยตนเน้นย้ำว่า ผู้เสียหายจาก The Icon Group ทุกคนต้องรวมกลุ่มกันเอาไว้และต้องต่อสู้ให้คดีถึงที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้บริหารของ The Icon Group ควรจะต้องมีสำนึกในการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายในระหว่างการต่อสู้คดี เพราะผู้เสียหายหลายรายแทบสิ้นเนื้อประดาตัวและต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีกว่าจะครบ 3 ศาล ถึงจะสามารถได้รับเงินชดเชยคืน แต่ขอเน้นย้ำว่า ผู้เสียหายต้องไม่เซ็นรับเงื่อนไขยอมความใด ๆ ทั้งสิ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กัมพูชามอบ 1 แสนดอลล์ช่วยเมียนมาย้ำเคียงข้างเมียนมา-ไทย
ทิพยประกันภัยยืนยันการรับประกันภัย อาคาร สตง. ไม่ส่งผลต่อฐานะการเงิน เนื่องจากมีการทำประกันภัยต่อไปยังบริษัทประกันภัยต่อชั้นนำในต่างประเทศถึง 95%
คืบหน้ายอดดับเมียนมา 31 มีนาคมยังอยู่ที่ 1,700 ราย
"ทีปกร" ดวลเพลย์ออฟคว้าแชมป์คลาส C กอล์ฟเยาวชน "สิงห์-กรุงไทย จูเนียร์ กอล์ฟ แชมเปี้ยน" คว้าตั๋วสู่จูเนียร์ เวิลด์ กอล์ฟ แชมเปี้ยนชิพ 2025
“สุริยะ” ลงพื้นที่เกิดเหตุตึก สตง. ถล่ม หลังเกิดแผ่นดินไหว สั่งการ รฟท. ตรวจสอบ-เร่งสำรวจทุกโครงสร้างทั่วประเทศ พร้อมแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย้ำ! ต้องดูแลความปลอดภับประชาชนเป็นอันดับแรก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมทุ่งดอกผักกาดวิวชนบทงามตาในอันฮุย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) แบรนด์เครื่องดื่มคุณภาพดีของจีนรุกตลาดอาเซียนในราคาที่เป็นมิตร
ผู้ว่าฯ ชัชชาติพาทูต 30 ประเทศมาฟังดนตรีในสวนลุมฯ ยืนยันต่อสายตาโลก "กรุงเทพฯ ปลอดภัย"
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) โป๋อ๋าวที่ไห่หนานตั้ง 'เขตปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์'
รัฐบาล'ยูนนาน'ของจีนส่งสิ่งของยังชีพ 7.3 ตันให้เมียนมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น