“หมอวรงค์” จี้รัฐบาล ต้องไม่ยอมรับพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด หวั่นไทยเสียอธิปไตยซ้ำรอยเขาพระวิหาร

“หมอวรงค์” จี้รัฐบาลไม่ยอมรับพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด หวั่นทำไทยเสียอธิปไตยซ้ำรอยเขาพระวิหาร ย้ำต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้จบแล้วค่อยมาแบ่งผลประโยชน์ ชี้ คนเกาะติดสถานการณ์เพราะรักชาติ

“หมอวรงค์” จี้รัฐบาล ต้องไม่ยอมรับพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด หวั่นไทยเสียอธิปไตยซ้ำรอยเขาพระวิหาร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

29 ตุลาคม 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี กล่าวถึงกรณีที่โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก เรียกร้องให้รัฐบาลมีการชี้แจงเรื่องเกาะกูด และ MOU 2544 การแบ่งปันผลประโยชน์พื้นที่ทางทะเลอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ตอบเพียง ว่า เกาะกูดเป็นของประเทศไทย แล้วตำหนิคนเห็นต่างว่าเป็นคนคลั่งชาติ ว่า ส่วนตัวมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การคลั่งชาติ แต่เป็นเรื่องการรักชาติของประชาชน ประเด็นหลัก ๆ คือการขายชาติ

 

เพราะหากไปศึกษาในรายละเอียดของ MOU 2544 ศึกษาในทางประวัติศาสตร์จริงๆ แล้ว สิ่งที่ต้องถามคือการลากเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของกัมพูชา เป็นการลากเส้นแบบไม่ถูกต้อง แล้วรัฐบาลไทยไปยอมรับได้อย่างไร และคำถามต่อมาคือ แม้ว่ากัมพูชาจะยอมรับเอกสารแนบท้ายของเอ็มโอยูดังกล่าวที่ตีเส้นอ้อมเกาะกูด แต่อย่าลืมว่าเกาะกูดมีอธิปไตยทางทะเลเหมือนกัน 200 ไมล์ทะเล ทำไมต้องไปรับเฉพาะเกาะ แล้วไม่ยอมรับเอาพื้นที่ทางทะเล ไปยอมให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนได้อย่างไร และประเด็นการเจรจาจึงอ้างประเทศมาเลเซีย ว่าด้านบนมีการเจรจาเขตแดน ส่วนด้านล่างแบ่งผลประโยชน์ ทั้งๆ ที่ตามหลักการแล้วต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้จบ แล้วค่อยมาแบ่งผลประโยชน์ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาที่พิสูจน์ว่า คุณจงใจเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชา นี่คือพฤติกรรมกรรมขายชาติอย่างชัดเจน

นพ.วรงค์ กล่าวอีกว่า จากการปรึกษากับทีมกฎหมายหลายคน ยืนยันว่า หากรัฐบาลยังคงเดินหน้า แม้ว่าจะได้ผลประโยชน์ร่วมกันมาแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยงสูญเสียดินแดนทางทะเล มีความเป็นไปได้สูงมากที่เหตุการณ์นี้จะซ้ำรอยการสูญเสียเขาพระวิหารให้กับกัมพูชา มหาอำนาจที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมเขาช่วยกัมพูชา ดังนั้นเรื่องนี้ หากไปยอมรับทำเอ็มโอยูแล้ว หากมีการขึ้นสู่ศาลระหว่างประเทศ จะทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะไปทำเอ็มโอยูยอมรับการรุกล้ำทางทะเล และทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน ด้วยหลักการต้องไม่ยอม

“ดังนั้นรัฐบาลต้องไม่ยอมรับ เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยเสียพื้นที่ทางทะเล ย้ำว่า เกาะกูดเป็นเพียงเป้าลวง เพราะถ้าดูตามเอกสารแนบท้ายเอ็มโอยู 2544 มีการตีเส้นเว้าโค้ง ทิ้งเกาะกูดเอาไว้ให้ แต่ที่เขาต้องการจริงๆ คือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งไม่ควรจะให้เกิดขึ้น” นพ.วรงค์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มนุษย์หิมะใหญ่ยักษ์ต้อนรับตรุษจีน ‘ปีมะเส็ง’ ในฮาร์บิน
ตำรวจเกาหลีใต้ปะทะกับกลุ่มสนับสนุนปธน.ยุนซอกยอล
เกิดเหตุกราดยิงที่ไนท์คลับในนิวยอร์กของสหรัฐ
จีนใช้หุ่นยนต์ขจัดน้ำแข็งที่เกาะสายไฟฟ้าแรงสูง
"ซิโก้" ชวนคนไทยให้กำลังใจ "นักเตะทีมชาติ" สู้ศึกฟุตบอลอาเซียนคัพ รอบชิงชนะเลิศ นัดแรก
"สจ.จอย-ทนาย" ให้ปากคำตร.กองปราบฯเพิ่ม คดีการเสียชีวิตของ "สจ.โต้ง"
"หมอมิงค์" เผยรัฐเร่งกระตุ้นลงทุน 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตเต็มที่ มั่นใจไทยเป็นศูนย์กลางลงทุนแน่นอน
วิบากกรรมไข่ไก่ ลากยาวต่อเนื่อง ปี 68 เสี่ยงครบต้นทุนแรงงาน-วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่ง
รัฐบาลคุมเข้มชายแดน “แม่สอด” จ.ตาก เฝ้าระวังอหิวาตกโรค วาง 6 มาตรการป้องกันเข้ม
ตร.ไซเบอร์ จ่อออกหมายเรียก “เมลาย รัชดา - หนุ่ม เม้งการยาง” ปมคลิปคอนเทนต์ขยะทำร้าย “แบงค์ เลสเตอร์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น