วันที่ 24 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีมีคำสั่งจังหวัดนครราชสีมาที่ 9563/ 2564เรื่อง ขยายเวลาปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ของโรคติดต่ออันตราย ด้วยปรากฏว่าได้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ในพื้นที่ตลาดสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จากการสอบสวนโรคพบว่าณ วันที่ 23 กันยายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด – 19 จำนวน 486 ราย กระจายไปในพื้นที่ 19 อำเภอ โดยมีแนวโน้มของการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
ซึ่งจากการตรวจประเมินของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 พบว่ายังคงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ของโรคโควิด-19 ประกอบกับเทศบาลนครนครราชสีมาได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการตลาดแก่ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาดสุรนารี เนื่องจากผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. 2551 และเทศบัญญัติเทศบาลนครนครราชสีมา เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2556 จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเข้มงวดสำหรับการควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตลาดสุรนารีให้ได้โดยเร็วเพื่อขยายผลการควบคุมป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอาศัยอำนาจตามความในข้อ 7 (1) ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 1ㆍตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ” แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 28 สิงหาคมพ.ศ. 2564 มาตรา 52/1 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 142/2564เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564 จึงให้ดำเนินการดังนี้ 1.ให้ปิดตลาดสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2. ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการค้าขาย รวมทั้งใช้เป็นที่ขนถ่ายสินค้า ขนส่งสินค้าในพื้นที่ ต. ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหรือออกพื้นที่ตามข้อ 1 เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุม เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ มีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน40000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงสั่ง ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564.
ภาพ/ข่าว ณัฐพงศ์ อรชร ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครราชสีมา