“ดร.จุฬา” เลขาธิการ EEC มั่นใจ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 68 เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย

"ดร.จุฬา" เลขาธิการ EEC มั่นใจ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 68 เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย

“ดร.จุฬา” เลขาธิการ EEC มั่นใจ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 68 เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย – Top News รายงาน

 

 

หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หรือ กพอ. เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (*สามสนามบิน ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินอู่ตะเภา) โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม เมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท ปรับเป็น จ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตรวจรับวงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน

2. กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ

3. กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป

4. การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้

5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ให้สัมภาษณ์พิเศษ กับ สถานีข่าว Top News ว่า  หัวข้อการพูดคุยกับภาคเอกชน ในการร่วมแก้ปัญหาความล่าช้าของโครงการ เนื่องจากมีการเซ็นสัญญาไป 5 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าด้านการก่อสร้าง

จนปัจจุบันด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงทำให้มีความจำเป็นต้องกลับมาดูเรื่องการปรับแก้สัญญาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ” 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์มันเปลี่ยนเยอะ วิกฤตโควิดทำให้ค่าก่อสร้างแพงขึ้น ปริมาณคนโดยสารเปลี่ยนไป ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนไปเปลี่ยนแปลงไป ก็มีการคุยกันถึงโปรเจคที่เคยคิดว่าจะใช้เงินแบงค์มาช่วย เพราะแบงค์เริ่มมองว่าโครงการที่จะกู้เงินไปแล้ว อาจไม่สามารถคืนเงินแบงค์ได้

จึงมีความพยายามจะคุยตกลงว่าควรทำอย่างไรดีเพื่อให้ไปต่อได้ ภายใต้ข้อตกลง 5 ข้อ ถ้าไปตามนั้นได้แล้วพอไหว โครงการก็จะเดินหน้าไปต่อ โดยภาครัฐต้องมีลักษณะที่ไม่เสียประโยชน์ เพราะที่คุยกันเขาก็คิดว่าเขาทำได้ แต่ถ้าเขาหาหลักประกันไม่ได้ ก็ต้องเลิกรากันแล้วก็เอาคนใหม่มาทำ เพราะเราปล่อยคาราคาซังอึมครึมแบบนี้ มันเสี่ยง มันไม่ได้มีอะไรได้ประโยชน์เลย มีแต่ทำให้เกิดความเสียหาย”

 

ทั้งนี้ ดร.จุฬา ยังระบุว่า โดยหลักการ ทาง กพอ.อยากให้ทุกอย่างไปต่อได้ เพราะถ้าต้องเปิดประมูลใหม่ หรือ รัฐเป็นผู้ลงทุนแล้วจ้างเอกชนมาเดินรถไฟความเร็วสูง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนลักษณะของโครงการใหม่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้โครงการเดินไปไม่ได้ และความเสียหายจากการที่โครงการหายไป 5 ปี จะมีมากกว่า การมาฟ้องร้องกัน กรณีเอกชนไม่สามารถเดินหน้าโครงการ ซึ่งเบื้องต้นมีอยู่แล้วประมาณ 1.2 หมื่นล้าน ที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย

ดร.จุฬา

ส่วนท่าทีของภาคเอกชน หรือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในการร่วมหาทางออกปัญหา ดร.จุฬา ระบุว่า “หลักการนี้เขาเห็นแล้วว่าไปได้ กว่าจะเป็นแบบนี้ก็ได้คุยกันไปบ้างแล้ว ได้เจรจากันไปบ้างแล้วว่าหลักการต้องไปอย่างนี้เขาก็ว่าไปต่อได้ แต่คราวนี้เรื่องหลักๆเขาต้องพยายามหาหลักประกันหาแบงค์ที่เอามาวาง หาได้ไม่ได้ก็เอกชนต้องไปดู เพราะว่าตัวนี้ไม่ใช่เราดูฝังเดียว ก็ได้คุยกับเขาบ้างแล้ว”

นอจากจากนี้ ดร. จุฬา ยังเน้นย้ำว่า ท้ายที่สุดผลการพูดุคุย ภายใต้การปรับ แก้เงื่อนไขสัญญา จะทำให้โครงการเดินหน้าเร็วที่สุด “เราคิดว่าเซ็นสัญญากันภายในปีนี้ เพราะเดี๋ยวต้องเข้า ครม. อีกรอบหนึ่ง หลังจากรอบนี้ คือต่อไปก็ต้องไปคุยเอกชนลงรายละเอียดกัน เราก็เข้า ครม. อีกรอบหนึ่ง เราคิดว่าจะให้เซ็นสัญญาได้ภายในปีนี้ เริ่มก่อสร้างกันต้นปีหน้า คิดว่าก็เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน”

คือถ้าเอกชนจะทำ เราต้องการให้เริ่มก่อสร้าง เดือนมกราคม ปี 2568 แต่ถ้าสมมุติเอกชนไม่ทำเราต้องหาใหม่ว่ารูปแบบจะทำอย่างไร เช่น รัฐอาจลงทุนไปก่อน แล้วหาเอกชนมาเดินรถไฟฯ ซึ่งกรณีแบบนั้นยังไม่ชัดเจน ต้องรอผลการเจรจา 5 เงื่อนไข แต่ถ้าภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน ยกเลิกสัญญาเอง ก็จะสุ่มเสี่ยงต้องฟ้องร้องกันอีก ซึ่งปัจจุบันโครงการเดินหน้าไปมากพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ในเขตกรุงเทพฯที่ดำเนินการไปแล้วครบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เชิญชมการแสดงแสง สี เสียง อิงประวัติศาสตร์ชุดการแสดง “ย่าฉันท่านชื่อโม บุญเหลือหลานย่า ผู้กล้าแห่งทุ่งสัมฤทธิ์” รำลึกถึงวีรกรรมของคุณหญิงโม และเหล่าวีรชนผู้กล้าหาญชาวโคราช 18 – 22 ธันวาคมนี้ ณ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
ระทึก "กระบะเมาขับ" เลี้ยวตัดหน้า "รถพยาบาล" พุ่งชนสนั่น ขณะนำส่งคนไข้ จนท.เจ็บ 1 ราย
รวบ "หนุ่มจีน" ขนเฮโรอีน 120 กก. ยัดไส้แบตเตอรี่รถยนต์ ขายในไทย 70 ล้าน ส่งออกตปท.เพิ่ม 10 เท่า
เครือข่าย Bizclub จ.กาญจนบุรี เข้าพบนายก อบจ.กาญจนบุรี เพื่อปรึกษาหารือและขอคำแนะนำในแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในจ.กาญจนบุรี รวมถึงการพัฒนาสินค้า OTOP
อุตุฯ เผย ไทยตอนบนอากาศหนาวเย็น ภาคใต้ฝนฟ้าคะนอง 6 จังหวัด
สาวเมืองชลฯโร่แจ้งความ ถูกโจรย่องงัดตู้เซฟ กวาดทอง 32 บาท เงินสด 3 แสน สูญทรัพย์เฉียดสองล้าน
รวบหนุ่มบัญชีม้า อ้างถูกเพื่อนสนิทยืมบัญชีธนาคารเอาให้แก๊งมิจฉาชีพโกงเงินเหยื่อ มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท
กองทัพเรือ จัดงานรำลึกครบรอบ 2 ปี สดุดี 29 วีรชน เหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง
"แพทยสภาฯ" สอบจริยธรรมหมอ-พยาบาล ปมเอื้อนักโทษชั้น 14 สั่ง "รพ.ตำรวจ" ส่งหลักฐานรักษา "ทักษิณ"
"รมว.เกษตร" สั่งเดินหน้าพัฒนาสหกรณ์โคนม พร้อมเปิดรับการค้าเสรี เน้นลดต้นทุนพร้อมพัฒนาการผลิต-แปรรูปนมหลากหลาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น