“โฆษก มท.” แจงมติครม.ปัดให้สัญชาติต่างด้าว ย้ำทั้ง 4.8 แสนราย ต้องผ่านขั้นตอนตามกม.

โฆษก มท. เผยมติ ครม. 29 ต.ค. 67 เป็นการเร่งรัดแก้ปัญหาคนไทยที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่ใช่การให้สัญชาติคนต่างด้าว ย้ำทั้ง 4.8 แสนรายยังต้องผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย และเพิกถอนได้ทันทีกรณีขาดคุณสมบัติ

“โฆษก มท.” แจงมติครม.ปัดให้สัญชาติต่างด้าว ย้ำทั้ง 4.8 แสนราย ต้องผ่านขั้นตอนตามกม. – Top News รายงาน

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 67 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม และมีบางส่วนที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนั้น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในข้อเท็จจริงแล้ว มติ ครม. ดังกล่าวเป็นการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ให้มีขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนอยู่แล้ว มิได้เป็นการยกเว้นการต้องดำเนินการตามข้อกฎหมายที่อยู่แต่อย่างใด และในปัจจุบันบุคคลทั้ง 2 กลุ่ม ตามมติ ครม. ก็เป็นผู้ที่ได้ยื่นต่อทางการและอยู่ในกระบวนการเพื่อขอมีถิ่นที่อยู่ถาวร และขอมีสัญชาติแล้ว

“ตามหลักเกณฑ์ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอต่อ ครม. และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการต่อนี้ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยว่ากรณีบุคคลที่ได้รับสัญชาติไทยตามมติ ครม. ได้รับสัญชาติแล้ว ปรากฏในภายหลังว่า มีพฤติกรรมหรือคุณสมบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสามารถถอดถอนสัญชาติไทยในภายหลัง ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติได้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

โฆษก มท.

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หลักเกณฑ์ฯ ที่ผ่าน ครม. เป็นการดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความเท่าเทียมในชีวิตขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ก่อนปี พ.ศ. 2542 จำนวน 3.4 แสนคน และเป็นคนไทยที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 1.4 แสนคน แต่ติดเงื่อนไขจากกฎหมายในอดีต ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนไทยได้ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา เพราะไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่ใช่เป็นการให้สัญชาติแก่คนต่างด้าวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติของกลุ่มคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และสำรวจเพิ่มเติมตั้งแต่ปี 2548 – 2554 พบว่ามีกลุ่มคนไร้สัญชาติคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 4.8 แสนราย อาทิ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน มากกว่า 20 ปี จำนวน 19 กลุ่ม ในจำนวนนี้ เป็นบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง ประมาณ 124,000 ราย รวมถึงผู้ที่ตกหล่นจากการสำรวจในอดีตประชากร ประมาณ 215,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของชนกลุ่มน้อย 29,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของบุคคลที่ไม่มีสถานะตามทะเบียนประมาณ 113,000 คน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พาณิชย์”ชี้เป้าส่งออกปลาสวยงามขายจีน เผย “ปลากัด” มาแรงได้รับความนิยมสุด
"นฤมล"นำถก 3 ฝ่ายลุยแก้ปัญหายางพารา สั่งรับมือภาษีสหรัฐฯลดผลกระทบเกษตรกร
“อินโดนีเซีย” ระทึก! แผ่นดินไหวหมู่เกาะ Talaud รุนแรง 6.2 ลึก 128 กม.
"คปท." นำยื่นหนังสือแพทยสภา ขอเร่งสรุปผลสอบชั้น 14 อยากรู้ "ทักษิณ" ป่วยวิกฤตจริงหรือไม่
โปรสตรี จัดประชุมใหญ่ นายกฯเผยรายละเอียดแมทช์เวียดนาม
ไทยแลนด์ พีจีเอทัวร์ 2025 เติมแมตซ์เพลย์ใน 23 รายการ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 35 ล้านบาท ตั้งเป้าสร้างแมตซ์ พัฒนาโปร ต่อยอดอาชีพ
"ทหารพราน" สกัดรถกระบะขนยา แหกด่าน ยึดของกลาง ยาบ้า 2.5 ล้านเม็ด
"สนธิญา" ร้องป.ป.ช.สอบ "พีระพันธุ์" ขัดรธน.อ้างถึงองคมนตรี - ถือหุ้นบริษัทเอกชน
ตร.เร่งสอบพยานกว่า 100 ปาก "คดีตึก สตง.ถล่ม" หาผู้กระทำผิด ยันทำงานเต็มที่
สรุปไทม์ไลน์ไฟไหม้ "โรงแรมดาราเทวี" เชียงใหม่ จุดต้นเพลิงเรือนไม้หน้าสปา จนท.เร่งสอบสาเหตุแท้จริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น