“ประเสริฐ” เผย “บอร์ดวัคซีนแห่งชาติ” ไฟเขียว ร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ – มะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

“รองนายกฯ ประเสริฐ” เผยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เห็นชอบหลักการสร้างความร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม สนับสนุนการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

“ประเสริฐ” เผย “บอร์ดวัคซีนแห่งชาติ” ไฟเขียว ร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ – มะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์ – Top News รายงาน

ประเสริฐ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมทั้งในที่ประชุมและรูปแบบออนไลน์

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประเสริฐ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ มีวาระเพื่อพิจารณา 2 เรื่อง คือ การสร้างความร่วมมือการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศและภูมิภาค ซึ่งการผลิตวัคซีนได้เองในประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมต่อการรองรับการระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำได้ในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องยกระดับเทคโนโลยีการผลิต และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยเทคโนโลยี เซลล์เพาะเลี้ยง (Cell based technology) ซึ่งใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าการผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม พร้อมกันนี้การรับถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการส่งเสริมศักยภาพและความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการดังกล่าวทั้งกระบวนการ ซึ่งหากมีความจำเป็นด้านงบประมาณเพิ่มเติม ได้มอบหมายให้ นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

“เรื่องที่ 2 คือ การสนับสนุนความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papilloma Virus: HPV) ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ จากการที่ประเทศไทยและทั่วโลก เกิดสถานการณ์การขาดแคลนของวัคซีน HPV ทำให้ประเทศไทย ได้มีการปรับรูปแบบความร่วมมือใหม่ คือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ จาก บริษัท INNOVAX (อินโนเวสท์) ด้วยการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย ได้แก่ บริษัท INNOVAX สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และบริษัท โกลบอลไบโอเทค จำกัด  เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัท GPO-MBP โดยเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี และคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการผลิตวัคซีน จนไปถึงการขึ้นทะเบียนวัคซีนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ภายในปี 2570  ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการดังกล่าวทั้งกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การใช้ในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันเหล็กฯ ออกแถลงการณ์ โต้ทนาย "ซินเคอหยวน" ยันเครื่องทดสอบเหล็กแม่นยำ ถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง
Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น