วันที่ 24 ก.ย. – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ข้อความว่า “โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนเข็มแรกเริ่มต้น และกระตุ้นเข็ม 2” โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนเข็มแรกเริ่มต้น และกระตุ้นเข็ม 2 วัคซีนเชื้อตายเข็มแรกเริ่มต้นจะเป็นตัวรองพื้นที่ดี และตามด้วยการกระตุ้นด้วย virus vector หรือ mRNA วัคซีนเชื้อตาย มีอาการข้างเคียงน้อยมาก เช่น อาการเจ็บบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เทียบกับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA มีมากกว่า
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า การให้วัคซีนสลับแบบไขว้ โดยเริ่มต้นจากวัคซีนเชื้อตาย sinovac แล้วตามด้วย AstraZenecacac หรือ Pfizer ภูมิต้านทานจะใกล้เคียงกับการให้วัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer 2 เข็ม ดังแสดงในรูป (ตรวจภูมิต้านทานที่ 1 เดือน)การให้วัคซีนสลับเริ่มต้นด้วยไวรัสเวกเตอร์ AstraZeneca แล้วตามด้วย mRNA Pfizer วัดภูมิต้านทานได้สูงสุดในกรณีให้ 2 เข็ม mRNA มีอาการข้างเคียง เข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก อาการข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในวัยรุ่นหลังให้ mRNA จะพบมากในเข็มที่ 2 เป็นที่วิตกกังวลของผู้ปกครอง และบางประเทศแนะนำให้ mRNA เข็มเดียว
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า mRNA เข็มเดียวระดับภูมิต้านทานไม่เพียงพอในการป้องกัน การให้วัคซีนสลับ เริ่มต้นวัคซีนเชื้อตายเข็มแรก แล้วตามด้วย mRNA เข็มที่ 2 ทำให้ได้รับ mRNA เข็มเดียว น่าจะเป็นทางออกลดอาการข้างเคียง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะความปลอดภัย และอาการข้างเคียง ในการให้วัคซีนสลับ เริ่มต้นเชื้อตายแล้วตามด้วย mRNA ในเด็กวัยรุ่น ลำดับการสลับวัคซีน มีผลต่อภูมิต้านทาน