“ลอยกระทง 2567 วันไหน” เปิดตำนาน ลอยกระทง และ ประวัตินางนพมาศ คือใคร

“ลอยกระทง 2567 วันไหน” เปิดตำนาน “ลอยกระทง” และ ประวัตินางนพมาศ ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ รวมทั้ง คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

ลอยกระทง 2567

 

Top News รายงาน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน อีกหนึ่งประเพณีที่สำคัญของไทย นั่นก็คือประเพณี “ลอยกระทง” ซึ่งมีการปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่หลักใหญ่เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และขอขมาต่อพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ

ข่าวที่น่าสนใจ

ลอยกระทง 2567 วันไหน

 

โดยปกติแล้ว “ลอยกระทง” จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา ซึ่งมักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ดังนั้น “ลอยกระทง 2567” จึงตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

 

 

ประวัติวันลอยกระทง

 

ต้นกำเนิดที่แน่ชัดของวันลอยกระทงนั้นยังคงคลุมเครือ มีหลักฐานต่างๆ ชี้ไปได้หลายทิศทาง ทฤษฎีหนึ่งเชื่อมโยงกับคติพราหมณ์-ฮินดู โดยการลอยโคมประทีปเป็นการบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่ ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการลอยกระทงดอกบัวเพื่อสักการะรอยพระพุทธบาท

 

“วันลอยกระทง” ของไทย แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” รวมทั้งยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทง

 

โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

 

ลอยกระทง 2567

ลอยกระทง 2567 วันไหน 

 

ประวัตินางนพมาศ

 

นอกจาก “กระทง” จะอยู่คู่กับประเพณีลอยกระทงแล้ว “นางนพมาศ” ก็เป็นอีกหนึ่งภาพจำที่อยู่คู่กับวันลอยกระทง นางนพมาศ ตามหลักฐาน และพงศาวดารทางประวัติศาสตร์ เป็นชื่อของสตรีนางหนึ่งที่ปรากฎในหนังสือ ซึ่งมีชื่อเรียกด้วยกันถึง 3 ชื่อ คือ เรื่องนางนพมาศ หรือ เรวดี นพมาศ และ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่แต่งโดยพระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเนื้อความในหนังสือได้มีการระบุว่า นางนพมาศ เกิดในยุครัชกาลของพระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง เป็นบุตรธิดาของพราหมณ์ในราชสำนัก ซึ่งในเวลาต่อมา บิดาได้ถวายตัวนพมาศให้แก่พระร่วงเจ้า และถูกแต่งตั้งให้เป็นสนมเอก ในตำแหน่ง “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”

 

นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเคยประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบานถวายพระร่วงเจ้า ได้ทำการต่อยอดคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรก แทนการลอยโคม เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาทางชลมารค และได้ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า

 

“ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนัดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน”

 

นางนพมาศ ลอยกระทง

นางนพมาศ ลอยกระทง

 

“ลอยกระทง” จึงได้เปลี่ยนรูปแบบนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

คำขอขมาพระแม่คงคา

 

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

 

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

 

 

 

 

ขอบคุณภาพ : นิดหน่อยสตูดิโอ ช่างภาพอุบล สกล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดผลสำรวจ ประชาชนพอใจ รัฐบาลบริหารจัดการท่องเที่ยวพุ่ง
"กุลพรภัสร์" ซีอีโอ "ไทย สมายล์ บัส" คว้ารางวัล บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2024
"ทนายตั้ม" ร้อง DSI คดีฟอกเงิน “สามารถ” เซ่นปมคลิปเสียง "บอสพอล" ดิ ไอคอน
เดือด “เต้ อาชีวะ” ตอกกลับ “ธนาธร” โลกสวยป้องพม่าเถื่อน ตรรกะสุดป่วย
"ผอ.สวนสัตว์เปิดเขาเขียว" เร่งตรวจสอบข้อมูล จ่อแจ้งความ "นทท.ต่างชาติ" ยิงหนังสติ๊กในสวนสัตว์
“บิ๊กเต่า” ไม่หนักใจ ลั่นหากพบหลักฐาน คลิปเสียง “ดิ ไอคอน” พร้อมจับเทวดาไม่มีละเว้น
“นายกฯ” ยิ้มรับ ไม่กังวลถูก “เรืองไกร” ร้องกกต.ฐานให้ทักษิณครอบงำเพื่อไทย
"สรวงศ์" เผยรัฐบาล พร้อมขอโทษ คดีตากใบ แม้คนละยุค บอก "พิศาล" ต้องมาสู้คดีเอง
"ตำรวจ" เร่งไล่ล่า "แก๊งคนร้าย" อุ้มรีดเงิน 2 ชาวจีน คาดฝีมืออดีตภรรยา
ผอ.สวนสัตว์เปิดเขาเขียวตรวจสอบ ข้อมูล เตรียมแจ้งความ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหนึ่งใช้หนังสติ๊กยิง ภายในบริเวณสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น