“ดร.สนธิ” เผย 4 ปัยจัย ระบบอุโมงค์เก็บกักน้ำใต้คลอง ป้องกันน้ำท่วมสำหรับเมืองใหญ่ใกล้ทะเล

ดร.สนธิ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โพสต์ 4 ปัยจัย ระบบอุโมงค์เก็บกักน้ำใต้คลอง ป้องกันน้ำท่วมสำหรับเมืองใหญ่ใกล้ทะเล

“ดร.สนธิ” เผย 4 ปัยจัย ระบบอุโมงค์เก็บกักน้ำใต้คลอง ป้องกันน้ำท่วมสำหรับเมืองใหญ่ใกล้ทะเล – Top News รายงาน

 

ดร.สนธิ

 

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุว่า..ระบบอุโมงค์เก็บกักน้ำใต้คลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วมสำหรับเมืองใหญ่ใกล้ทะเล

1.ประเทศที่เป็นที่ลุ่มต่ำหรือแอ่งกะทะใกล้ทะเลและแผ่นดินทรุด รวมทั้งถูกน้ำทะเลหนุนเป็นประจำ เช่น กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร เป็นต้น มักจะถูกน้ำท่วมเป็นประจำ ระบบแบบดั้งเดิมคือการระบายน้ำฝนและน้ำหลากลงสู่แก้มลิง ทุ่งนา บึง สระต่างๆแล้ว เช่น บางบาล จ.อยุธยา บางระ กำ จ.พิษณุโลก เป็นต้น ประชาชนพื้นที่ดังกล่าวต้องเสียสละด้วยน้ำท่วมหลายเดือน แล้วให้ระบายไหลลงคลอง แม่น้ำและลงทะเลต่อไป ต่อมาเมื่อเมืองขยายตัวมีประ ชากรหนาแน่นขึ้น มีบ้านที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมาก ท้องทุ่ง บึง สระถูกถมหมดจึงเหลือแต่คลองหรือแม่น้ำเท่านั้นที่รองรับน้ำฝนซึ่งสุดท้ายก็รับไม่ไหวเกิดน้ำท่วมเมืองขึ้นเป็นประจำ

ข่าวที่น่าสนใจ

2.ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา เนเธอร์แลนด์ และหลายประเทศในยุโรปได้ทำอุโมงใต้ลำคลองที่ไหลผ่านกลางเมือง หากมีพายุเข้ามาและฝนตกหนักจนเกินศักยภาพของแหล่งน้ำดังกล่าวที่จะรับได้และกำลังไหลล้นตลิ่งเกิดน้ำท่วมเมือง ระบบสูบน้ำอัตโนมัติที่ติดตั้งไว้จะดูดน้ำส่วนเกินลงไปเก็บกักไว้ในอุโมงใต้ดินขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้คลองกลางเมืองจนกระทั่งน้ำในลำคลองจะอยู่ในระ ดับที่ถูกกำหนดไว้โดยไม่ไหลล้นออกมาท่วมด้านนอก ในช่วงฤดูแล้งน้ำในลำคลองมีระดับลดลงระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติดังกล่าวจะสูบน้ำขึ้นมาเติมในคลองจนมีระดับเท่าเดิม ดังนั้นคลองดังกล่าวจะมีน้ำเต็มอยู่ตลอดเวลาสามารถใช้เดินเรือและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองได้ตลอดปี เช่นคลองโดทงบุริ ที่โอซาก้าที่มีรูปโกลิโก๊ะติดอยู่ เป็นต้น

3.กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีพื้นที่ต่ำกว่าทะเล น้ำในคลองแสนแสบและคลองอื่นๆ เช่นคลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว เป็น ต้น มีระดับต่ำกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาและทะ เลจึงต้องมีประตูกั้นน้ำ หากเปิดเมื่อไหร่น้ำจากเจ้าพระยาไหลเข้ามาในคลองทำให้เดินเรือไม่ได้ เรือจะติดสะพานหรือถนนข้ามคลอง หากปิดประตูกั้นน้ำนานๆน้ำนิ่งกลายเป็นน้ำเน่า ช่วงฝนตกหนักต้องใช้เครื่องสูบน้ำสูบข้ามประตูระบายน้ำออกหรือบางครั้งต้องรอน้ำทะเลลงเอง จึงเกิดปรากฎการณ์น้ำรอการระบายในกรุงเทพเป็นประจำ
4. ผู้บริหารลองพิจารณาระบบอุโมงเก็บน้ำใต้คลองเหมือนประเทศพัฒนา,แล้วเผื่อน้ำจะช่วยลดน้ำท่วมลงได้บ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"จิรายุ" ย้ำ "เงินหมื่น" เฟส 2 มอบคนอายุุ 60+ โอนแน่ 27 ม.ค.นี้
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความ "คนสอนธรรม" เพิ่ม 1 ข้อหา
ตร.คุมตัวแขกหัวร้อนฝากขัง หลังขับเก๋งไล่ชนไรเดอร์เสียชีวิต ด้านพ่อเตรียมขอขมาศพเย็นนี้
"นักธุรกิจ" เข้าแจ้งความ หลังถูกหลอกลงทุนสลากกินแบ่งรัฐบาล เสียหาย 50 ล้านบาท
มือมีดต่างชาติไล่แทงคนเจ็บ 5 ในอิสราเอล
ทรัมป์เผยอาจเพิ่มคว่ำบาตรรัสเซียถ้าไม่ยอมเจรจา
ทรัมป์จ่อขึ้นภาษีจีน 1 ก.พ.-รูบิโอทำงานวันแรก
22 รัฐในสหรัฐฯ ฟ้องศาลต้านคำสั่งทรัมป์ ตัดสิทธิให้สัญชาติอัตโนมัติ
ทรัมป์สั่งระงับความช่วยเหลือตปท. 90 วัน
"เนาวรัตน์" ร่ายกลอน เตือนอำนาจนอกกม.ไม่มีใครรวยด้วยการพนัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น